ดอกอะไรเอ่ย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มีคำถามมาฝากค่ะ.......





.....ดอกอะไรคะ....


ในธรรมชาติ สีเหลืองและสีแดงอยู่ด้วยกันอย่างสวยงามที่สุดค่ะ รึมีใครว่าไม่สวยบ้างคะ



วันนี้ได้สำรวจธรรมชาติ พบกับดอกไม้ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากมาย พบจากบริเวณที่ยืนถ่ายภาพนี้แหละค่ะ คิดดูแล้วกันว่าอยู่สูงกว่าพื้นราบขนาดไหน



.........................



 




 



ชื่อวิทยาศาสตร์    Achasma macrocheilos Griff  (ปุดใหญ่ )
ชื่อวงศ์   ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น 
   ปุด,  ปุดช้าง,


ปุดป็นพืชตระกูลขิงข่า( ZINGIBERACEAE มีเหง้าอยู่ใต้ดิน      ใบ  ใบปุดมีปลายใบแคบเป็นติ่ง
แหลม โคนใบมน ขนาด
ใบกว้าง 9-15 ซม.ยาว 50-70 ซม.  ก้านใบและโคนก้านใบ  จะแผ่ออกเป็น
กาบหุ้มลำต้น( Pseudo stems) สูง 1.5-3 เมตร      ใบปุดจะคล้ายใบกาหลา  ต่างตรงใบกาหลาจะ
มีสีเขียวเข้มกว่า  เหง้าปุดแทงรากออกไปไกล  จึงขึ้นกระจายห่างๆกัน   ไม่รวมกลุ่มเป็นกลุ่มเป็นกอ
ดอกปุด มีลักษณะเป็นช่อสั้นๆโผล่ขึ้นจากเหง้าใต้ดิน อยู่ห่างจากลำต้นเป็นรูปกรวยหงาย สีแดงสด
ขอบกลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีหลายกลีบแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละต้น ลปุดจะอยู่ใต้ดิน
หรือโผล่มาเล็กน้อย  เปลือกผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน แยกเป็น 2-3 พู


ลักษณะทางนิเวศน์
ปุด  พบได้ทั่วไปใน ป่าดิบชื้น ของภาคใต้


ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ต้นปุดอ่อน   ปอกกาบนอกออก เอาแต่ไส้ใน ( ชาวสงขลาเรียกว่า สากปุด )  สามารถนำมาเป็น
ผักสด หรือผักต้มจิ้มน้ำพริก
เหง้า หน่ออ่อน และไส้ของปุด( สากปุด )   มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ใช้ในการปรุงรสอาหารเพื่อ
ดับกลิ่นคาวเป็นเครื่องเทศใส่ในแกงชนิดต่าง ๆ


ขอบคุณข้อมูล


http://plugmet.orgfree.com/flora_dd.htm


 

ความเห็น

เคยเห็นครั้งแรกตอนไปเดินป่าที่เขาปู่ สวยมาก ยังจำได้ว่าถ่ายรูปไว้กัน สมัยยังเป็นกล้องใช้ฟิล์ม

บ้านพี่แจ้วนิ น่าอิจฉาอีกแล้ว(วันนี้มีเรื่องน่าอิจฉา 2 บล็อกแล้วนะ) :admire2:

พี่แจ้วเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่าชื่ออะไร  ขอบคุณค่ะได้รู้จักต้นไม้เพิ่มขึ้นอีกต้น


งามมากๆค่ะ แดงและเหลือง

 

ช่วงนี้ดอกบานอีกแล้ว 

หน้า