การปลูกผักหวานป่า
การเตรียมดินสำหรับปลูกผักหวานป่านั้นไม่ยุ่งยากอะไร
มากมาย ขั้นตอนแรกต้องขุดหลุมขนาด 30x30x30ซม.
แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมาผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อัตราส่วน 1:1 แล้วใส่กลับลงไปในหลุม
ทิ้งไว้ประมาณ 1อาทิตย์ก่อนทำการปลูก ผักหวานป่าสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด
การเตรียมเมล็ดและการดูแล
หลังจากที่ได้เมล็ดมา ให้นำมาขูดเปลือกและเมือกออก ถ้าไม่ขูดออกก็ได้แต่จะทำให้เมล็ดงอกช้า
เพระในเนื้อและเมือกของเมล็ดจะมีสารยับยั้งการงอก หลังจากนั้นให้นำไปแช่น้ำไว้ 1 คืน
และนำขึ้นผึงบนกระสอบป่านและคลุมทับด้วยกระสอบป่านอีกครั้ง ทิ้งใว้ประมาณ 3-5วัน
เมล็ดจะเริ่มแตก ให้นำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ3-4เมล็ด เสร็จแล้วให้ใช้ตระกล้า
ไม้ไผ่มาครอบเพื่อพรางแสง จากนั้นประมาณ 2 เดือนต้นอ่อนจะเริ่มงอก จนผักหวานอายุได้
ประมาณ 1 ปีให้เจาะก้นตระกล้าที่ครอบเพื่อให้พักหวานได้รับแสง ในช่วงที่เริ่มปลูก ให้ปลูก
พืชพี่เลี้ยง เช่นตะขบ ต้นแค หรือมะขามเทศ ส่วนใหญ่ จะปลูกต้นแคเนื่องจากเป็นพืขโตเร็ว
และมะขามเทศ เมื่อผักหวาน อายุได้ 2-3ปี ให้ทำการตัดต้นแคทิ้ง เหลือใว้เฉพาะต้นมะขามเทศ
เพื่อให้ผักหวานได้รับแสงประมาณ 60-70% ส่วนปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยคอก(มูลวัว )ใส่ห่างจากต้น
1ฟุต ปีละ 2 ครั้ง
เคล็ดลับการปลูกคือ
1.ระวังอย่าให้รากผักหวานกระทบกระเทือน ถ้ากระทบกระเทือนอาจทำให้ชงักการเจริญเติมโตไปเป็นปี
2.พืชพี่เลี้ยง จำเป็นต้องมี
3.การพรางแสงในขณะต้นยังอ่อน (ใช้ระกร้าไม้ไผ่คลุมปิดไว้)
เมล็ดที่ต้องนำมาแกะ เปลือกออก ก่อนนำไปปลูก
การใช้ตระกล้าไม้ไผ่ครอบต้นอ่อน
การใช้ตระกล้าไม้ไผ่ครอบต้นอ่อน
เมล็ดที่พร้อมจะนำไปหยอดลงหลุม
ผลพลอยได้จาการปลูกต้นแค ( เห็ดหูหนู )
ผักหวานอายุ 3 ปี..
