"หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู"

หมวดหมู่ของบล็อก: 

"หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู"

...ในคืนแรม ฟ้ามืดสนิท แสงริบหรี่ช่างมีความหมาย...

 

 ชีวิตวัยเด็กริมคลองน้ำใส เห็นกุ้ง ปลาตัวน้อย แหวกว่าย ระเริงเล่น

บางวันไหนหน้าน้ำล้นแม่ปูตัวใหญ่ เดินเปะปะ ไม่ตรงทางขึ้นสู่ฝั่ง

ลูกปูตัวเล็กยั้วเยี้ยในท้องที่อ้าออกน้อยๆเกาะไต่ตัวแม่ อีกบางตัวหลุดร่วงจากกาย

แต่ก็ยังคลานไม่ตรงทางตามแม่ด้วยขาเล็กๆอย่างมีสัญชาติญาณ  

 ...ภาพสวยของแม่ปูกับลูกยังงามตรึงในความทรงจำ

 ...อีกภาพที่ประทับไว้ไม่รู้ลืม...แสงระยิบระยับรอบลำพูต้นใหญ่ในคืนเดือนมืดสนิท  

...นิทานแห่ง “สัญญาที่ไม่ลืมกันของชายหนุ่มที่ถือโคมไฟข้างต้นลำพูหวังรอหญิงอันเป็นที่รักกลับมา”...

 

 

วันนี้ต้นลำพูที่ได้มา แม้จะด้อยด้วยราคา แต่ช่างมีความหมาย

...ความหวังที่แม้ลางเลือน แต่ก็ยังหวัง หวังจะได้บ้าง “...แสงหิ่งห้อย ...เหมือนวันวาน...”

...นิทานแห่ง “สัญญาที่ไม่ลืมกันของชายที่ถือโคมไฟข้างต้นลำพูหวังรอหญิงอันเป็นที่รักกลับมา”...

...นิยายชีวิตจริงที่ในวันนี้มีต้นลำพูแล้ว “สัญญาที่ไม่ลืมกันของโคมไฟน้อยๆจะคืนมาเคียงคู่กับต้นลำพู”....

 

 

...หวัง....

หิ่งห้อยตัวน้อยจะมาเยือน    สว่างไสวยิ่งนักในราตรีเดือนมืด

เฉกเดียวกับดวงดาราระยิบบนฟ้าคืนจันทร์แรม

ดุจแสงรำไรที่ปลายอุโมงค์

 

....ราตรีนี้ที่นี่....มีลำพู...

...ที่นี่...คืนอันมืดสนิทนี้ หิ่งห้อยน้อยจะมาเยือน เหมือนวันวาน

ขอเพียงวันนี้มีความหวัง เพื่อสร้างแรงฝันก้าวไปให้ถึงสัญญาที่ไม่ลืมกัน               

...“หิ่งห้อย ความหวัง และลำพู”...

 

หมายเหตุ

 

  • เรื่องราวต้นลำพู

 ลำพู เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-20 เมตร เมื่ออายุน้อยเปลือกเรียบ และแตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ดเมื่ออายุมากขึ้นรากหายใจยาว 70 ซม. หรือยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนราก 4-5 ซม. เรียวแหลมไปทางปลายราก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนาน แกมรูปรี ขนาด2-5 x 4-13 ซม. ปลายใบแหลมทู่ ถึงเป็นติ่งสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน ยาว 0.2-0.4 ซม. สีแดงเรื่อๆ ดอกออกเดี่ยวๆที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้นๆ รูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีออกแดง กลีบดอกรูปแถบ ขนาด 0.1-0.2 x 1.5-2.5 ซม. สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5-4 ซม. โคนก้านสีแดง ปลายสีขาว ร่วงง่ายภายในวันเดี่ยว ออกดอกเดือน สิงหาคม-ธันวาคม ส่วนผลมีเนื้อและมีเมล็ด ขนาดเล็กหลายเมล็ด ฝังอยู่ในเนื้อผล ผลรูปกลมด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง 4.5-7x2.5-3.5 ซม. สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแผ่บานออก ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่ม ออกผลเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

  • เรื่องราวหิ่งห้อย

  หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย (Firefly Glow-wormLighteningbug) เป็นชื่อเรียก
แมลงปีกแข็งในวงศ์แลมพายริดี้ (Lampyridae) อันดับโคลีออบทร่า (Coleoptera) ทั่วทั้งโลกมีทิ้งถ่วงประมาณ 2,000 ชนิด
รูปร่างลักษณะ
ทิ้งถ่วงตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (Brachypterous) ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัว
หนอน หนอนของทิ้งถ่วงเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร ทิ้งถ่วงมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น
การทำแสง

