เชี่ยนหมาก
เชี่ยน หมาก
เชี่ยนหมาก..จริงๆแล้ว เชี่ยนหมากนี่เป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า และแฝงไปด้วยมิตรภาพ ไมตรีจิต ระหว่างเพื่อนบ้าน และผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าบ้านไหน หากมีการตั้งเชี่นนหมาก จะมีเพื่อนบ้านมาแวะเวียน อยู่เสมอๆ และมีเสียงพูดคุย หัวเราะ กันโขมง โฉงเฉง บางครั้ง นั่งพูดกันถูกคอ กันทีหละหลายชั่วโมง ในสมัยอดีด การกินหมาก เป็นวิถีชีวิต ของคนเลยที่เดียว ไม่ว่ามีงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน หรือพิธีกรรมใด หมากพลู จะเป็นพระเอกของงานทั้งนั้น ในปัจจุบัน ก็ยังมีอยู่ แต่อาจจะมีเฉพาะใช้สำหรับพิธีกรรม เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ การยกเสาเอก เป็นต้น แต่การนำมาใช้รับแขก นั้นอาจจะลดน้อยไปเลย ยังมีให้เห็นบ้าง ในแถบชนบท...เปลี่ยนเป็น น้ำอัดลม..แต่ว่ากันไม่ได้ ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว
คำว่าหมาก เป็นคำไทย หมายถึงลูกไม้ และเดี๋ยว เพี้ยนไป โดยกลายเป็นคำว่า มะ แต่ผู้คนแถบอิสานยังบาวถิ่น ยังใช้กันนะค่ะ เช่น หมากม่วง หมากหุ่ง หมากสีดา
เช่ยนหมากมีหลากหลาย สวยงาม มีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น และตามฐานะในสมัยก่อน...แต่เดี๋ยวนี้เชี่ยนหมากสวยๆ กลายเป็นของสะสมไปเสียแล้ว เมื่อวานซืน ยายอิ๊ดไปตลาด เจอเชี่ยนหมากทองเหลืองค่ะ เขามาขายแบบขายของโบราณ 5555 ถามราคา ตลึง ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่อยากบอกเลย เดาเอาเองค่ะ ว่าควรราคาเท่าไหร่ เงินเดือนเริ่มต้นของคนจบวุฒิปริญญาตรี ยังซื้อไม่ได้เลยค่ะ
กรรไกรนี้สวยงามมาก ค่ะ ได้แต่จับ และชื่นชมค่ะ
แต่ของจะเก่าไม่เก่าจริง ดูเอาเองนะคะ
มีความสุขค่ะ ยายอิ๊ดคนงามจ้า
- บล็อกของ ยายอิ๊ด
- อ่าน 10260 ครั้ง
ความเห็น
ครองขวัญ
20 ธันวาคม, 2010 - 15:17
Permalink
ย่าขวัญยังกินหมากอยู่เลย
ย่าขวัญยังกินหมากอยู่เลย เห็นมาตั้งแต่ขวัญจำความได้ ซึ่งตอนนั้นอายุย่าคงประมาณห้าสิบ แต่ท่านก็กินหมากแล้ว แต่เชี่ยนหมากสวย ๆ แบบนี้ท่านได้มาจากย่าทวดอีกที แต่ไม่ใช้ กลัวเก่า มีที่ตะบันหมากด้วย (ตะบันคือที่ตำหมาก) ตอนที่ย่าทวดยังไม่เสีย เหลน ๆ ชอบแย่งกันตำหมาก เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสนุก พอย่าขวัญได้เชี่ยนหมากมาก็เก็บใส่ตู้เอาไว้ ท่านใช้แต่อันที่เป็นกระเบื้องธรรมดา ตอนกลับเมืองไทยไปครั้งที่แล้วท่านนำเอาที่ตะบันหมากที่เป็นทองเหลืองมาใช้ เพราะบ่นว่าเดี๋ยวนี้เคี้ยวไม่ค่อยไหวแล้ว และก็ตามเคยเหลนย่า ก็แย่งกันตำหมากอีก ดูแล้วนึกถึงอดีต ตอนที่เราก็แย่งกันตำหมากให้ย่าทวดแบบนี้
ยายอิ๊ด
20 ธันวาคม, 2010 - 15:31
Permalink
ครองขวัญ มีความสุขด้วยค่ะ
ยายอิ๊ดเห็นหลายคนกินหมากกันค่ะ แต่ที่บ้าน แม่ไม่ทานกัน คุณยายก็ไม่ทานค่ะ ปากแดง ฟันขาวสวยมาก แต่แม่ไม่ทาน แต่ที่บ้านตอนยายอิ๊ดเด็ก แม่ไม่ทานก็จริง แต่มีเชี่ยนหมากรับแขกค่ะ
แต่ด้านคุณย่าทานค่ะ แตยายอิ๊ดไม่ได้เห็นท่านค่ะ เศร้า..
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
แดง อุบล
20 ธันวาคม, 2010 - 15:24
Permalink
ยายอิ๊ด
แม่ของแดงก็กินหมากค่ะ ตอนเย็นกินหมากคุยกับเพื่อนจนดึกดื่น
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
ยายอิ๊ด
20 ธันวาคม, 2010 - 15:41
Permalink
น้องแดง
เห็นมั้ยคุณแม่ ก็สบายใจ ยิ่งคนสูงวัย นั่นคือความสุขเล็กๆน้อยกับเพื่อนฝูงค่ะ ยายอิ๊ดชอบมากเลยแบบนี้ ชอบที่จะคุยกับคนสูงวัย ได้ความรู้มากมายค่ะ แถมอบอุ่นอีกต่างหากค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
กุ้งบางบัวทอง
20 ธันวาคม, 2010 - 15:35
Permalink
ยายอิ๊ด
อ่านบล็อกไปเช็ดน้ำหมากไป เอ๊ย ! เช็ดน้ำลายไปอยากได้เชี่ยนหมากเก็บไว้บ้างดูขลังจัง...
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
ยายอิ๊ด
20 ธันวาคม, 2010 - 15:42
Permalink
กุ้ง
ซื้อไม่ลง ราคานะ 5555
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
น้องเอก
20 ธันวาคม, 2010 - 15:43
Permalink
ยายอี๊ด
แถวบ้านก็ยังพอมีให้เห็นครับ ส่วนใหญ่พอได้มากินกันแล้วจะเป็นอย่างนี้ครับ
(ภาพตัวอย่างครับ)
แล้วบ้านยายอี๊ดยังมีแบบนี้บ้างปล่าวครับ
ถ้าชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันต่อ
E-mail : pinit25@hotmail.com
ยายอิ๊ด
20 ธันวาคม, 2010 - 15:54
Permalink
พินิจ
น้ำหมากกระจาย น่ารักมากเลยค่ะ มองแล้วมีความสุขไปด้วยเลย
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ann
20 ธันวาคม, 2010 - 15:45
Permalink
เชื่ยนหมาก
สวยจังยาย ..
เห็นแล้วคิดถึงแม่เฒ่า....... เคยยนให้กิน จัดหมากพลูใ้ห้ แม่เฒ่าชมกินหรอย เด็ก ๆ ได้ใจ ยนกันบอบ....จนได้มาเป็นที่ระลึกหนึ่งเชื่ยนเก็บใส่ตู้อย่างดี ....
....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....
ยายอิ๊ด
20 ธันวาคม, 2010 - 15:55
Permalink
น้องแอน
อุบายของแม่เฒ่าม้ายเหลา ให้หลานยนให้บายใจ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
หน้า