โครงการ ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี (ฉบับร่าง)
โครงการ "ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี" (ฉบับร่าง) นะครับ ผมเองยอมรับตรงๆ ไม่มีความสามารถทางด้านการเขียนโครงการ จึงต้องให้สมาชิกที่มีความสามารถทางด้านนี้ช่วยคิดช่วยเขียนครับ ผมได้ร่างโครงการขึ้นมาคร่าวๆ แล้ว รบกวนด้วยครับ
1. ชื่อโครงการ ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี
2. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการที่คนไข้มารับบริการที่โรงพยาบาลมากขึ้น และโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยยาฆ่าแมลง หรือผักที่ไม่ปลอดสารพิษเพราะเกษตรกรผู้ผลิตฉีดยาวันนี้พรุ่งนี้เก็บขาย หรือการฝังสารแคมีป้องกันแมลงตั้งแต่ปลูก สารเคมียาฆ่าแมลงเหล่านั้นจึงตกอยู่กับผู้บริโภคยากที่จะหลีกเลี่ยง หากผู้บริโภคหรือประชาชนทั่วไปยังไม่ตระหนักในเรื่องนี้ ปัญหานี้ก็ยังเป็นปัญหาของประเทศต่อไปไม่รู้จบ
การปลูกผักรับประทานเองแบบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคมีสุขภาพดี แต่กระนั้นสำหรับคนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับการที่จะเริ่มต้นปลูกผัก เวบบ้านสวนพอเพียงตระหนักในปัญหานี้ จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้น
3. วัตถุประสงค์
- ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกเวบบ้านสวนพอเพียงปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง
- ให้ความรู้ในการปลูกผักจากสมาชิกด้วยกันเอง
4. เป้าหมาย
สมาชิกเวบบ้านสวนพอเพียง
5. วิธีดำเนินการ
6. ระยะเวลาดำเนินการ
7. งบประมาณ
-
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ (น่าจะเปิดรับสมัคร)
9. การประเมินผล
10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- อ่าน 30537 ครั้ง
sothorn
15 พฤศจิกายน, 2010 - 21:18
Permalink
ให้สมาชิกดูกันเองครับ
ให้สมาชิกดูกันเองครับพี่แก้ว ไม่ได้ของบประมาณใคร
แต่ว่าให้เป็นรูปแบบ เป็นทางการนิดหนึ่งเท่านั้นเอง เพื่อความขลัง
ข้าวเหม่า
15 พฤศจิกายน, 2010 - 22:21
Permalink
เริ่มโครงการช่วงนี้ดีมากค่ะ
เริ่มโครงการช่วงนี้ดีมากค่ะ เพราะเป็นช่วงที่ปลูกผักได้งามที่สุด แม่ข้าวเหม่าขอสมัครตั้งแต่ฉบับร่างนี่แหละค่ะ
linthai6611
16 พฤศจิกายน, 2010 - 00:28
Permalink
อย่าลืมประชาสัมพันธ์ผ่านไซเบอร์/และชุมชนใกล้บ้าน/ที่ทำงานฯลฯ
อย่าลืมประชาสัมพันธ์เวปบ้านสวนและโครงการนำร่องรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ผ่านกลุ่มญาติมิตรเพื่อนฝูงกระจายทั่วทุกภาคยิ่งดี
เหมือนกำลังจัดตั้งชมรมสมัยเรียนเลยนะเนี่ย
ส่วนกิจกรรมการประกวดเป็นอะไรที่ทำให้มีลุ้น ใช้งบแค่ค่ากระดาษ ค่าหมึกปริ๊นท์ใบประกาศเกียรติบัตรก็คงจะพอค่ะ
เพราะรางวัลในชีวิตที่ปลูกเอง กินเอง ปลอดสารพิษ สุขภาพดี ประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำ
และที่สำคัญคือน้ำใจของสมาิชิกลุงป้าน้าอาพี่้น้องแห่งนี้ ถือว่าสุดยอดแล้วค่ะ
จากนั้นค่อยมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากสมาชิกอีกทีเพื่อนำไปต่อยอดในการขยายจำนวนสมาชิกเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆในคราวต่อไป
ขอให้ทำแบบไม่หวังรางวัลใดๆนอกจากความสุขที่ได้แบ่งปัน..