ทิ้งถ่วงมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกระพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน
http://dekmaeklong.blogspot.com/2008/05/blog-post_20.html

ทำไม หิ่งห้อยจะเปล่งแสง....หิ่งห้อยเปล่งแสงเพื่อหาคู่

ทำไม หิ่งห้อยต้องอยู่กับต้นลำพูด้วย..เพราะว่า ใบที่มีขนของต้นลำพู เป็นแหล่งเก็บน้ำค้างอย่างดี หิ่งห้อยมาชุมนุมกันข้างต้นลำพูเพราะต้นลำพูมีเพลี้ยมาก หิ่งห้อยจึงมากินไข่ของเพลี้ย

การเจริญเติบโต ขึ้นในเขตป่าชายเลนค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลา ที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียว และลึก

ขอขอบคุณข้อมูลเรื่องราว ภาพ ของต้นลำพู หิ่งห้อย และตำนานที่ประกอบในการเขียนบล็อกนี้ซึ่งได้มาจากเว็บไซต์

 

 

 www.scitour.most.go.th/index.php?option=com...

 www.bloggang.com/mainblog.php?id=calalily...

 www.bansuanrak.com/activity/hinghoy%20activity.htm

 paweerada-noname.blogspot.com/ - guru.google.co.th/guru/thread?tid=20cf86017bd994d5

guru.google.co.th/guru/thread?tid=20cf86017bd994d5

 guru.sanook.com › ... ›   

 

 

ความเห็น

ขอให้คุณสมปราถนานะคะ ขอให้ได้เห็นแสงหิ่งห้อยอีกครั้ง

ไม่เห็นหิ่งห้อยมานาน ถ้าได้เห็นที่บ้านด้วยยิ่งดีเลย ขอบคุณที่ติดตามให้กำลังใจค่ะ

เมื่อก่อนตอนเด็กๆที่บ้านมี เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว

ขอบคุณครับพี่ เกือบลืมหิ้งหอยไปแล้ว

คุณ คนยอง เวลานี้หิ่งห้อยมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากที่ที่หิ่งห้อยจะอยู่ได้เหลือน้อย ถ้าหากมีหิ่งห้อยมากขึ้น สมดุลธรรมชาติน่าจะดีขึ้นได้บ้าง


ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมชมและช่วยกันทวนความจำวัยเด็กน่ะค่ะ

อ่านแล้วคิดถึง คู่กรรม เลยค่ะ


ใต้ลำพูรอคู่กรรม.........


หวานไม่เคยได้เห็นหิ่งห้อยมานานมากแล้วค่ะ


ขอบคุณพี่สายนะคะ เมื่อไหร่ต้นลำพูโตหวานจะไปนั่งรอใครสักคน


ใต้ต้นลำพูนะคะ Laughing

 

น้องหวาน อ่านคู่กรรมไปกี่รอบ บอกมาเลยว่าใช้ทิชชูหมดไปกี่กล่อง จะได้จดสถิติไว้


...พอปลูกไปได้หน่อย สงสัยว่าหิ่งห้อยจะไม่ยอมมาน่ะค่ะ แพ้แสงนีออนที่บ้านกระมังคะ  เดี๋ยวต้องหาที่อยู่ใหม่ให้ต้นลำพูซะแล้ว ต้นโตจะชวนมานั่งนับหิ่งห้อยด้วย ไม่ให้นั่งรอใคร เพราะคนรอคนเดิมรอมานานจนเป็นตำนานไปแล้วน่ะค่ะ ถ้าน้องหวานรอใครอีกเดี๋ยวจะได้อีกตำนานหนึ่ง

  ทำให้นึกถึงบึงขุนทะเล  สุราษฎร์ธานี

คุณวิษณุ ที่บึงขุนทะเล  สุราษฎร์ธานี มีมากเลยไหมคะ โชคดีจริงๆที่ยังมีให้เห็นอยู่

เป็นแมลงที่แปลกเหมือนกันนะครับมีไฟในตัวด้วย

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

เห็นด้วยค่ะ ว่าเป็นแมลงที่แปลก อ่านเจอว่ามีการเก็บใส่ขวดไว้หลายๆตัวแล้วเอามาทำเป็นกระบอกไฟฉาย ส่องสว่างก็มี แต่ยังไม่เคยเห็น

หน้า