สบู่ดำ มูลค่า มหาศาล
ภาพจาก www.eppo.go.th
...เราทำแล้วก็หมายความว่า เราไม่เดือดร้อน เมื่อเราอายุ ๑๑๘ ถ้าอย่างไรเราก็ใช้น้ำมันปาล์มของเราเองคนอื่นอาจจะไม่ได้
คนอื่นอาจจะไม่มี แต่ว่าเรามี เพราะเราขวนขวายหาวิธีที่จะทำเชื้อเพลิงทดแทนได้ ถ้าไม่ได้ทำเชื้อเพลิงทดแทน
เราก็เดือดร้อน เราก็เป็นห่วง แต่เราไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าคนอื่นเขาไม่ทำ เขาอาจจะไม่มีน้ำมันไบโอดีเซลใช้
แต่ว่าเรามี เราคือข้าพเจ้าทำเอง..."
พระบรมราโชวาท เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘
ที่ได้พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ได้สะท้อนพระวิสัยทัศน์กว้างไกลด้าน
ของพลังงานทดแทนที่มีมากว่า 30 ปี จนเกิดประแสฮือฮาใน สบู่ดำ
อยู่พักหนึ่ง และมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อน้ำมันมีราคาสูงขึ้นอย่างน่ากลัว
ที่มา :: http://www.vcharkarn.com/varticle/38194
สืบเนื่องจากพี่ตั้มไปซื้อที่ดินมา
แล้วก็เกิดข้อสงสัยตามพี่ตั้มเหมือนกัน
เลยถามพี่ Goo ไปเรื่อยๆก็ ค้นพบว่า
มันมีค่ามหาศาล
---ต่อไปนี้จะกล่าวถึง มหากาพย์ สบู่ดำ ที่ตอนเด็กๆ เคย เอาใบมาหัก แล้วเป่าลูกโป่งเล่น---
|
ความสำคัญ การใช้น้ำมันในเครื่องยนต์ดีเซลจากพืชค้นพบโดยชาวเยอรมันชื่อ Dr. Rudolf Diesel เมื่อปี ค.ศ. 1911 จึงได้มีการตั้งชื่อ เพื่อเป็นเกียรติว่า“เครื่องยนต์ดีเซล” ต่อมามีการนำน้ำมันสบู่ดำมาใช้ กับเครื่องยนต์ดีเซลครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศมาลี( Mali)แต่ความนิยมและความสะดวกในการใช้น้ำมันจากใต้ผิวโลก ทำให้ การใช้น้ำมันจากพืชจำกัดอยู่ในบางประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากประสบปัญหาวิกฤตการณ์ของน้ำมันทั่วโลกในช่วงปี ค.ศ.1970 เป็นต้นมา ทำให้มีการสนใจและศึกษาการนำน้ำมันจากพืชต่างๆ รวมถึงต้นสบู่ดำมาใช้ประโยชน์กันอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ประกอบกับมี การปลูกกันอย่างอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งในแถบ ทวีปแอฟริกา ซึ่งถือว่าเป็นการนำภูมิปัญญาอย่างหนึ่งมาใช้ประโยชน์ นับตั้งแต่นั้นมา จึงได้มีการนำน้ำมันจากต้นสบู่ดำมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น และแพร่กระจายไปเกือบทุกทวีป เนื่องจากการปรับตัวได้ดีในเกือบทุกสภาพ แวดล้อมของต้นสบู่ดำ รวมถึงในประเทศไทยที่ได้มีการทดลองใช้ใน เครื่องยนต์ดีเซล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 และพบว่า สามารถใช้ทดแทน น้ำมันดีเซลได้ ขณะที่ในปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เริ่มเข้าสู่ สภาวะวิกฤติอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยจากปี พ.ศ. 2547 ราคา 45.63 $US/Barrel เป็น 59.09 $US/Barrel ในปี พ.ศ. 2548(ม.ค.-มิ.ย.) ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้นในประเทศ นั้น ได้ทำให้มีการรณรงค์ประหยัดน้ำมันและนำพืชน้ำมันมาใช้ เพื่อทดแทนการรับซื้อน้ำมันจากต่างประเทศมากขึ้น จึงได้มีการศึกษา และมีนโยบายนำน้ำมันสบู่ดำมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล เพื่อแก้ปัญหาการ ขาดแคลนน้ำมันอีกแนวทางหนึ่งเช่นเดียวกับพืชน้ำมันอื่น ๆ ความเป็นมา สบู่ดำจัดเป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมันสำปะหลัง ยางพารา สบู่ดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcasL. ชื่อสามัญ คือ physic nut ทั้งนี้ คำว่า Jatropha มีรากศัพท์มาจาก ทางการแพทย์ของภาษากรีก 2 คำ คือ iatros แปลว่า หมอ และ trophe แปลว่า อาหาร ส่วนคำว่า curcas เป็นชื่อเรียกของสบู่ดำ บริเวณเมือง Malabar ในประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศอีกด้วย เช่น purging nut(อังกฤษ) pourghere, pignon d'Inde (ฝรั่งเศส) purgeernoot (เนเธอร์แลนด์) purgueira (โปรตุเกส) fagiola d'India ( อิตาลี ) kadam ( เนปาล ) yu-lu-tzu (จีน) tubang-bakod (ฟิลิปปินส์) jarak budeg (อินโดนีเซีย) bagani (ไอเวอร์รีโคต) butuje (ไนจีเรีย) pinoncillo (เม็กซิโก) tempate (คอสตาริกา) mundubi-assu (บราซิล) pinol (เปรู) และ pinon (กัวเตมาลา) จึงเป็นที่น่าสังเกตได้ว่า ต้นสบู่ดำสามารถเจริญเติบโตได้เกือบทั่วโลก ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่าง กันออกไป อย่างไรก็ตาม สันนิษฐานกันว่า สบู่ดำเป็นพืชพื้นเมืองแถบทวีป อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และ แอฟริกาใต้ สำหรับในประเทศไทย คาดว่าถูกนำเข้ามาในช่วงศริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาโดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส รับซื้อเมล็ดไปคั้นน้ำมันสำหรับทำสบู่ หลังจากนั้น ได้มีการปลูกกันแพร่หลายในทุกภาคของประเทศไทย และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป สาเหตุที่เรียกว่า ต้นสบู่ดำ หรือต้นสบู่เพราะมีน้ำยางสีขาวคล้ายสบู่ บริเวณลำต้นและกิ่ง ทางภาคเหนือเรียกว่า มะหุ่งฮั้ว ไท้-ยู หรือเกงยู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า มะเยา มักเย้า หรือสีหลอด ส่วนภาคใต้เรียกว่า หงส์เทศ และภาษายาวีเรียกว่า ยาเฆาะ เป็นต้น พันธุ์สบู่ดำ พันธุ์ของสบู่ดำที่พบในประเทศไทย มี 3 พันธุ์ คือ • พันธุ์สบู่ดำที่มีผลทรงกลม ขนาดของผลปานกลาง มีเปลือกหนาปานกลาง ปลูกกันทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ • พันธุ์สบู่ดำที่มีผลทรงกลม หรือรูปทรงของผลยาวกว่าพวกแรกเล็กน้อย ส่วนผลนั้นมีขนาดเท่ากัน แต่มีเปลือกหนากว่า ปลูกมากในภาคเหนือ • พันธุ์สบู่ดำที่มีผลกลม แต่มีขนาดเล็กกว่า 2 พวกแรก ปลูก ในภาคเหนือ และภาคใต้ โดยพันธุ์เป็นพันธุ์พื้นบ้านใช้เรียกชื่อตามแหล่งปลูก เช่น พันธุ์สตูล มุกดาหาร น่าน เป็นต้น พันธุ์ของสบู่ดำจากต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตร ได้รับพันธุ์จากต่างประเทศ 3 พันธุ์คือ • พันธุ์จากประเทศฟิลิปปินส์ • พันธุ์จากประเทศศรีลังกา • พันธุ์จากประเทศมาเลเซีย การขยายพันธุ์ ต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแห้งแล้งได้ดี แม้มี ปริมาณน้ำฝนต่ำเพียง 300-1,000 มม.ต่อปี จึงทำให้เจริญได้ดี ใน แถบเขตร้อน หรือในพื้นที่ที่มีความสูงจนถึง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงทำให้ต้นสบู่ดำสามารถ เจริญได้อย่างแพร่หลาย แม้ในพื้นที่มีสภาพไม่เหมาะสม ต้นสบู่ดำ สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปีประมาณ 2-4 กิโลกรัม/ต้น/ปี อย่างไรก็ตาม ต้นสบู่ดำอาจให้ผลผลิตสูงกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ สภาพแวดล้อม การจัดการ และวิธีการปลูก โดยสามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ปีแรก และให้ผลผลิตสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี (Becker and Francis, 2000) ทั้งนี้สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยมีลักษณะของผล 3 ลักษณะ คือ พันธุ์ที่มีผลกลมขนาดปานกลาง ผลกลมรีขนาดเล็ก และผลกลมขนาดปานกลางและเปลือกหนา การปรับปรุงพันธุ์อาจทำได้โดยใช้วิธีฉายรังสีแกมมาให้กับเมล็ดของต้นสบู่ดำ ซึ่งทำให้ต้นสบู่ดำมีลักษณะต้นเตี้ย ระยะเวลาออกดอกเร็วขึ้น และปริมาณ ผลผลิตต่อต้นสูง แต่มีขนาดของเมล็ดเล็กกว่าการไม่ฉายรังสี สำหรับวิธี ขยายพันธุ์อาจทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. เพาะเมล็ด วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดสามารถทำได้โดย เลือกเมล็ดจากฝักที่มีสีเหลืองแก่แกมสีน้ำตาล ซึ่งเป็นระยะแก่เต็มที่ ไม่มีระยะพักตัว จึงงอกได้ทันทีภายใน 10 วัน หลังจากเพาะในดิน ทั้งนี้ เมล็ดสบู่ดำที่แก่เต็มที่หรืออยู่ในสภาพเมล็ดแห้งจะพ้นจากระยะพักตัวในช่วงผลสุกจึงสามารถนำไปปลูกได้ทันที การงอกจะมีส่วนของใบเลี้ยงคู่ 2 ใบโผล่พ้นดินโดยการยืดตัวของส่วน ใต้ข้อใบเลี้ยง หลังจากนั้น ต้นกล้าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งควรอนุบาลต้นกล้าให้มีอายุประมาณ 2-3 เดือน หรือมีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก่อนนำไปปลูกในแปลง เพราะช่วยให้ต้นกล้าสามารถ ปรับตัวกับสภาพแปลงได้ดีและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มให้ ผลผลิตประมาณ 8–10 เดือน หลังปลูก สำหรับถุงเพาะหรือกระบะทราย ใช้อัตราส่วน ดิน:ทราย:แกลบ:ปุ๋ยคอก เท่ากับ 3:3:3:1 2. การปักชำ ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่มีสีเขียวปนน้ำตาลเล็กน้อย ซึ่งเป็นกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ทำให้สามารถแตกรากได้ง่าย สำหรับความยาวกิ่งปักชำที่เหมาะสม คือ ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยปักลงในถุงเพาะหรือกระบะทรายอัตราส่วนเช่นเดียวกับดินผสมเพาะเมล็ด และใช้เวลาปักชำประมาณ 2 เดือน จึงสามารถนำไปปลูกและ ให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 6–8 เดือน 3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สามารถเลือกใช้จากส่วนของยอดอ่อน ใบ และก้านใบของต้นสบู่ดำ ปลูกเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์และชักนำได้ต้นอ่อนจำนวนหลาย ๆ ต้น จึงทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก การปลูกและการดูแลรักษา • ระยะปลูกต้นสบู่ดำที่ปลูกในแปลงเกษตรกรได้แก่ 2x2 เมตร (400 ต้น/ไร่) ในบางประเทศนิยมปลูกพืชอื่นร่วมระหว่างแถว เพื่อได้รับร่มเงาและป้องกันอันตรายจากสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก หรือแมลงศัตรู • ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ในฤดูฝน ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพื่อให้ตั้งตัวได้ในช่วงแรก หลังปลูกควรให้น้ำทุก ๆ 10-15 วัน ควบคู่กับการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น โดยการถากและคลุมโคนต้น ด้วยเศษซากพืชหรือแกลบ ซึ่งเป็นการช่วยรักษาความชื้นและเพิ่ม ธาตุอาหารในดิน หลังจากปลูกประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่อีกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรก อย่างไรก็ตาม พบว่า ต้นสบู่ดำมีความต้องการปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมในปริมาณ ที่สูงกว่าฟอสฟอรัส ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทางลำต้นและผลผลิตของต้นสบู่ดำ ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานถึงปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นสบู่ดำในประเทศไทย ส่วนพื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นที่ดอนหรือน้ำไม่ท่วมขัง และได้รับแสงแดดจัดตลอด ทั้งวัน ภายหลังการปลูก ลำต้นจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ ต้นแตกกิ่งก้านมากขึ้น เพราะสะดวกในการเก็บเกี่ยว จากการศึกษา พบว่า ควรตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 หรือเมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งในการพัฒนาการทางลำต้นในระยะนี้ สามารถตัดแต่งกิ่งได้ 3 ระดับ คือ ตัดแต่งกิ่งที่ข้อแยกที่ 1 ข้อแยกที่ 2 และข้อแยกที่ 3 ทั้งนี้ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายหลังการตัดแต่ง 6 สัปดาห์ การตัดแต่งกิ่งที่ข้อแยกที่ 1 จะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากในฤดูฝน และสามารถติดดอกออกผลได้อีกครั้งในช่วงฤดูแล้งถัดไป เช่นเดียวกับการตัดแต่งกิ่งที่ข้อแยกที่ 2 แต่ให้ผลผลิตลดลง เพราะมีการทิ้งใบบางส่วนในช่วงฤดูแล้ง ขณะที่ต้นที่ตัดแต่งกิ่งที่ข้อแยกที่ 3 และต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งจะให้ผลผลิตต่ำกว่า เพราะมีการทิ้งใบ เป็นจำนวนมากในช่วงฤดูแล้ง จึงแสดงให้เห็นว่า การตัดแต่งกิ่งต้น สบู่ดำที่ข้อแยกที่ 1 จะช่วยให้มีระยะพัฒนาการทางลำต้นยาวนานขึ้น และสามารถสร้างยอดหรือกิ่งใหม่เพิ่มขึ้นได้มากกว่าปกติ จึงทำให้มีผลผลิตสูงขึ้นเพราะการออกดอกและติดผลจะเกิดจากยอด หรือกิ่งใหม่ของต้นสบู่ดำ โรคและแมลงศัตรู • ไรขาว เป็นศัตรูสำคัญอันดับหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง จะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบ ทำให้ใบหดเล็กลงกว่าปกติ ใบแห้งกร้าน ส่วนหยักของใบจะปิดงอและม้วนลงด้านล่าง เส้นใบนูนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำสบู่ดำชะงักการเจริญเติบโต • เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ความยาวลำตัวประมาณ 1 มิลลิเมตร เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณรอยย่นของใบ ซอกใบ ที่ม้วนลง บริเวณเส้นใบและใต้ใบทำให้ใบกรอบแห้ง ขอบใบม้วนขึ้น ด้านบนบริเวณใต้ใบมีลักษณะคล้ายสีสนิมติดอยู่เมื่อมีการทำลายอย่างรุนแรง จะทำให้ใบไหม้เป็นจุดหรือกรอบแห้งทั้งใบ • เพลี้ยหอย จะดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของสบู่ดำตั้งแต่ใบ ยอดอ่อน ก้านใบ ผลและลำต้น ทำให้ใบแห้งเหี่ยว ก้านใบผลและลำต้นแห้งตาย • เพลี้ยจักจั่น ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบ ทำให้ใบห่อลงข้างล่างหรือหงิกงอ ถ้าระบาดในระยะตับอ่อน จะทำให้สบู่ดำแคระแกรน ถ้าระบาดรุนแรงอาจทำให้สบู่ดำตายได้ • หนอนคืบละหุ่ง กัดกินใบสบู่ดำ • ปลวกเข้าทำลายบริเวณโคนต้นสบู่ดำ ทำให้สบู่ดำแห้งตาย • หนอนชอนใบ จะเข้าทำลายช่วงเริ่มปลูก หรือเป็นตัวอ่อน ทำให้ใบเป็น รูพรุน • ไรแดง จะทำให้ใบร่วงเหลือง • เพลี้ยแป้ง ค่อนข้างอันตราย เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกิ่งและลำต้นอ่อน ของสบู่ดำ การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเมล็ด ต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทยอยออกดอก จึงทำให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน การเก็บเกี่ยวจึงควรเก็บผลผลิตทุก ๆ 2 สัปดาห์ ภายหลังการเก็บเกี่ยว ต้องนำผลไปตากแดดให้แห้งก่อนนำไปกะเทาะเปลือก เนื่องจากเป็นเมล็ดแห้ง (orthodox) จึงควรลดความชื้นของเมล็ดให้เหลือประมาณ 5-7 % โดยการตากแดดหรือผึ่งลม ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 ปี ภายใต้อุณหภูมิห้องประมาณ 20 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เมล็ดสบู่ดำมีองค์ประกอบของน้ำมันสูง จึงไม่ควรเก็บรักษานานเกินไป