ขอบคุณที่ปรึกษาทั้ง 2 ท่าน : พ่อกับแม่ผมเองครับ
---------------------------------------------------------
ผักหวานป่า : สุดยอดผักของไทยและเอเชียอาคเนย์
คอลัมน์ที่ผู้เขียนรับผิดชอบอยู่นี้ ได้นำเสนอเรื่องราวของพืชที่คนไทยใช้ปรุงอาหารในฐานะผักติดต่อกันมาหลายสิบตอนแล้ว แต่ยังไม่เคยนำผักแต่ละชนิดมาเปรียบ เทียบกันเลยว่ามีความดีเด่นหรือ ได้รับความนิยมมากน้อยกว่ากันอย่างไร ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าผักแต่ละชนิดต่างก็มีคุณค่าในตัวเองที่แตกต่างกันออกไป ยากที่จะนำมาแข่งขันกันได้ และคงไม่มีความจำเป็นหรือมีประโยชน์อะไร ส่วนด้านความนิยมนั้นเป็นเรื่องรสนิยมของแต่ละคน อาจวัดได้โดยการสำรวจความเห็น หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่าโพลล์ (poll) นั่นเอง เช่น การหยั่งเสียงประชาชนก่อนการเลือกตั้ง เป็นต้น
เท่าที่ทราบจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการหยั่งเสียงคนไทยถึงความนิยมในการบริโภคผักแต่ละชนิดว่าผักชนิดใดได้รับความนิยมสูงสุดหรือ อยู่ใน ๑๐ อันดับแรก (Top Ten) อันอาจเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดผักของคนไทย อย่างไรก็ตามหากมีการหยั่งเสียงหาความนิยมในผักแต่ละชนิดของคนไทยขึ้นมาจริงๆ ก็คาดหมายล่วงหน้าได้เลยว่า ผักชนิดหนึ่งคงติดอันดับยอดนิยมไม่ต่ำกว่าอันดับที่สามอย่างแน่นอน ผักชนิดนั้น ก็คือ ผักที่คนไทยภาคกลางเรียกว่า ผักหวานป่า นั่นเอง
ผักหวานป่า : ช้างเผือกจากพงไพร
ผักหวานป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Melientha suavis Pierre. อยู่ในวงศ์ Opiliaceae ซึ่งเป็นวงศ์พิเศษที่ยังไม่มีผักชนิดใดหรือผลไม้ชนิดใดที่ผู้เขียนรู้จักอยู่ในวงศ์นี้เลย เรียกได้ว่าพืชในวงศ์นี้ผู้เขียนรู้จักเพียงผักหวานป่านี้เท่านั้น แสดง ให้เห็นความพิเศษของผักหวานป่าว่ามีลักษณะหลายประการแตกต่างจากผักชนิดอื่นๆอย่างชัดเจน รวมทั้งรสชาติที่คนไทยชื่นชอบนั้นด้วย
ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๔-๑๑ เมตร เนื้อไม้แข็ง ผิวเปลือกเรียบ กิ่งอ่อนผิวสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาลอ่อน เป็นพืชผลัดใบตามฤดูกาล จึงสะสมอาหารไว้ที่รากและลำต้นได้มากกว่าต้นไม้ทั่วไป ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยว รูปรียาวหรือรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๕ เซนติเมตร ยาว ๖-๑๒ เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลม ฐานใบสอบเรียว ก้านใบยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อยาว ออกจากกิ่งหรือซอกใบ ก้านช่อดอกยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร มีใบประดับรูปไข่ปลายแหลม ดอกแยกเพศอยู่บนก้านดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้มีกลีบสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ดอกตัวเมียมีกลีบดอกสีเขียวเข้ม ก้านดอกสั้นกว่าดอกตัวผู้ ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ผลผักหวานป่ามีผลเดี่ยวอยู่บนช่อยาว (ช่อดอกเดิม) ผลรูปไข่ ขนาดกว้าง ๑.๕-๑.๗ เซนติเมตร ยาว ๒.๓-๓ เซนติเมตร ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองส้มหรือแดง ก้านผลยาว ๓-๕ มิลลิเมตร
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของผักหวานป่าอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ตามป่าเบญจพรรณในที่ราบ หรือเชิงเขาสูงไม่เกิน ๖๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกติชอบขึ้นอยู่บนดินร่วนปนทราย ผักหวานที่กินกันในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าหรือที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงเรียกกันทั่วไปว่า ผักหวานป่า บางครั้งเรียกว่า ผักหวาน มีแปลกไปเฉพาะที่สุรินทร์ซึ่งเรียกว่าผักวาน สันนิษฐานว่าคงเรียกเพื้ยนไปจากผักหวานนั่นเอง
