การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในถึ่วพู พริก มะเขือเทศ คื่นฉ่าย ผักชีจีน และผักหวานบ้าน
ตามที่ได้รับปากไว้ว่า จะเขียนบล็อคในเรื่องนี้ โดยใช้ภาษาง่ายๆ จากการทำจริงมาต่อเนื่องยาวนาน เพื่อให้ง่าย และสั้นๆ จึงเลือกมาเล่าเพียงสองพืช คือ พริก(เรียน และทำมาโดยตรงต่อเนื่อง) และถั่วพู(หนึ่งในพืช สำคัญยิ่งของสวนในอนาคต)
อนึ่ง ได้ตัดสินใจเพิ่ม พืชอีก สี่ชนิด เพราะว่า จะได้นำรูปการจัดการองค์รวม มาอธิบาย ร่วมกับ การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ได้เข้าใจง่าย และมีประโยชน์ยิ่งขึ้น คือ มะเขือเทศ( อยู่กันมาตั้งแต่เรียน และมีทุกวันนี้ เพราะเขา และคงจะอยู่กันไปจน ...) คื่นฉ่าย(พืชที่ทำรายได้มากที่สุดของสวน) ผักชีจีน( มือขวาของคื่นฉ่าย) และผักหวานบ้าน(พืชเงินพัน เงินหมื่น แต่แทบไม่มีความเสี่ยง ไม่มีต้นทุน และปลูกได้ในดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อย่างภาคอิสาณ(เช่นถั่วพู )แต่คนภาคอิสาณ ยังกิน ผักหวานบ้านไม่ค่อยเป็น ...ชอบแต่ ผักหวานป่า )
สำหรับรูป ทะยอยตามมาประกอบเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเวลาตอบคำถามนะครับ
การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ในพริกหวาน และถั่วพู
มีเป้าหมายอันดับแรกคือ ป้องกันศัตรูพืชให้คุ้มค่า และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยใช้หลักการผสมผสาน ของวิธีเขตกรรม กายภาพ ชีวภาพ และวิธีทางเคมี เพื่อปลูกพืชโดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด
หาวิธีการกดดันไม่ให้ศัตรูพืชทำความเสียหายระดับเศรษฐกิจ เป็นการจัดการศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้การควบคุม ไม่ใช่การทำลายล้าง คือ เป้าหมาย การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน นั้นเรียบง่าย ปฎิบัติได้ และสำคัญที่สุดคือ เป็นวิธีที่ปรับใช้ได้ไม่ตายตัวในการจัดการศัตรูพืช
การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ในพริก และถั่วพู มีเทคนิค ดังนี้
- การจับตา และสุ่มตัวอย่าง
- การตรวจพืชรายต้น (ยังใช้อยู่)
- การใช้กับดักกาวเหนียว(ไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน)
- การสุ่มนับแมลงทุก ๗วัน(ไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน)
- การจำแนกชนิดของแมลงและช่วงชีวิต (ยังใช้อยู่)
- การเก็บข้อมูลเพื่อดูทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (ยังใช้อยู่)
- การป้องกันศัตรูพืชไม่ให้เข้าสู่บริเวณปลูกพืช
- การป้องกันเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไฟ โดยการปลูกพืชบังลม หรือวัสดุบังลมตามทิศทางที่ลมพัดผ่าน (ยังใช้อยู่)
- วิธีเขตกรรม
- การปรับปรุงดิน (เน้นหนักเป็นพิเศษ)
- การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม (เน้นหนักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ ปุ๋ยหมักตื่นตัว)
- การรักษาความสะอาดแปลงปลูก (เน้นหนักเป็นพิเศษ แต่ทำได้ค่อนข้างยากในหน้าฝน)