เพราะจะทำให้คุณภาพการงอกของเมล็ดลดลง ประโยชน์ของสบู่ดำ • ใบ ใบอ่อนสามารถนำมานึ่ง หรือต้มรับประทานได้อย่างปลอดภัย • เปลือกไม้ สามารถนำมาสกัดเอาแทนนิน (Tannin) ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังได้ • ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซาง ตาลขโมย ตัดเป็นท่อน แช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและทำรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าทำลายผลผลิต ใช้เป็นฟืนและถ่าน • ดอก เลี้ยงผึ้งเพื่อผลิตน้ำผึ้ง • เมล็ด ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย กากเมล็ด ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจาก การหีบเอาน้ำมันไปใช้แล้ว จะนำมาอัดเป็นก้อน ส่วนนี้จะมีเคอร์ซิน (curcin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นพิษ เหมือนกับไรซิน (ricin) ในละหุ่ง ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงสัตว์ แต่เหมาะที่จะนำไปทำปุ๋ยหรือนำไป ทำเป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องสตีมเทอร์ไบน์ (Steam turbine) สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในเมล็ดสบู่ดำยังมีสารพิษรุนแรงและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ คือ curcin, curcasin, phytosterols, resin และสารในกลุ่ม phorbol esters ทำให้มีผลต่อระบบทางเดินอาหารและการหายใจ จึงมีการสกัดสารจากเมล็ดไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารชีวภาพกำจัดแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดการเข้าทำลายของหนอนเจาะต้นข้าว • น้ำยางจากก้านใบ รักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดา ป้ายลิ้น หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เบื่อปลา หรือเป็นของเล่น โดยเป่าน้ำยางสีขาวให้กลายเป็นฟองคล้ายฟองสบู่(สมัยเด็กๆ เคยเล่น) • ราก ใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ • น้ำมันเมล็ดของสบู่ดำ ประกอบไปด้วยน้ำมันประมาณ 35 – 40% เนื้อใน (kernels) ประมาณ 55 – 60% ดังนั้น “น้ำมัน” จึงเป็น ผลผลิตที่สำคัญของสบู่ดำ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้ - ทำเครื่องสำอาง และถนอมผิว น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช ้ทาแก้โรคผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบรวมทั้งสามารถบรรเทาอาการปวดข้อ อันเนื่องมาจากรูมาตอยด์ได้ด้วยกรดไลโนอิคในน้ำมันเมล็ดในของสบู่ดำ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 36% มีความน่าสนใจในการนำไปทำเป็นครีมถนอมผิว - สารเคมีกำจัดศัตรูพืช น้ำมัน และสารสกัดจากน้ำมันของสบู่ดำ สามารถนำมาใช้กำจัดศัตรูพืชได้ โดยมีตัวอย่างในการนำไปใช้ ควบคุมแมลงศัตรูฝ้าย โดยเฉพาะหนอนเจาะสมอฝ้าย ศัตรูผัก มันฝรั่ง และข้าวโพด สารสกัดเมธานอล (Methanol extracts) จากสบู่ดำ ซึ่งประกอบด้วยสารพิษบางชนิด มีการทดลองนำมาใช้ในการควบคุม พยาธิในหอยที่นำมาบริโภค - สบู่ กลีเซอรีนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากไบโอดีเซล สามารถนำมาทำสบู่ได้ ขณะเดียวกันน้ำมันจากสบู่ดำล้วน ๆ ก็นำมาทำสบู่ได้เช่นกัน โดยมีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ในหนังสือ Wphysic nutW เขียนโดย Joachim Heller ที่พิมพ์เผยแพร่โดย IPGRI เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้กล่าวถึง การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำไว้ในทำนองเดียวกัน ดังนี้ - ใช้ทำยา ในหนังสือดังกล่าวระบุว่าทุกส่วนของต้นสบู่ดำ รวมทั้งเมล็ด ใบ และเปลือกไม้ ทั้งสดและ นำมาสกัดหรือต้ม สามารถนำมาทำยาพื้นบ้าน และยารักษาสัตว์ได้ โดยน้ำมันของ สบู่ดำมีฤทธิ์เป็น ยาระบาย และโดยทั่วไปนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง รวมทั้งใช้ ทาแก้ปวดในคนที่เป็นโรค รูมาติสซั่ม ใบนำมาต้มน้ำดื่มแก้ไอ และใช้ฆ่าเชื้อโรคภายหลัง การคลอด น้ำในเนื้อเยื่อของต้นสบู่ดำ นำมาใช้ห้ามเลือด -ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และพาราสิตของหอย สารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของต้นสบู่ดำมีศักยภาพ ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะน้ำมันจากเมล็ด สารสกัดจากเมล็ด และฟอร์บอล เอสเตอร์ (Phorbol ester) จากน้ำมันสามารถนำมาควบคุมศัตรูพืชหลายชนิด ในหลายกรณีอย่างได้ผลดียิ่ง ทั้งในฝ้าย มันฝรั่ง พืชผัก ถั่วเขียว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง น้ำที่สกัดจากใบของสบู่ดำ มีฤทธิ์ในการควบคุมเชื้อราที่เป็น พาหะนำโรคของพืชบางชนิด และมีผลการทดลองจากห้องปฏิบัติการ ระบุว่าเมล็ดสบู่ดำที่บดเป็นผงสามารถทำให้หอยมีปฏิกิริยา ต่อต้าน