ผักหวานป่าในฐานะผัก
คนไทยใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อนของผักหวานป่ามากินเป็นผัก โดยอาจนำมาลวกให้สุกเป็นผักจิ้มหรือเครื่องเคียง นำไปผัดน้ำมันหรือประกอบกับแกงชนิดต่างๆ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงคั่ว ฯลฯ เป็นต้น สำหรับคนไทยทั่วไปนั้น อาหารที่ปรุงจากผักหวานป่านับเป็นอาหารพิเศษที่นานๆจะได้กินสักครั้ง เพราะเป็นผักธรรมชาติที่มีตามฤดูกาลและมีปริมาณน้อย ราคาก็แพงมากเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นๆ ซึ่งคล้ายกับเห็ดยอดนิยมของคนไทยที่ชื่อ เห็ดโคน หรือเห็ดปลวกของคนอีสาน เพราะเห็ดโคนมีเฉพาะในธรรมชาติ ยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ จึงมีเป็นฤดูกาล ปริมาณน้อย ราคา จึงแพงมากเมื่อเทียบกับเห็ดชนิดอื่นๆ ปัจจุบันมีวิธีถนอมเห็ดโคนเอาไว้กินนอกฤดู เช่น การบรรจุขวด หรือกระป๋องที่ยังคงรสชาติเอาไว้ได้มาก แต่ผักหวานยังไม่มีการถนอมเอาไว้กินนอกฤดูที่เหมาะสมและได้รับความนิยม จึงทำให้ผักหวานคงเป็นอาหารพิเศษที่มีราคาสูงไปอีกนาน
ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักหวานป่า
ผักหวานป่ามีคุณสมบัติด้านสมุนไพรในการรักษาโรคที่แพทย์แผนไทยใช้มาตั้งแต่อดีตเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น
ใบและราก : รักษาแผล ปวดในข้อ ปวดหัว ปวดท้อง
ราก : เป็นยาเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ สงบพิษไข้ แก้ดีพิการ
ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.doctor.or.th/node/2184
- บล็อกของ methk
- อ่าน 14824 ครั้ง
ความเห็น
9wut
22 ตุลาคม, 2010 - 00:48
Permalink
คุณ methk
ขั้นตอน วิธีการละเอียดดีมากเลยครับ
ขอบคุณครับที่นำข้อมูลดีๆมาเผยแพร่ครับ
วิธีลงรูปประจำตัว |การใช้งานเว็บบ้านสวน |การแทรกรูป |การแทรก VDO
สาววาริน
22 ตุลาคม, 2010 - 06:38
Permalink
อร่อยมาก
แกงเลียง แกงปลาย่างอร่อยนักแล..ขอบคุณมากค่ะ
lekonshore
22 ตุลาคม, 2010 - 06:48
Permalink
ขอบคุณค่ะ
ข้อมูลละเอียดค่ะ แต่ตัวเล็กจังเลย
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
มนต้นกล้า
22 ตุลาคม, 2010 - 08:12
Permalink
ขอตัวใหญ่หน่อยค่ะ
ขอตัวใหญ่หน่อยค่ะ
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
ตองอู
22 ตุลาคม, 2010 - 08:25
Permalink
ผักหวาน..^__^..
ขอบคุณข้อมูล...ละเอียดดีจังเลยค่ะ..^__^..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
ยายอิ๊ด
22 ตุลาคม, 2010 - 08:28
Permalink
คนแก่ลำบาก
ลำบากแล้ว งานนี้ อย่าลืมว่ามีผู้สูงวัย เป็นสมาชิกอยู่ด้วยซิคะ ตาลายแล้วค่ะ มองไม่เห็น
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
methk
23 ตุลาคม, 2010 - 00:31
Permalink
...ขอโทษครับ..ผมเปลี่ยนให้แล้
...ขอโทษครับ..ผมเปลี่ยนให้แล้วนะครับ..ลองอ่านดูใหม่นะครับ..
chai
22 ตุลาคม, 2010 - 08:32
Permalink
ขอบคุณครับ
ขอบคุณข้อมูลมากครับรายละเอียดถี่ยิบเลย
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
ไอรินลดา
22 ตุลาคม, 2010 - 08:39
Permalink
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ กำลังสนใจปลูกผักหวานป่าพอดีเลยค่ะ
witlessness
22 ตุลาคม, 2010 - 08:52
Permalink
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ละเอีย
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ละเอียดไปหน่อยนะ(ตัวหนังสือเล็ก)
หน้า