- การฉีดน้ำฝอยแรง(เน้นหนักเป็นพิเศษ)
- การป้องกันศัตรูพืชโดยชีววิธี(การใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมศัตรูพืช)
- การปล่อย ด้วงเต่า แมลงช้างปีกใส แตนเบียน ควบคุมเพลี้ย และไรต่างๆ(ตามความจำเป็น)
- การปล่อย มวนพิฆาต แตนเบียน การใช้เชื้อแบคทีเรีย และไส้เดือยฝอย ควบคุม หนอนกระทู้ต่างๆ(ตามความจำเป็น)
- การใช้ไตรโคเดอร์มา ไมโครไรซ่า และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (เป็นครั้งคราว ร่วมกับปุ๋ยหมักตื่นตัว)
- การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค (เน้นหนักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะต้านทานโรคไวรัส และแอนแทรคโนสในพริก)
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะเรามองไม่เห็นโรคพืช
- การใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ฤดูกาล และปุ๋ย วิธีปลูกที่ใช้ (เน้นหนักเป็นพิเศษ)
- การใช้สารเคมี
- แม้เราจะไม่ได้ใช้สารฯใดๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่า เวลา ซื้อเมล็ดพันธุ์ พันธุ์ดีมา จะเป็นแตงค้าง ผักชีจีน มะเขือเทศ และพริก จะเห็นสีแดงที่เมล็ดพันธุ์ นั้นแหละทางบริษัทคลุกสารเคมีป้องกันโรคพืชที่เมล็ดพันธุ์ มาแล้ว
การรู้จักแมลง โรค วงจรชีวิตและพฤติกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธืภาพ การรู้จักจุดอ่อนของแมลงทำให้ผู้ปลูก พวกเราเอาชนะ ควบคุมแมลงได้ไม่ยากเย็นนัก
แมลงศัตรูหลักในพริก มีดังนี้
หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera)
หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura)
เพลี้ยไฟ (Thrips tabasi)
เพลี้ยอ่อนฝ้าย(Aphis gossypii)
ลืม แมลงศัตรูหลัก ที่สำคัญ ไปหนึ่งชนิด คือ ไรขาวพริก(Polyphagotarsonemus latus) ที่พวกเรามองข้ามไป และส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก ทั้งๆที่ เขาเข้าทำลายรวดเร็วมากก่อนเพลี้ยอ่อนอีก อาการใบเปลี่ยนรูป เรียวยาว และมีสีน้ำตาลแดง ถ้าสังเกต ดีๆ ซึ่ง เพลี้ยอ่อน หรือ เพลี้ยอื่นๆ เข้าทำลาย จะไม่เหมือน ไรขาว
ส่วน ถั่วพู มีแมลงศัตรูหลัก คือ เพลี้ยอ่อนฝ้าย ตัวเดียว
**********************************
จบตอนแรก มีเวลาตอนดึก ในวันหยุด ค่อยเพิ่มเติมรูปภาพ และต่อด้วย แมลงศัตรู และวงจรชีวิต
- บล็อกของ 2s
- อ่าน 23528 ครั้ง
ความเห็น
chai
3 ธันวาคม, 2010 - 14:49
Permalink
ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากนะครับ ช่วงนี้ราคาผักเป็นอย่างไงบ้างครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
2s
3 ธันวาคม, 2010 - 15:11
Permalink
ราคาผักถูกลงมามากต่อเนื่องกว่าสองอาทิตย์แล้วครับ
ที่ขาดหายรายงานราคาผักปลอดภัย เนื่องจากเกษตรกรผู้นำ ติดเกี่ยวข้าว เพิ่งจะเสร็จ (และงานประจำปี งานงิ้ว ก็ใช้สถานที่ที่ว่าการอำเภอไป เกือบ สามอาทิตย์) อาทิตย์หน้าคงเริ่มรายงานได้ตามปกติ (คาดหมาย) แต่โดยสรุป ราคาลงมากๆ ทุกๆชนิด เช่น คื่นฉ่าย จาก 60-80บาท เหลือ 25-30บาท ถั่วพู จาก 80บาท เหลือ 30-50บาท ต่อ กก. ครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ยายอิ๊ด
