อยากบอก...อยากเล่า ครูผู้เฒ่า คอยสอน
อยากบอก...อยากเล่า ครูผู้เฒ่าคอยสอน
นานทีเดียวไม่ได้พบอาจารย์โยเซฟ หลายวันนี้ท่านเดินทางมาพักเมืองไทย เป็นโชคดีที่ได้รู้จักท่าน สิ่งที่เรียนรู้จากท่านผู้มีวัยแปดสิบเศษ ผ่านสงครามโลกและสงครามชีวิตมามากมาย วันนี้มีโอกาสแวะเยี่ยมท่าน ณ บ้านพักริมน้ำเจ้าพระยา คุยกันอยู่ชั่วโมงเศษจึงได้ลาท่านกลับ การได้พบปะท่านในแต่ละครั้งจะคุยกันยาว หลายเรื่อง ทั้งศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ จะว่าไปแล้วล้วนแต่เป็นเรื่องที่มักถูกห้ามว่าไม่ควรคุยเพราะจะเป็นเรื่องชวนให้เกิดความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้ง่ายและจะคุยกันไม่จบง่ายๆ แต่ในการคุยกับอาจารย์โยเซฟในระยะหลังนี้ เริ่มเรียนรู้ว่าท่านนำสิ่งเหล่านี้หยิบยกคุยเพื่อเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมีตัวละครที่จะให้เห็นและฝึกวิธีการคิดให้เกิดความกระจ่างชัดขึ้น หลายครั้งที่ท่านจะคอยแนะให้รู้จักวิธีคิด แนะให้มองโลกผ่านสายตาผู้อื่นให้เป็นและด้วยวัยแปดสิบเศษกับประสบการณ์ที่ผ่านกาลเวลาเป็นสิ่งหล่อหลอมให้ท่านแกร่ง ความจำท่านแม่นยำมาก มักบอกเสมอว่าไม่ต้องกลัวว่าความจำจะเสื่อม เพราะความจำ ความคิด จะไม่เสื่อมหากใช้บ่อยๆ และต้องรู้ที่จะคิดให้เป็น อย่าใช้การท่องจำแบบเดียวกับนกแก้ว
คำถามที่ถูกถามอยู่บ่อยครั้งจะเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคล อย่างเช่นการที่ท่านตั้งคำถามว่าพรุ่งนี้เป็นวันอะไร และยิ่งหากเป็นวันสำคัญทางศาสนาแล้วท่านก็จะสอบถามลึกลงไปมากกว่าคำว่ารู้หรือไม่ เมื่อตอบได้ท่านจะมีสีหน้าที่แปลกใจเล็กน้อย ก่อนจะถามว่าทำไมจึงรู้เพราะเมื่อท่านสอบถามคนไทยที่พบทั่วไปส่วนใหญ่จะได้เพียงคำตอบว่าวันหยุดราชการ ท่านว่าน่าเสียดายที่รู้ได้เพียงเท่านี้ หลายครั้งที่ท่านจะเสนอการให้รู้ที่จะคิดต่อในความสำคัญของแต่ละเรื่อง แววตาท่านจะปราณีมาก อาจมีบ้างที่เมื่อตอบไม่ได้ ท่านจะย้อนถามว่าอะไร ไม่รู้หรือ เพียงแค่นี้ก็ทำให้คิดได้ว่าเรายังรู้และคิดได้น้อยไป ยิ่งทำให้ต้องขวนขวายที่จะรู้ให้ได้ คิดให้เป็นและเข้าใจลงไปถึงความสำคัญในสิ่งที่ควรให้ความสำคัญรอบตัว นี่คือหัวใจความเป็นครูที่ท่านจะแนะให้รู้จักคิดให้ ให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ที่สำคัญคือปรัชญาความเป็นมนุษย์ และการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ควรปฏิบัติ สิ่งนี้นับว่าเป็นความโชคดีที่มีโอกาสได้ครูผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมชองความเป็นครูในตัวท่าน
ท่านเล่าชีวิตวัยเด็กที่มีพี่น้องสองคน วัยเด็กเมื่อแปดสิบกว่าปีก่อนที่ท่านอยู่ถือว่าเจริญมาก แต่การดำเนินชีวิต ความเป็นคนจนก็ทำให้เรียนรู้ที่จะสู้ชีวิตว่าสู้อย่างไร คำถามที่เกิดในการสนทนาคือ รู้ถึงคำว่าคนจนหรือไม่ ในเมืองอาจไม่เข้าใจคำว่าคนจนอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญของชีวิตคนคือปัจจัยสี่ บางประเทศประชากรยากจนมาก ขนาดนอนริมถนนหนทาง อากาศหนาวไม่มีผ้าห่ม อาศัยหนังสือพิมพ์ที่คนทิ้งมาคลุมกาย นี่คือความจนที่สัมบูรณ์(absolute) แต่ในบางที่ ท่านก็มีความเห็นว่าคนบอกว่าตนเองจน แม้ขณะที่มีบ้านอยู่ มีรถขับ แต่บอกว่าจนเพราะเทียบกับเพื่อนที่มีบ้านหลังใหญ่กว่า มีรถคันราคาแพงกว่า(relative) นี่ก็จนเหมือนกันแต่อะไรกันแน่ที่เป็นความจนที่แท้จริง
ได้มีโอกาสนำข้อปัญหาของอาจารย์ผู้เฒ่าที่ท่านถาม แล้วกลับมามองย้อนว่า เราเองจนจริงไม่มีปัจจัยสี่พื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างที่เราเข้าใจ หรือว่าเรามีแล้ว แต่เราไม่พอเพราะเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่น
นี่คือสิ่งที่ต้องคิด จะโทษแต่ว่าขาดสารไอโอดีนอย่างเดียวทำให้ไม่ฉลาด ไอคิวต่ำ คงไม่ได้ เพราะว่าตราบใดไม่ฝึกคิดไม่ว่าไอโอดีนมากแค่ไหนบางทีอาจช่วยอะไรไม่ได้เสียยิ่งกว่าเก่าก็ได้
- บล็อกของ สายพิน
- อ่าน 4674 ครั้ง
ความเห็น
ตองอู
22 ตุลาคม, 2010 - 20:18
Permalink
พี่สายพิน..^_^..
สุดท้ายก็ต้องยึดหลักพอเพียงอยู่ดีค่ะ..^__^..
เพราะหากเราไม่พอเพียง..เอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่น..ทุกข์แน่ๆค่ะ..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
สายพิน
22 ตุลาคม, 2010 - 20:32
Permalink
คุณอู
เห็นด้วยเลยค่ะ นี่คือคำตอบ ต้องพอ กับปัจจัยสี่ ที่จำเป็นพื้นฐานของชีวิต ไม่งั้นก็ทุกข์
เซพ
23 ตุลาคม, 2010 - 05:41
Permalink
อ่านแล้ว
อ่านแล้วครับแต่อ่านยังไม่จบเด่วมาอ่านใหม่..อิอิ
bnakorn
23 ตุลาคม, 2010 - 07:01
Permalink
ส่วนใหญ่ที่จนก็เพราะเอาตัวเอง
ส่วนใหญ่ที่จนก็เพราะเอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่นครับ
เรียกง่ายๆว่า ขวัญก็ได้นะครับ my nickname
Sai Fon
23 ตุลาคม, 2010 - 09:14
Permalink
ทักทายคร้า
แวะมาหวัดดีพี่สายพิน สบายดีนะคะ ไม่ได้เข้ามาบ้านสวนหลายวันคิดถึงคร้า
หน้า