การอาศัยของพยาธิใบไม้ได้ อย่างไรก็ตามมีข้อมูลระบุว่า ในออสเตรเลียจัดให้สบู่ดำเป็นวัชพืช เนื่องจากมีการแพร่ขยาย อย่างกว้างขวางทั่วโลก และเป็นพืชที่เมล็ดมีพิษ ซึ่งต้องมีการ ควบคุมการปลูก - ทำสบู่ ในสมัยก่อน ใช้น้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำในการผลิตสบู่ เนื่องจากมีการปลูกและสกัดน้ำมัน จากเมล็ดเป็นจำนวนมากในแหลม Verde ปัจจุบันในประเทศมาลี ก็มีการผลิตสบู่ จากน้ำมันสบู่ดำใช้กันอย่างแพร่หลาย ในท้องถิ่น โดยการนำน้ำมันมาต้ม กับโซดา มีการทดลองในห้องปฏิบัติการของบริษัท ตาตา ออยล์ มิลล์ จำกัด (Tata oil Mills Co.Ltd.,) ในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย โดยการนำส่วนผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันสบู่ดำที่มีส่วนผสม ของไฮโดรเจน (Hydrogenated Physic nut) 75% น้ำมันสบู่ดำบริสุทธิ์ 15% และ น้ำมะพร้าว 10% ผลิตเป็นสบู่ที่มีฟองมีค่าความเป็นกลาง ใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกาย |
พิษวิทยาของสบู่ดำ นันทวรรณ สโรบล จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่าทุกส่วนของสบู่ดำมีความเป็นพิษ ซึ่งส่วนใหญ่พบกับสัตว์ทดลอง ดังนี้ 1.ใบ • มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและฆ่าพยาธิโดยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus, Bacilius และ Mcrococous • ยาง (sap) ที่ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ และ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถฆ่าไข่พยาธิไส้เดือนดและพยาธิปากขอ และยับยั้งการเจริญของ ลูกน้ำยุง และยางจะมีความเป็นพิษสูงมากต่อหนูถีบจักรเมื่อเข้าทางปาก หรือฉีดเข้าร่องท้อง 2.กิ่งก้าน หรือส่วนต้น • จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้ง cytopathic effect ของเชื้อ HV โดยมีพิษต่ำ 3.ผล • ทดสอบกับปลาคาร์พ พบว่าพิษของ phorbol ester ทำให้ปลา เจริญเติบโตช้าลง มีมูกในอุจจาระและไม่กินอาหาร แต่ถ้าหยุดให้ phorbol ester ปลาจะกลับมาเจริญเป็นปกติ • ได้ทดสอบกับตัวอ่อนในครรภ์ของหนู พบว่าผลสบู่ดำทำให้หนูแท้งได้ 4. เมล็ด สารพิษในเมล็ดคือ curcin มีฤทธิ์ต่อสัตว์หลายชนิดและมนุษย์ดังนี้ • ฤทธิ์กับหนู พบว่าสารพิษ curcin มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน แต่ในทางกลับกันพบว่าในเมล็ดสบู่ดำ มีสารบางชนิดซึ่งมีฤทธิ์เป็น tumor promoter กล่าวคือไม่เป็นสารก่อมะเร็ง แต่สามารถกระตุ้นให้เซลล์ที่มี ยีนผิดปกติเนื่องจากของสารก่อมะเร็ง แบ่งตัวอย่างรวดเร็วและอาจพัฒนา เจริญเป็นก้อนมะเร็งได้ • พิษเฉียบพลันของเมล็ดสบู่ดำ - พิษกับหนู เมื่อให้ทางปากในหนูถีบจักร พบว่าทำให้หนูตาย เนื่องจากการคั่งในหลอดเลือด และ/หรือ เลือดออกในลำไส้ใหญ่ ปอด - พิษกับลูกไก่ พบว่าเมื่อนำเมล็ดมาผสมอาหารให้ลูกไก่กิน ทำให้ลูกไก่โตช้า ตับและไตโต - พิษในสัตว์ เช่น แกะ แพะ ทำให้ท้องเสีย ขาดน้ำ ไม่กินอาหาร และมีเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาหาร ปอด ไต หัวใจผิดปกติ มีเลือกออกหลายแห่งในร่างกาย - พิษที่พบในเด็ก ที่รับประทานเมล็ดสบู่ดำได้แก่ อาการกระสับกระส่าย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และขาดน้ำ - พิษที่พบในผู้ใหญ่ กรณีที่เป็นสายพันธุ์ที่มีสารเป็นพิษสูง หากรับประทานเพียงแค่ 3 เมล็ด ก็เป็นอันตรายแก่ระบบทางเดินอาหาร แต่บางพันธุ์รับประทานถึง 50 เมล็ดก็ไม่เป็นอันตราย 5.ราก • ฤทธิ์ต้านอักเสบ ผงรากเมื่อทาบนใบหูของหนูถีบจักร จะช่วยต้านอักเสบ จากการถูกสาร TPA ได้ และสารสกัดด้วยเมธานอลของผงราก เมื่อให้ทางปากจะต้านอักเสบของอุ้งเท่าหนูที่ได้รับสาร carrageenan 6.ยาง • ยางสบู่ดำทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น (พบในคน) แต่ถ้าเจือจางมาก ๆ จะทำให้เลือดไม่แข็งตัว 7.ไม่ระบุส่วน • ฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่าสบู่ดำมีฤทธิ์ในการลด in vitroinvasion และเคลื่อนที่ และการหลั่งสาร เอ็นไซม์ matrix metallo proteinase ของเซลล์ แหล่งข้อมูล 1.กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์ไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย ปี 2548 2.Horiuchi,T.et al. 1987. Available: cancerres.aacjoumals.org/cgi/content/abstract/ 48/20/5800 3.Lin,J. et al. 2003. Available: www.ncbi.nim.nih.gov/entrex/query.fcgi.cmd=Retrieve& db=PubMed&ist uids=31062788 4. Kimgsbury,1964. Available: www.inchem.org/clocuments/pims/plant/jcurc.htm การใช้น้ำมันสบู่ดำแทนน้ำมันดีเซล น้ำมันสบู่ดำสามารถละลายได้ดีในน้ำมันดีเซลและเบนซิน เมื่อเก็บไว้นานๆ ไม่มีการแยกชั้น ดังนั้น น้ำมันสบู่ดำจึงใช้ประโยชน์ในการผสม กับน้ำมันเบนซิน สำหรับเดินเครื่องยนต์เบนซินได้ดีอีกด้วย โดยปกติสิ่งที่นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน น่าจะเป็นที่นิยมมากกว่าใช้แทนน้ำมันดีเซล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเทศอุตสาหกรรม สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายก็คำนึงถึงการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง สำหรับผู้มีเครื่องยนต์เบนซินอยู่แล้วก็จะยอมรับแนวความคิดนี้ได้ง่าย ตามความเป็นจริงประเทศที่กำลังพัฒนากลับมีความคิดที่ตรงกันข้าม ความจริงก็คือว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้จะมี จำนวนมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องจักรกลเกษตร และเรือหาปลา มักนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลกัน องค์กร the United States Environment Protection Agency หรือ USEPA พบว่าน้ำมันสบู่ดำมีผลกระทบด้านมลภาวะ ทางอากาศน้อยกว่าการใช้น้ำมันอื่น ๆ โดยลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนตกค้าง (unburned hydrocarbons) ได้ประมาณ 68% คาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide) 44 % ปริมาณซัลเฟต (sulphates) 100 % กลุ่มสารอโรมาติค ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbons PAHs) 80% และคาร์ซิโนจีนิคไนเตรท ( carcinogenic nitrated PAHs) 90% จากหลักการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ความร้อนจาก การอัดอากาศในกระบอกสูบ แล้วฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปเพื่อทำการเผาไหม้นั้น คุณสมบัติทางเคมีของน้ำมันสบู่ดำ จะอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและดีกว่า ค่ากำหนดมาตรฐานของน้ำมันดีเซลในบางประเทศ เช่น ไทย ญี่ปุ่น และยุโรป เช่น ค่าความถ่วงจำเพาะ ( specific gravity) ค่าความหนาแน่น (density) ค่าจุดวาบไฟ (flash point) ค่าซีเทน (cetane) และค่าความหนืด (viscosity) รวมถึงให้ความร้อนสูงเท่ากับ 9,470 กิโลแคลลอรี/กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซินและเอธิลแอลกอฮอล์ที่ให้ความร้อนเท่ากับ 10,170 10,600 และ 6,400 กิโลแคลลอรี/กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งคุณสมบัติทางเคมี เหล่านี้ เป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการเผาไหม้ การติดไฟ การป้องกันการน็อค และการประหยัดน้ำมันในเครื่องยนต์ดีเซล เช่นเดียวกับค่าการเผาไหม้ของสารซัลเฟต (sulphated ash) หรือปริมาณสารซัลเฟอร์ตกค้างที่จะกัดกร่อนชิ้นส่วนของระบบหัวฉีดเครื่องยนต์ดีเซลให้ผุกร่อนได้ง่าย และทำให้อากาศเป็นพิษ น้ำมันสบู่ดำจะมีค่าน้อยกว่าน้ำมันดีเซลด้วย นอกจากนี้ภายในเมล็ดสบู่ดำยังประกอบด้วยองค์ประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์หลายชนิดและมีปริมาณสูง เมื่อเปรียบเทียบกับในเมล็ดถั่วเหลือง และถั่วลิสง ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น โปรตีน กรดไขมันไม่อิ่มตัว และไฟเบอร์ เมล็ดสบู่ดำจึงมีประโยชน์ในด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์กากจากเมล็ดสบู่ดำมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง หลายชนิด ได้แก่ ฟอสฟอรัส (0.61 % ) แคลเซียม (0.47%) แมกนีเซียม (0.42%) โซเดียม (0.04%) และโพแทสเซียม (1.03%) บรรณานุกรม กองเกษตรวิศวกรรม. 2527. พลังงานจากน้ำมันพืช. ฝ่ายฝึกอบรมเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. จเร สดากร. 2527. สบู่ดำพืชศักยภาพสูงเพื่อพลังงานทดแทนของประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร 2 : 67-72. จรูญ ค้อมคำพันธุ์ และโยซิฟูมิ ทาเคดะ. 2547. น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์ดีเซล. กสิกร (3) : 74-78. ไชยส่องอาชีพ.2548.สบู่ดำพืชพลังงานที่กำลังมาแรง.เทคโนโลยีชาวบ้าน(18):64-65 ระพีพันธ์ ภาสบุตร สุขสันต์ สุทธิผลไพบูลย์ ไพจิตร จันทรวงศ์ วีระศักดิ์ อนัมบุตร มาลี ประภาวัต วิไล กาญจนภูมิ และอรวรรณ หวังดีธรรม. 2525. การใช้น้ำมันสบู่ดำเดินเครื่องยนต์ดีเซล. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. วิมลรัตน์ ศุกรินทร์ วิไลรัตน์ กุลพัชรานุรักษ์ Okabe, T. และ มณเฑียร โสมภีร์. 2531. การศึกษาปุ๋ยอัตราต่าง ๆ กันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตสบู่ดำ. ข้อมูลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. วิมลรัตน์ ศุกรินทร์ มณเฑียร โสมภีร์ Goco, H. และ นาค โพธิ์แท่น. 2533. การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตของสบู่ดำโดยการฉายรังสีแกมมา. ข้อมูลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. สมบัติ ชิณะวงศ์. 