การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก
ข้อมูลดี ๆ เคยโหลดไว้อ่าน กลับมาดูใหม่ เห็นว่าจะมีประโยชน์สำหรับ สมช.ที่ต้องการส่ง ต้นกล้าพันธุ์พืชไปให้ เพื่อน ๆ สมช. ซึ่งสามารถเก็บใส่กล่องพัสดุไว้ได้นาน 8- 10 วัน
การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก
เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า มีการจำหน่ายต้นกล้าเพาะเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งมีปัญหาในการขนส่ง เนื่องจากน้ำหนักมากและเปลืองพื้นที่ จากผลการทดลองหาแนวทางส่งกล้าให้ได้จำนวนมากขึ้น และมีอัดราการชำรอดสูงอาจทำไต้ ดังนี้
1. เพาะต้นกล้าในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 1 x 5 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่งเซนติเมตรผสมกัน คลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50%
2. เมื่อกล้าผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ลูกค้าประมาณ 2 อาทิตย์ ให้เริ่มกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนการย้ายปลูกลงหลุม
3. เมื่อครบกำหนดให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลง ระวังอย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำพร้อมกับตัด ส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม.
4. นำต้นกล้าที่ล้างรากและตัดต้นทิ้งแล้วไปแช่ในน้ำยากันรา ประมาณ 15-20 นาที นำขึ้นผึ่งพอหมาด
5. นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดี มาแบ่งเป็นคู่ ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้าวชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากเชื้อโรค (อาจเตรียมได้โดยการอบหรือนึ่ง หรือราดด้วยยากันราก่อนนำมาใช้) ให้เป็นแถบยาวบาง ๆ ความกว้างของแถบเท่ากับ ความยาวของรากต้นกล้า ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะ
6. นำกล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียบบนแถบวัสดุรักษาความชื้น อย่าให้กล้าซ้อนกัน
7. ม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวม ๆ เหมือนห่อโรตี ปิดหัวท้ายห่อ ฉีดด้วยยากันราให้กระดาษเปียกพอหมาด ๆ
8. บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศ ปิดปากหลวม ๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่อง ๆ ภายในด้วยกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวม ๆ
9. ผนึกภายนอกลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้แล้วนำไปส่งไปรษณีย์
10. การส่งแบบล้างรากเช่นนี้ ต้นกล้าจะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยมีอัตราการรอดตายสูง 80% ทั้งนี้เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันที และเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% พร้อมกับให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอในระยะแรกๆ
11. หลังย้ายชำแล้วอาจราดด้วยสารสตาร์ทเตอร์ ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาดตามอัตราที่แนะนำในฉลาก
12. ข้อพึงระวังในการส่งกล้าแบบนี้ จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ และรากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุลังต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศ
การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย
เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจำหน่ายได้ หลังจากตัดยอดออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บหว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้น้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยเร็วต่อไป
คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า
ผักหนาวป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูน(KJ)
อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้
การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกัน
คัดลอกจาก http://www.doae.go.th/library/html/detail/melientha/p17_5.htm
- บล็อกของ สร
- อ่าน 12130 ครั้ง
ความเห็น
KASETMCOT
26 พฤศจิกายน, 2010 - 11:25
Permalink
เข้ามาหาความรู้
เข้ามาหาความรู้จากน้องสรอีกแล้ว ขอบใจมากน้องเหอ
ยายอิ๊ด
26 พฤศจิกายน, 2010 - 11:26
Permalink
มาอ่านอีกคน
ขอลอกไว้ก่อนนะคะ สร...ขอบคุณค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
lekonshore
26 พฤศจิกายน, 2010 - 11:26
Permalink
น้องสร
ตามมาหาความรู้ จะได้ทำตามมั่ง
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
witlessness
26 พฤศจิกายน, 2010 - 11:31
Permalink
ความรู้
ขอบคุณพี่สร สำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปัน
เจ้โส
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:14
Permalink
น้องสร
พูดถึงผักหวานป่าเจ้ปลูกมา 2 -3 ปี แล้ว ยังไม่ได้สักคืบ ทำท่าจะตายอีกต่างหาก
garden_art1139@hotmail.com
สร
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:23
Permalink
เจ้โสค๊ะ
ลองวิธีนี้ดูนะเจ้...พอดีเมื่อเช้าเกษตรอำเภอมาเยี่ยมที่ สนง. ท่านบอกว่าให้เอาเข่งคลุม สงสัยตอนเด็กมันจะไม่ชอบแสง ลองดูนะค๊ะ...ถ้าให้ชัวสงสัยต้องถามอ.บุญลืออีกสักครั้ง เพื่อขอคำอธิบาย
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
สร
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:18
Permalink
เล่าเรื่องตามล่าจิกนา
เมื่อวานไปงานศพ บ้านที่ไปเป็นเกาะ สภาพเดิมเป็นทุ่งนาล้อมรอบ มีเหมืองน้ำ(คลองขนาดเล็ก)อยู่ติดทางเข้าบ้าน ซึ่งอยู่ลึกเข้าไป สายน้ำเลียบไปจนสุดสวนหลังบ้าน ริมเหมือง มีต้นจิกอยู่พอประมาณ สรเดินไปตามหาต้นจิก ได้มา 4 ต้น สภาพไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เนื่องจากมีงานพิธีเลยไม่กล้ารบกวนเจ้าของบ้าน ให้ช่วยชี้จุดที่มีต้นจิกอยู่ หากได้ครบ 10 ต้นเมื่อไหร่ คงมีโอกาสส่งให้ สมช.ตามวิธีนี้
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
doephuket
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:20
Permalink
ยอดขาว
ถ้ายอดขาวขอจองซักต้นนะครับ แต่ว่าถ้าเราใช้วิธีตอนแล้วเอาลงกระถางไม่รู้ว่าจะเป็นดอกในกระถางมั้ย
ว่าออออ นุ่งกางเกงขายาวสาวไม่ชอบพี่น้องเหอ คนถือจอบมาดแมนนั้นแหละแฟนฉาน นะสาวเหอ
สร
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:28
Permalink
แจ้งชื่อ สมช.จองจิก
1.ดงดม(ยังจำได้) 2.คุณโด
ยอดจะขาวหรือม่วง ขอดูตอนแตกยอดอ่อนอีกที แต่ที่ปลูกแล้วที่บ้าน ยอดขาว ได้มาจากบริเวณเดียวกัน
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
ดงดม
26 พฤศจิกายน, 2010 - 12:33
Permalink
ได้ความรู้อีกแล้ว
วันนี้ได้เรื่องการย้ายการ ส่งต้นไม้ ขอบคุณจ้า
หน้า