มีทัวร์สัญจรไปดูผู้เข้าร่วมโครงการด้วยก็จะดีค่ะ
อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน......บยันอดทน ประหยัด อดออม..
..หมั่นให้ทาน รักษาศีล และภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)เพื่อความหลุดพ้นแห่งกรรม..
อนุบาลเกษตร
16 พฤศจิกายน, 2010 - 06:47
Permalink
ขอแชร์ความเห็นนะครับ
พี่โสทร ครับ
ผมว่าน่าจะเพิ่มในส่วนของคณะที่ปรึกษาโครงการ (ระดับปรมจารย์ ที่สมาชิกหรือพี่เห็นว่ามีประสบการณ์มากๆ) นะครับ
เพื่อให้แลเป็นทางการเหมือนพี่ตั้งใจนะครับ
(ตอน) มา...(ตอน) อยู่...และก
Tui
16 พฤศจิกายน, 2010 - 08:10
Permalink
ณ วันนี้ก็เริ่ม เป็น รูป เป็น
ณ วันนี้ก็เริ่ม เป็น รูป เป็น ร่าง ครับ เอาใจช่วย เขียน บล็อก ผมยัง เขียน ผิดเขียน ถูก ดังนั้น เรื่อง เขียนเป็นทางการ คงต้องขอ เป็นฝ่ายสนับสนุน ครับ เรื่อง การดำเนิน การขอเสนอ ตามคิดเห็นส่วนตัว
๑ วางแผน เผื่อช่วยสนับสนุน สมาชิคในโครการ เช่น เมล็ดพันธ์ ความรู้ ความเข้าใจ ในการเริ่มต้น โครการ ให้ตรงกัน ได้ไม่ปฎิบัติผิด วัตถุประสงค์ โดยไม่ตั้งใจตั้งแต่เริ่ม รวมถึงรางวัล ให้แก่ผู้ที่ ปฏิบัติ ตามโครงการได้ดี ที่สุดด้วย จัดตั้ง คณะกรรมการดูแล ผู้ร่วมโครงการครับ เช่น ดูแลเรื่อง เมล็ดพันธื ปัญหาการเกษตร หน่วยตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ เป็นต้นครับ วางแผน คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ผู้ที่ปลูกผักทาน เอง แบบผมแล้วนั้น โดยส่วนตัวถือว่าไม่ต้องเข้าโครงการ ก็ชอบทำอยู่แล้ว โครงการควรเป็นของ ผู้ที่อยากเริ่มทำ แต่ไม่มี สถาณที่ หรือ ความสามารถ เช่น ผู้ที่อยาก ปลูกผักในพื้นที่จำกัด ผู้ทีอยากลองปลูกทาน ถ้าสำเร็จจะทำเป็นอาชีพ หรือ ผู้ที่มีที่ดิน เคยปลูกแล้ว แต่ปลูกได้ไม่สำเร็จ หรือไม่งาน หรือ ไม่เป็นอิทร๊ย์ เป็นต้น
๒ เปิดรับสมัคร ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจาก ประชาสัมพันธ์ ความรู้ ความเข้าใจในโครงการ และผลที่ได้รับ เมื่อ จบสิ้นโครงการ
๓ อบรม เสริมสร้างความรู้ ในการปลูกผักเริ่มจาก การเตรียมดิน(โดยเฉพาะผู้ร่วมโครงการที่ไม่มีพื้นที่ดิน ควรเริ่มจากเตรียมดินอิทรีย์ใช้เองเป็นต้น) ทำปุ๋ยหมักต่างๆ สารอินทรีย์ฆ่าแมลง รวมถึง การ ปลูกผักหมุน เวียน เพื่อส่งเสริมผู้ร่วมโครงการปฎิบัติตามในระยะยาว โดยอาจนำ บล็อก เก่าๆ มารวม ส่งเป็น เมล์ ให้ ผู้ร่วมโครงการ สะดวกหาอ่านเองในยามว่าง