2548. สบู่ดำพืชทดแทนพลังงานที่มีศักยภาพ. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. Available: 158.108.200.11/blacksoap/blacksoap.pdf สุรพงษ์ เจริญรัถ.2548.สบู่ดำพืชพลังงานที่กำลังมาแรง.เทคโนโลยีชาวบ้าน (18):56-57 สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.2536.ไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ.บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.300 น. เอื้อมพร วีสมหมาย.2544.พฤกษาพัน.พิมพ์ครั้งที่ 2.โรงพิมพ์ เอช เอน กรุ๊ป จำกัด. 456 Aakko, P. 2004. AMFI Newsletter. October, issue no. 1. Amaugo, G.O. and Emosairue, S.O. 2003. The efficacy of some indigenous medicinal plant extracts for the control of upland rice stem borers in Nigeria. Tropical and Subtropical Agroecosystems 2 : 121-127. Becker, K. and Francis, G. 2000. Bio-diesel from Jatropha plantations on degraded land. Department of Aquaculture Systems and Animal Nutrition, University of Hohenheim, Stuttgart, Germany. Heller, J. 1996. Physic nut (Jatropha curcas L.). Promoting the conservation and use of underutilized and neglected crops 1. Institute of Plant Genetics and Crop Plant Research, Gatersleben, Germany and International Plant Genetic Resources Institute, Rome, Italy.Available : www.ipgri.cgiar.org/publications/pdf/161.pdf Joker, D. and Jepsen, J. 2003. Jatropha curcas L. Seed Leaflet 83. Available: www.dfsc.dk/pdf/Seedleaflets/jatropha_curcas_83.pdf The petroleum institute of Thailand. 2002. คุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำมันและข้อมูลสถิติราคาน้ำมัน. Available: www.ptit-ebis.com/oilbusiness/index.php Wiesenhutter, J. 2003. Use of Physic nut (Jatropha curcas L.) to combat desertification and reduce poverty. Convention Project to Combat Desertification, Bonn, Germany. Available: www.underutilized-species.org/ documents/use_of_jatropha_curcas_ en.pdf |
ที่มา :: กรมวิชาการเกษตร http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=15 |
ไขข้อข้องใจอีกประเด็น ทำไมญี่ปุ่นถึงเช่าที่ปลูกเยอะขนาดนั้น ข้อมูลจาก โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน และพัฒนารูปแบบการผลิดพลังงานพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างภาคเหนือ http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/index.asp ** 3 หน่วยงานวิจัยชั้นนำของไทยจับมือกันลงนามร่วมวิจัยกับญี่ปุ่น มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไบโอดีเซลจากสบู่ดำให้ได้คุณภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล หวังใช้ขับเคลื่อนยานยนต์ แก้ปัญหาวิกฤตอาหารและพลังงาน -----ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กุมภาพันธ์ 2553 22:34 น. http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/Sope/QAview.asp?id=42 *** บริษัทจากญี่ปุ่นแห่งหนึ่งได้ประกาศแผนการลงทุนปลูกและผลิตเมล็ดละหุ่งกับสบู่ดำในพม่าเพื่อส่งออก รวมทั้งใช้ผลิตดีเซลชีวภาพเพื่อส่งออก ซึ่งทั้งหมดจะเริ่มในปีนี้ ----ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2552http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/Sope/QAview.asp?id=40 ***นักธุรกิจเสรี ประเทศมาเลเซีย ร่วมลงนามข้อตกลงสัญญา ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย โครงการปลูกต้นไม้สบู่ดำเป็นพลังงานทดแทน ----แนวหน้าออนไลน์ http://www.kasetcity.com/Thaibioenergy/Sope/QAview.asp?id=43 |
ไว้จะรวบรวมโครงการวิจัยในประเทศมาฝากอีกทีนะคะ
- บล็อกของ หนูนิว
- อ่าน 7339 ครั้ง
ความเห็น
Tui
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:35
Permalink
น่าสนใจมาก ขอบคุณ สำ หรับ
น่าสนใจมาก ขอบคุณ สำ หรับ ขอมูล ครับ
หนูนิว
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:37
Permalink
ข้อมูลยาวไปหน่อยค่ะพี่ตุ้ย
นิวก็อ่านคร่าวๆ
บางอยางก็พอจะนึกออกอยู่บ้าง
สมัยน้าเรียนพยาบาลเคยทำรายงานสรรพคุณทางยา
ของ สบู่ดำ กับ ละหุ่ง ค่ะ
ต้องค่อยๆอ่าน
เพราะมันเป็นมหากาพย์มากๆๆๆๆ
ตั้ม
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:37
Permalink
โอ้ข้อมูลเพียบ..สบู่ดำ
อ่านซะตาลาย..ขอบคุณหนูนิวมากที่ช่วยค้นให้..สบายเราไปเลย..คงต้องเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ..เรื่องต่อไปที่ต้องตามหาคือเรื่องการตลาด การส่งออก..เริ่มไปไกลแล้วเรา..อิ..อิ..