3 ธันวาคม, 2010 - 15:51
Permalink
ความรู้ล้วนๆ
หากมีภาพประกอบ เจ๋งเลยค่ะ สำหรับคนไม่ค่อยรู้ค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
james
3 ธันวาคม, 2010 - 17:15
Permalink
2S
ขอบคุณครับ ที่แบ่งปัน แชร์ประสบการณ์กัน
ป้าเล็ก..อุบล
3 ธันวาคม, 2010 - 18:34
Permalink
2s
ขอรูป
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
2s
3 ธันวาคม, 2010 - 20:04
Permalink
รูปต้องใจเย็นๆหน่อยครับ ช่วงนี้งานมากจริงๆครับ
ทั้งข้าว ทั้งฟางข้าว รวบรวมประจำทุกปี เพื่อเป็นวัสดุหลักทำปุ๋ยหมัก ยังมีผักกาดหอม(ผักสลัด) ให้ออกช่วงปีใหม่ ตามที่รับปากลูกค้าประจำไว้ ยังมะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก ที่ช่วงนี้กำลังติดลูก แต่อากาศเปลี่ยนไปมามาก ไม่รวม ถั่วพู ส่งวันละ ประมาณ 80-150กำ ยังเกิดอยากทดลอง แคนตาลูป หน้าหนาว และไหล่ ต้นคอด้านซ้ายอักเสบ การทำงานไม่ค่อยสะดวกนะครับ เหนื่อยมากๆ ก็ไม่อยากถ่ายรูป พริก ถ้าถ่ายรูปช่วงบ่าย ใบจะไม่สวย ต้องช่วงเช้า ส่วนแมลงศัตรู เช่น เพลี้ยอ่อน ไรขาว เพลี้ยแป้ง ระยะนี้ ถูกควบคุมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แมลงมีประโยชน์ แมลงดีๆมีมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ เข้าดักแด้ ส่วนที่พบ ก็อยู่ในระยะตัวอ่อนวัยที่ 1 ซะมาก ถ่ายรูป แมคโคร ก็ไม่ค่อยชัด
แถม งานอดิเรกอีก เว็บฯ รายงานตำแหน่งเรือ ก็มากขึ้น และเมื่อต้องทำงานอื่นๆ ก็ลืมกล้องทุกที เป็นอย่างนี้ประจำช่วง ที่จะออกแบบ ปุ๋ยหมักตื่นตัว ในแต่ละปี จึงขออภัยในความล่าช้าล่วงหน้า เรื่องรูป หรืออะไรที่เกี่ยวข้อง และพรุ่งนี้ ก็ต้องออกแบบ แปลง และการปรับปรุงดิน ให้ คะน้ายอด และฮ่องเต้ สำหรับรุ่น สงกรานต์ ปีหน้า เกือบ 24แปลง คงจะไม่ได้ทำงานอื่น ใน ๑-๒วัน นี้ครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
เจ้โส
3 ธันวาคม, 2010 - 18:57
Permalink
2 เอส
ขอบคุณนะคะ ที่นำสิ่งดี ๆ มาฝาก
garden_art1139@hotmail.com
Tui
4 ธันวาคม, 2010 - 10:40
Permalink
ขอบคุณครับ ได้รับ
ขอบคุณครับ ได้รับ ความรู้มาเลย ผมปลูก เอไว้ทานเล็กๆ ก็ยิ่งนำไปใช้ ง่ายเลย จะคอยอ่านตอนต่อไป ครับ พริก ผมไม่ค่อย มีปัญหา ถั่วพู ก็ เพิ่งงอก จะได้คอยระวังไว้ครับ
2s
4 ธันวาคม, 2010 - 16:10
Permalink
ขอบคุณกำลังใจต่อเนื่อง การผลิตผักปลอดภัย
ขอบคุณมาก ทุกๆกำลังใจ และแม้จะเหน็ดเหนื่อยมากๆ แต่หวังว่า จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อย และผู้ที่สนใจ ได้เข้าใจ มีความอดทนกล้าที่จะทำการผลิตผักปลอดภัย หลีกเลี่ยง ลด ละเลิก การใช้สารเคมี เพื่อ ครอบครัว ชุมชน สิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืน ให้แก่พวกเรา และรุ่นต่อๆไป
ในฐานะตัวแทน เกษตรกรรายย่อย ระดับหมู่บ้านของ อ.บ้านไผ่ จะพยายามเต็มที่ จะทำโครงการผลิตผักปลอดภัย ให้สามารถยืนหยัด พัฒนา ขยายกำลังการผลิต และบรรลุเป้าหมายฯ แม้ว่า มีโอกาสค่อนข้างน้อย เพราะมีปัญหา และอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะ แตกต่างกันหลายๆด้าน แต่เชื่อใน ความเพียร ความอดทน ความตั้งใจ และการเผชิญหน้าต่อสู้กับปัญหา และอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ
