ประเพณีลากพระ(ชักพระ)ของจังหวัดสงขลา(ถ่ายทอดสด)
วันนี้พา สมช.บ้านสวนฯมาชมประเพณีลากพระของสงขลากันบ้างนะค่ะ (มีจัดหลายที่ค่ะแต่ที่อ.เมืองจะใหญ่สุดค่ะ) ถ่ายก่อนเริ่มงานกองอำนายการ
ที่ 1 วัดบางดาน ที่ 2 วัดท้ายยอ ที่ 3 วันดอนแย้ (มีการประท้วงกรรมการปิดถนนห้าแยกเกาะยอ)
ต่อไปเป็นบรรยากาศตอนเริ่มขบวนของแต่ละวัดค่ะเรามาชมพร้อมๆ กันค่ะแล้วมาดูกันว่าวัดอะไรกันบ้างเริ่มที่วัดมะขามคลานนี่ก็สวยทุกปี
วัดขนุน ก็ไม่น้อยหน้าใคร
วัดท้ายยอ ของเกาะยอก็งามมากค่ะ
วัดโคกเหรียง มาจากทั่วเกือบทุกอำเภอ
วัดสามกอง นี่ก็มาไกล
วัดจันทร์ มาจาก อ.สทิงพระ
วัดอะไร?จำไม่ได้ อิอิ นึกออก วัดบางดาน ข้างบ้านอีกฝั่ง อ.เมือง
วัดอรุณวราราม มาจากม่วงงาม อ.สิงหนคร
อันนี้นำขบวนเจ้าเงาะเรี่ยไรเงินทำบุญค่ะ(แฟนใครหน้อรูปหล่อ?)
วัดแช่มอุทิศ วัดนี้มาจากทางไปสวนสัตว์สงขลา
ขบวนสวย ๆ ทั้งนั้นทุกวัดเลยเพราะมีการแข่งขันขบวนแห่ด้วยค่ะ
อีกแบบประเภทอนุรักษ์ วัดแช่มอุทิศ
วัดดอนแย้ นี่อยู่ในเมืองข้างโรงพยาบาลสงขลาเก่า
วัดโรงวาส นี่ก็เมืองสงขลา
วัดบ่อประดู่ อ.สทิงพระ
สำนักสงฆ์ม่วงงาม สิงหนคร
ที่จะขาดไม่ได้วัดเขาแก้ว แถวบ้านเองค่ะ ก่อนถึง ม.ทักษิณ สู้ ๆ ให้ได้ที่ 1 นะค่ะ
นี่ก็สวยวัดตีนเมรุ
วัดนี้มาแปลกทำด้วยไม้สักทั้งหมด
ภาพเยอะมาก ค่ะเนื่องจากมีวัดเข้าประกวด 50 กว่าวัดใครอยากได้รูปเพิ่มบอกนะค่ะตอนเย็นจึงจะทราบผลว่าวัดไหนได้ที่ 1 ประเภทใดกันบ้าง(ขอโทษด้วยรูปอาจจะไม่ชัดต้องการให้ได้เห็นเรือพระแบบเต็ม ๆ ลำ
เรามาดูประวัติกันบ้างค่ะ
ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
สาระ
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ
- บล็อกของ lekonshore
- อ่าน 20939 ครั้ง
ความเห็น
ตองอู
24 ตุลาคม, 2010 - 15:18
Permalink
พี่เล็ก..^_^..
มิน่าตะวันหายไปไหน..พาเจ้าเงาะไปออกงานนี่เอง..^__^..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
lekonshore
24 ตุลาคม, 2010 - 15:50
Permalink
ตองอู
เอ้า!พี่เพิ่งรู้ว่าเจ้าเงาะนี่แฟนน้องหวัน ถ้าอย่างนั้นว่าที่น้อง...พี่เหรอ อิอิ
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
bnakorn
24 ตุลาคม, 2010 - 15:19
Permalink
แต่ละวัดสวยๆทั้งนั้นเลยครับ
แต่ละวัดสวยๆทั้งนั้นเลยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่น่ารู้นะครับ
เรียกง่ายๆว่า ขวัญก็ได้นะครับ my nickname
lekonshore
24 ตุลาคม, 2010 - 15:51
Permalink
คุณbnakorn
ใช่ค่ะ สวย ๆ ทั้งนั้นเลยโชคดีที่เล็กไม่ใช่กรรมการ ตายแน่ตาลาย แค่ถ่ายรูปตากล้องขาสั่นค่ะ
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
กุ้งบางบัวทอง
24 ตุลาคม, 2010 - 15:20
Permalink
ประเพณีลากพระ
สวยงามอลังการมากเลยค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าแต่ละวัดจะทำได้สวยขนาดนี้ เคยได้ยินแต่ชื่อประเพณีไม่เคยเห็น วันนี้ได้เห็นและได้รู้ประวัติด้วย ดีจริง ๆ เลยขอบคุณมากค่ะพี่เล็ก
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
lekonshore
24 ตุลาคม, 2010 - 15:52
Permalink
น้องกุ้ง
นำมาให้ชมสด ๆ ร้อน ๆ จ้า แบ่งกันชมค่ะ ใหญ่โตมากค่ะไม่สามารถนำทั้งหมดมาลงได้ ถ้านับวัดที่ไม่ส่งเข้าประกวดแต่มาร่วมด้วย คงร้อยกว่าวัดค่ะ
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
สายพิน
24 ตุลาคม, 2010 - 15:32
Permalink
ประเพณี
ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณเล็กที่นำประเพณีและภาพมาให้ชมกัน สดๆร้อนๆอีกต่างหาก ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยได้ความรู้มากค่ะ
lekonshore
24 ตุลาคม, 2010 - 15:53
Permalink
พี่สายพิน
แบ่งปันกันชมค่ะ จะได้มีความสุขไปพร้อม ๆ กันค่ะ
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
น้ำหวาน
24 ตุลาคม, 2010 - 16:05
Permalink
รีบมาดูลากพระ
โอ้โห ประเพณีบ้านพีเล็กนี่สุดยอดทั้งนั้นเลยคะ
ดูแต่ละขบวนสวยๆทั้งนั้น พี่เล็กนี่อัพเดตได้รวดเร็วทันใจดีจัง
ได้บุญด้วยและได้ความรักความสามัคคีอีกต่างหาก
ประเพณีดีๆแบบนี้น่าอนุรักษ์ให้สืบทอดต่อไปให้นานแสนนานค่ะ
ดูแล้วปลื้มใจและอดอิ่มใจไปด้วยไม่ได้นะคะพี่เล็ก ขอบคุณมากค่ะสำหรับการแบ่งปันเรื่องราว
lekonshore
24 ตุลาคม, 2010 - 16:10
Permalink
น้ำหวาน
ชมไปก่อนนะน้อง พี่ต้องไปเป็นกรรมการตัดสินก่อนว่าใครจะชนะ คริคริ (ทำเฒ่า)
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
หน้า