๔ เริ่มดำเนินการ อาจเกิดปัญหา ในการประเมิณผลภาพหลัง เพราะ ผู้ร่วมโครงการบางท่าน มี แปลงผัก อยู่แล้ว หรือ ต้นไม้งอกงามมากแล้ว ดั้งนั้น ควรกำหนดคุณสมบัติ ของผู้เข้าร่วมโครงการครับ ได้เห็นผลง่ายต่อ การประเมิณผล การเริ่ม ดำเนินการนั้น ในส่วน ตัว คิดว่าเริ่มจะ ผู้ร่วมโครงการเตรียม ดิน เพาะ เมล็ด ลงปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว นำไปใช้ โดยคร่าวแต่ละขั้น ตอน ควรทำบล็อก เสนอ เพ่อนสมาชิกในเวป ท่านอื่นที่ไม่ได้ร่วมโครงการเป็น การสงเสริมและปลูกจิตสำนึก ทางอ้อมให้ผู้ที่ไม่ได้ร่วมโครงการรักการปลูกผัก
๕ สนับสนุนและ ช่วยเหลือ แน่นอนครับ ว่าผู้ร่วมโครงการแต่ละท่านย่อมมี ปัญหาแตกต่า และ ต้องการความช่วยเหลือต่างกัน การสนับสนุน และช่วยเหลือนนั้น ควรมีชุด ของท่านสมาชิก เวป ที่มี ความรู้ ความเข้าใจ ในงานเกษตรเป็น อย่างดี กลุ่ม หนึ่ง เป็น กลุ่ม คอยตอบปัญหา และ ชี้เนะ จะว่าไป ถ้า ผู้ร่วมโครงการมี ปัญหา เขียน บล็อกทิ้งไว้ เพื่อนสมาชิกท่านอื่น ยินดี ช่วยตอบ อยู่ แล้ว แต่ในส่วนตัว การที่มี ผู้รู้ ออนไลน์ ตอบนั้น ทำให้การดำเนินการ รวดเร็วขึ้น และได้ผลแน่นอน ครับ
๖ ประเมิณผลโครงการ การประเมิณผล ควรมี การประเมิญผลทุก เดือน ครับเพราะผักโตเร็ว ยกเว้นผักยืนต้น ดังนั้น เผื่อ ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และแก้ปัญหา ให้แก่ผู้ร่วมโครงการ การประเมิณระยะสั้นแบบนี้อาจ จะให้เป็นคะแนน หรือ คำผูด ก็ได้ เผื่อเป็นจุดเสริม กำลังใจ และ ช่วยแก้ไขปัญหาครับ แต่ในกรณีที่ขาดบุคลากร ปฎิบัตงาน อย่างน้อย ก็ หนึ่ง ครั้ง ก่อน ปิดโครงการ
๗ วัดผลการดำเนินงาน การวัดผล โครงการ อาจเห็นได้จาก ผลผลิต ต่อแปลง หรือ ต่อ กระถางปลูก เช่น มะเขือ ผู้เข้าร่วมโครงกา เอ ปลูกหนึ่งกระถางได้ผลผลิต รวมกัน หนึ่งกิโล เป็น ต้น ท่านอื่น ที่ ทำเหมือนกัน อาจได้ น้อย กว่า แสดงว่า นาย เอ ย่อมมีการดำเนินงาน ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ทั้ง นั้นปัจใจ ด้านสภาพอากาศ ก็ สำคัญ ผลการ วัดผลนั้น สามารถ เป็น ตัวชี ชัด และ สร้างฐานข้อมูล ได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่ ไม่ได้เข้าร่วมโครงการศึกษาตามผู้ เข้ารวมโครงการ ก็ สามารถประฎบัติตาม นาย เอ ซึ่งให้ผลดีที่สุด อาจจะ วัด ผลโดยการ ตรวจเยี่ยม หรือ กำหดการ แสดงผลงาน ผู้เข้าร่วมโครงการเป็น ต้น