2S เชื่อว่า ยังสามารถให้ ชาวบ้านสวนพอเพียง ได้ปลูกผัก กินผักปลอดภัยได้ด้วยตนเอง มีความสุข และพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ไปพร้อมๆกับ เกษตรกรรายย่อย ในการผลิตผักปลอดภัย ให้ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ และปลอดภัยต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมครับ
รูปภาพ ทยอย อัปโลด ตั้งแต่คืนพรุ่งนี้ เพราะติดงานสำคัญรีบเร่งที่สวนหลายๆอย่าง และวันหยุดสำคัญ ทีมงานก็ต้อง ร่วมกิจกรรมของชุมชนในการถวายความจงรักภักดี ต่อ พระองค์ท่าน
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
สายพิน
4 ธันวาคม, 2010 - 16:49
Permalink
ศัตรูพืช
คุณ 2s จากหัวเรื่องที่เขียนไว้นี้เป็นประโยชน์อย่างมาก จากการที่เป็นพืชที่รู้จักอย่างดี และค่อนข้างจะมีบทบาทมากในการทำครัวทุกวันนี้ สิ่งสำคัญที่กล่าวถึงคือศัตรูพืชที่กล่าวถึง รวมตลอดไปจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์การให้ได้พืชผักไร้สารและชาวบ้านสวนฯสามารถทำได้อย่างมีความสุข ปลูกผักกินเองอย่างปลอดภัย มีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ปลอดภัยต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม ...เรียนว่าขอชื่นชมกับความตั้งใจนี้ อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน แต่เป็นการเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงได้ด้วยความพากเพียร และการที่ สมช.บ้านสวนฯเข้ามามีส่วนร่วม บนพื้นฐาน ความรู้และประสบการณ์ที่คุณ 2s มีความตั้งใจถ่ายทอดให้
อย่างไรก็ตาม เช่นกันคะ เรื่องสุขภาพ สำคัญมากด้วย ไม่แปลกใจว่าทำไมคุณ 2s ลงท้ายบล็อกว่าให้รักษาสุขภาพด้วย จะอนุญาตไหมคะ เรียนว่าอาจลองใช้น้ำมันมะพร้าวถูลงบนกล้ามเนื้อที่อักเสบนั้นบ่อยๆ แต่อย่าถูแรงนัก อาจจะพอบรรเทาอาการอักเสบที่ว่าได้บ้าง ส่วนนี้ก็ความรู้เล็กๆน้อยๆที่แอบๆจำมาน่ะค่ะ ขอเรียนอีกเล็กน้อยน่ะค่ะ หากว่าเป็นน้อยๆแล้วได้รับการดูแลเร็วน่าจะช่วยให้หายเร็วน่ะค่ะ แต่หากว่าปล่อยให้นานวัน ท่านผู้รู้บอกว่าหินปูนจะมาพอกบริเวณที่มีการอักเสบเกิดเป็นพังผืดและจะหายช้าไปด้วย ...หากไม่ใช้น้ำมันมะพร้าวมีการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ดีค่ะ อย่าให้บริเวณที่ปวดอักเสบกระทบความเย็นมากไปจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งอักเสบมากขึ้น ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดจะไปยังบริเวณอวัยวะที่ศีรษะและสมองได้ไม่เท่าที่ควร ต้องขออภัยที่นำความรู้มาแบ่งปันโดยคุณ 2s ยังไม่ทันได้อนุญาต คือเห็นความตั้งใจในการทำงานตรงนี้ของคุณ 2sแล้วคิดว่าควรที่จะได้ช่วยกันคนละเล็กละน้อยเพื่อบุคลากรผู้มีค่ามีสุขภาพดีพร้อมในการสร้างประเทศต่อค่ะ ...ผิดถูกอย่างไรก็ต้องขออภัยอีกครั้งนะคะ
หน้า