แป๊ะตำปึงหรือจินเจียเหมาเยี่ย
หาข้อมูลต้นแป๊ะตำปึงในเน็ต ไปเจอนี่ค่ะ...เป็นข้อคิดเห็นของคุณมะลิ
แป๊ะตำปึงกับจินเจียเหมาเยี่ยเป็นสมุนไพรคนละต้นกัน วิธีสังเกตุง่ายๆคือ แป๊ะตำปึงจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 4 เดือน ดอกสีเหลืองมีกลิ่นฉุน แต่จินเจียเหมาเยี่ยจะไม่ออกดอก ปลูกนานแค่ไหนก็ไม่ออกดอก อีกข้อหนึ่งคือลักษณะใบแตกต่างกัน ใบของแป๊ะตำปึงจะมีขนใบปกคลุมหนาแน่นจับดูจะนุ่ม ส่วนใบของจินเจียเหมาเยี่ยจับดูจะรู้สึกแข็งกรอบ ใบของจินเจียเหมาเยี่ยมีสารที่เรียกว่าไซยาไนด์ เป็นสารอันตราย หากรับประทานมากจะเกิดการสะสม เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ต้องทานให้ถูกต้น
จากเว็บ http://raikuwong.is.in.th/?md=news&ma=show&id=9
ถ้าเป็นจริงอย่างที่คุณมะลิว่า ที่ปลูกไว้ที่บ้านคือจินเจียเหมาเยี่ย ไม่ใช่ แป๊ะตำปึง ละซิ เพราะปลูกมานานไม่เคยออกดอกเลย อุ๊ย...กินเยอะไม่ได้ มีไซยาไนด์ใครมีข้อมูลที่ชัดเจน ช่วยยืนยันหน่อยนะค๊ะ
- บล็อกของ สร
- อ่าน 16758 ครั้ง
ความเห็น
ยายอิ๊ด
18 ธันวาคม, 2010 - 20:11
Permalink
น่าสนใจนะเนี่ย
พออ่านสรรพคุณ อยากปลูกขึ้นมาทันใด ต้องหา ๆ ขอบคุณค่ะสร
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
สร
18 ธันวาคม, 2010 - 20:33
Permalink
ยายอี๊ด
ไปคอนหล่าววันไหน สรจะเอาไปให้ ต้นส้มเม่ากัน แต่ต้องหาข้อสรุปให้แน่ก่อน ว่าที่มีอยู่...คือต้นไอ้ไหรกันแน่ ระหว่าง 2 อย่างนี้
น้องน้อยอยู่ไหนมาช่วยกันหน่อย
ต้นที่มีอยู่ที่บ้าน...ไม่เคยออกดอก(เพื่อความแน่ใจจะถามแม่อีกครั้ง)
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
ยายอิ๊ด
18 ธันวาคม, 2010 - 20:54
Permalink
สร ขอบคุณมากเลย
นึกถึงตอนเด็กจัง นิ ลูกเม้า ลุกยับเหยี่ยว ลูกขี้แหรด หายากจังแล้ว แรกกอน นั้นแหละ ผลไม้ ยายอิ๊ด พร้อมด้วย ซัดลูกท้อน ลักของเพื่อน 5555
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
chai
18 ธันวาคม, 2010 - 20:16
Permalink
สร
ขอบคุณมากนะครับ สำหรับข้อมูล
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
ดวงหทัย
18 ธันวาคม, 2010 - 20:18
Permalink
อยากเห็นค่ะพี่สร
ว่าใบต่างกันยังไง เพราะดวงว่าถ้าเป็นแบบนี้คงมีคนเข้าใจผิดกันเยอะ ดวงก็เคยกินแป๊ะตำปึง(ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมันคือจินเจียเหมาเยี่ย ที่มีไซยาไนต์หรือเปล่า) :crying2:
ทำไงจะรู้ :confused:
สร
18 ธันวาคม, 2010 - 20:49
Permalink
น้องดวง
ภาพมาแล้วจ๊ะ
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
ดวงหทัย
18 ธันวาคม, 2010 - 20:54
Permalink
จินเจียเหมาเยี่ย
ภาพจากhttp://suanlaksana.spaces.live.com/blog/cns!8F0E487113F34BE1!175.entry
คล้ายกันมาก แยกไม่ออก :confused:
เจ้โส
18 ธันวาคม, 2010 - 20:23
Permalink
สรุปว่า....