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
หนูนิว
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:41
Permalink
ฉกมาทำเองเลย พี่ตั้ม อิอิ
สนุมไพรโบราณหลายอย่างของไทย
โดนญี่ปุ่นเอาไปทำเครื่องสำอางค์เยอะค่ะ
จำได้ว่ามีช่วงนึงที่เค้าเอาสมุนไพรไทยไปทำครีม เสริม... ผู้หญิง
แล้วจะจดสิทธิบัตร ไม่รู้ว่าเราร้องเรียนสำเร็จรึเปล่า
ไม่ได้ตามข่าวเหมือนกัน
ต้นไม้บ้านเราปล่อยให้เค้าเอาไปทำ
ส่วนเราปลูกได้ ราคาก็น้อยนิด
เค้าเอาไปผ่านเทคโนโลยี รายได้ มหาศาล
ตั้ม
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:48
Permalink
นั่นคือสิ่งที่เราต้องศึกษา
หลายอย่างที่ผลิตหรือตั้งต้นที่ไทย..ส่งออกไปแปรรูปหรือสร้างมูลค่าเพิ่มกลับมาขายไทย..ส่งไปได้สิบบาท..ส่งกลับมาขาย 500 บาท..นี่คือสิ่งที่เราต้องพัฒนาให้ทัน..สำหรับเรื่องนี้..หากญี่ปุ่นที่เป็นคนเช่าเขาไม่ทำ..พี่อาจต้องลงไปลุยเหมือนกัน..แต่ถ้าเขาทำก็ปล่อยให้เค้าทำต่อจนกว่าจะไม่ทำแล้วค่อว่ากันไป
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
ป้าเล็ก..อุบล
4 พฤศจิกายน, 2010 - 14:56
Permalink
ใช้ยางห้ามเลือด
เจอกับตัวเอง ตอน7ขวบ เล่น หมาเวียนวง(ขีดเหมือนเลข8นอน) วงใหญ่ๆ หมาอยู่เฉพาะบนเส้น ต้องใช้ความเร็วในการไล่แตะ คนเยอะ ให้เป็นหมา 2 คน หมากับหมาวิ่งมาชนกัน ป้าเล็กคิ้วแตกยาว 1 นิ้ว เลือดไหลเต็มหน้าเลย ทวดใช้ยางสบู่ดำ แตะๆตรงรอยแตก ก็แค่นั้นค่ะ ไม่ได้ไปโรงบาล หาย ทุกวันนี้ยังมีแผลเป็นอยู่เลย ทางใต้เรียก หงเทศ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
หนูนิว
4 พฤศจิกายน, 2010 - 15:03
Permalink
ป้าเล็กหนูเป่าเล่นอย่างเดียวเลยค่ะ
ยายบอกว่าเล่นไปเถอะ
มันเป็นยา
หลังๆ มายายก็บ่นเพราะไปเด็ดใบมันมาเล่นจนเกือบหมดต้น
bb-boz
4 พฤศจิกายน, 2010 - 15:02
Permalink
ที่พม่าปลูกเยอะมาก
ที่พม่าปลูกเยอะมาก สบู่ดำคือยางหงส์หรอเออเราก็ว่ามันคล้ายๆกัน ยาสามัญประจำบ้านเลยล่ะสมัยก่อนปลูกเกือบทุกบ้านตอนเด็กเล่นซนเอาพร้ามาปอกอ้อยเองผลคือพร้าสับเข้าหัวแม่โป้งต้องวิ่งไปหักก้านยางหงส์มาห้ามเลือด เลือดหยุดทันทียังเป็นแผลเป็นถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นสมัยนี้ต้องเย็บไม่ต่ำกว่า 10เข็ม
หนูนิว
4 พฤศจิกายน, 2010 - 15:05
Permalink
ที่แท้ก็ของใกล้ตัวนะคะพี่ BB
รู้สึกว่า
จะมีคนที่มีความหลังกับสบู่ดำเยอะอยู่เหมือนกัน
แสดงว่าคนโบราณเค้าใช้เป็นยามานานมากแล้ว
สงสัยต้องไปหามาลองปลูกดูบ้าง
ที่บ้านไม่มีแล้ว
9wut
4 พฤศจิกายน, 2010 - 15:11
Permalink
ขอบคุณหนูนิว
เมื่อสามสี่ก่อน เมืองไทยฮือฮากับพืชชนิดนี้มากเลย
เกี่ยวกับสรรพคุณของสบู่ดำโดยเฉพาะเรื่องพลังงานทางเลือกแทนน้ำมัน
ผมได้ค้นหาข้อมูลสักพักก็สรุปได้ว่า ณ ตอนนั้นอยู่ในช่วงวิจัย
เพื่อพัฒนาพันธุ์ที่ให้ได้ผลิตเยอะๆ อยู่ เนื่องจากผลผลิตต่อไรยังต่ำ
ไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ตอนนี้ลืมไปหมดแล้วครับ
วิธีลงรูปประจำตัว |การใช้งานเว็บบ้านสวน |การแทรกรูป |การแทรก VDO
หน้า