๘ สรุปผลโครงการ อันนี้ง่าย เมื่อ ปิดโครงการ อาจมีให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ กล่าว หรือ เขียน บล็อก สิ่งที่ได้จาก การเข้าร่วมโครงการ อาจจัดการ ร่วมตัว สมาชิก และ ผู้เข้าร่วมโครงการ พบปะ สังสรรค์ แสดงความขอบคุณ คณะ ผู้จัดทำ ช่วยเหลือ และ มอบรางวัล แก่ผู่เข้าร่วมโครงการ ดีเด่น รางวัลไม่จำเป็น ต้องเป็น ของมี ค่ามากมาย ครับ
จากความคิด ผมที่ คิดไป อ่านมา โครงการน่าจะ ระยะ หกเดือน เพราะ ผักโตเร็ว เห็น ผลง่าย จากการติดตามของ สมาชิกท่านอื่น ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครง การ นั้น จะเป็น การส่งเสริม และเผยแพร่ วัตถุประสงค์ ของโครงการไปในตัว อยู่แล้ว ครับ คนที่ไม่ค่อย รู้ อะไรมาก แบบผม ก็สามารถ ทราบปัญหาและ วิธี แก้ไขปัญหาการปลูกผัก จากนั้น เมื่อ ปิด โครงการแล้ว อาจมี การเปิดรับสมัคร ผู้ร่วมกลุ่มใหม่ ถ้าเป็นไปได้ ขยายผลไปจนถึผู้ที่ไม่มีเวลาใช้ อินเตอร์เน็ต ไม่มี อินเตอร์เน็ตใช้ หรือ ออกนอกเนตได้ ทั่วถึงแก่ผู้ที่สนใจ จะเป็นการดี มาก ฝันไปไกล ถ้า โครงการเป็น แนว ผม และมีการนัดพบ สังสรรค์ หกเดือน ว้าว ผมไปร่วมงานได้เลย เพราะ ถึงกำหนดกลับเมืองไทย พอดี
ผมอาจช่วยอะไรไม่ได้มาก ครับ ผู้ใหญ่ แต่พยายามนำเสนอ ให้พิจรณา ผลเป็น อย่างไร ก็ แล้วแต่ แต่ที่แน่ๆ วันนี้เรา เริ่ม ทำแล้ว
สาวน้อย
16 พฤศจิกายน, 2010 - 08:18
Permalink
แจ่มเลย...
แจ่มเลยค่ะ น้องตุ้ย... อิอิ ตอนนียังคิดไรไม่ออกหนับหนุน...คนอิ่นก่อน...
ชีวืตที่เพียงพอ..
oddzy
19 พฤศจิกายน, 2010 - 10:54
Permalink
พี่ สร เก่งจัง
พอจะเข้าใจโครงการล่ะ ขอบคุณพี่ๆน้องๆที่อธิบาย
สร
19 พฤศจิกายน, 2010 - 11:17
Permalink
คุณ oddzy
พี่แค่ลองเสนอผู้ใหญ่โสเองค่ะ...อย่าเพิ่งชม ไหน ๆ ก็ตั้งใจจะเขียนโครงการให้เป็นเรื่องเป็นราว ก็เลยอยากมีส่วนร่วม ร่วมด้วย ช่วยกันนะค่ะ
ที่คุณตุ๋ยเสนอ...คงจะอยู่หัวข้อที่ 5 วิธีการดำเนินงาน/ขั้นตอนการดำเนินงาน
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
หน้า