สรุปว่ากินมั่ว ๆ ไม่ได้เลย
garden_art1139@hotmail.com
สร
18 ธันวาคม, 2010 - 20:27
Permalink
ต้นยาจิเจียเหมายี่
โรคที่ใบยาจินเจียเหมายี่ได้รักษาหายมาแล้วได้แก่ โรคกระเพาะห อบหืด ภูมิแพ้ งูสวัด แผลสะเก็ดเงิน ขับนิ่ว ริดสีดวงทวาร โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคคลอเรตสเตอรอสสูง โรคเก๊า โรคเกี่ยวกับเลือดทุกชนิด บำรุงผิวพรรณ
วิธีรับประทาน
รับประทานใบสด รับประทานวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 2-5 ใบ ควรรับประทานในตอนเช้า ช่วงเวลาตี 5 - 7 โมงเช้า ส่วนโรคกระเพาะให้รับประทานในช่วงที่ปวดอาการจะหายไป หลังจากนั้นรับประทาน 1-2 สัปดาห์ เมื่อหายจากอาการต่างๆสามารถรับประทานใบยาจินเจียเหมายี่ ช่วยบำรุงสุขภาพ
นอกจากรับประทานสดแล้ว ยังมาทำเป็นอาหารสุขภาพได้เช่นนำมาทำแกงจืด หรือนำใบแก่มาปั่นบีบน้ำยาใส่ขวดใส่ตู้เย็นใช้ทาแผลงูสวัด สะเก็ดเงิน ใบนำมาตำพอกบาดแผลหรือพอกหัวริดดวงทวาร
อาหารแสลงที่ควรระวัง หน่อไม้ สาเก หูฉลาม สุรา
ต้นยาจินเจียเหมายี่ ประมาณ 1ปีกว่าจะตาย เมื่อต้นโตเต็มที่จะออกดอกสีเหลืองไม่มีฝักหรือเมล้ด ขยายพันโดยการปักชำ ต้นชอบน้ำ ต้องการแสงแดดพอสมควรชอบดิร่วน
อีกข้อมูล คัดจากเว็บ http://gotoknow.org/blog/kitikantkpp/159797
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
สร
18 ธันวาคม, 2010 - 20:42
Permalink
หลายคนสับสน เข้าใจผิดว่า
หลายคนสับสน เข้าใจผิดว่า แปะตำปึง และ กิมโกยม้อเฉ่า(จินฉี่เหมาเยี่ย) เป็นต้นเดียวกัน เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน แต่สรรพคุณไม่เหมือนกันซะทีเดียวนะคะ ดังนั้นถ้าใช้ตัวยาผิดประเภท ก็อาจจะไม่ได้ผลที่ดีนัก
การจำแนกชนิดของต้นยา
1. “แปะตำปึง” มีชื่อภาษาไทยว่า “จักรนารายณ์” ลักษณะใบกลมรีกว้าง ใบสีเขียวอ่อน ขอบใบหยักเล็กน้อย มีขนหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ ทั้งด้านบนและล่าง สรรพคุณ โดยรวมของแปะตำปึง จะเน้นเรื่องการอักเสบต่าง ๆ และโรคเกี่ยวกับเลือด แทบทุกชนิด ช่วยบำรุงสุขภาพ และผิวพรรณ
2. “จินฉี่เหมาเยี่ย” หรือ “กิมโกยม้อเฉ่า” มีชื่อภาษาไทยว่า “ขนไก่ทองคำ” ลักษณะใบยาวแหลม ใบค่อนข้างยาวกว่า แหลมกว่ามาก อย่างเห็นได้ชัด ผิวใบค่อนข้างเรียบ เพราะขนน้อยกว่าแปะตำปึง สรรพคุณโดยรวมของ ต้นจินฉี่เหมาเยี่ย คือ ช่วยรักษาโรคเลือด มะเร็งที่ลิ้น และมะเร็งในตับ (ต้นของเจ้าของกระทู้เป็นต้นนี้ค่ะ ดังนั้น จึงไม่มีสรรคุณ ในด้านการรักษา อาการอักเสบภายนอก ทั้งแผลงูสวัด สะเก็ดเงิน บาดแผล หรือ ริดดวงทวาร )
แต่อย่างไรก็ดี ในด้านการรับประทาน พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับอย่างเป็นทางการในการรับประทาน จึงควรทดลองใช้ ด้วยความระมัดระวังไว้ก่อน
คัดลอกจาก http://gotoknow.org/blog/kitikantkpp/159797
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
หน้า