ผักตามฤดูกาลในนาพรุ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                                


ชาวบ้านที่พัทลุงในเขตอำเภอเมือง ควนขนุน ส่วนใหญ่ยังทำนา เพราะพื้นที่ราบลุ่ม ชุ่มน้ำเกือบตลอดปี เมื่อรักจะทำนา ก็ต้องเรื่มศึกษาระบบนิเวศน์ของนา  ซึ่งมีนาดอน กับนาพรุ  ตามมาดูผักธรรมชาตินาพรุหน้านี้กันนะคะ ในภาพคือยอดขี้ใต้ ที่แจ้วเสนอไปแล้ว หลายท่านอยากเห็นถึงที่มา เขาอยู่ในน้ำเย็นสบายค่ะ หน้าแล้งก็ตายไปเอง  บนควนมีดาเงาะ ดาหลา ในนามีบัว มีขี้ใต้


                                                        


ผักตบตัวผู้ ถอนเอาหน่ออ่อนๆ ลวกกิน หรือกินสดได้ คล้ายๆสายบัวอ่อนๆ



บัวนา ดอกสีขาวกลิ่นหอมถอนเอาดอกและสายบัวที่ตูมๆมาแกงเลียงค่ะ



ผักกาดนา ดูซิธรรมชาติช่างสร้างสรร อันนี้เราเองก็ตื่นตาตื่ใจมาก คล้ายสาหร่ายญี่ปุ่นชิมแล้วกรุบกรอบ เขียวสด คลอโรฟิล วิตามินเอ คงไม่ต้องลังเลสงสัย



ลุงหวัด ครูของเราผู้รู้รอบ รู้ชัดเรื่องนาพรุ พาเราศึกษานิเวศน์นาพรุ และยังเชี่ยวชาญการเลี้ยงควายเล กับทำขวัญข้าวด้วย ขอคารวะค่ะ

ความเห็น

เพิ่งเคยเห็นผักกาดนา ทำอาหารได้ด้วยเหรอค่ะ:confused:

HAPPY HAPPY

ถ้าเราเอาผักพื้นบ้านทางภาคใต้มาปลูกไว้ที่นครนายกจะได้มั้ยพี่ แล้วผักเขาจะเจริญเติบโตมั้ยพี่ เพราะน้องก็อยากกินผักพื้นบ้านทางภาคใต้มั้ง...:cheer3:

อยากกินผักพื้นบ้านทางใต้  ผักนาพรุน่าจะยากค่ะ เพราะต้องอยู่ในนิเวศน์นามีโคลนตม และน้ำกร่อยด้วย ผักอื่นๆน่าจะพอย้ายมาปลูกได้

เป็นยังไงค่พี่หยอยทำขวัญข้าว? เคยได้ยินแต่ไม่เคยเห็นพิธีเลย

ทำขวัญข้าว คือพิธีกรรมของชาวนาเมื่อเก็บข้าวไว้ในยุ้งเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเอามาหุงกินต้องทำพิธีไหว้แม่โพสพ ที่ยุ้งข้าว โดยมีผู้เฒ่าที่ว่าบทบูชาได้(คล้ายๆทำขวัญนาค) พรรณนาถึงพระคุณข้าว ในพิธีนิยมทำขนมโค ขนมต้มแดง ต้มขาว เซ่นไหว้แม่โพสพ พ่อโพสพ เพื่อความเป็นมงคลที่ได้ข้าวมาเป็นอาหารในปีนี้และปีต่อๆไปค่ะ

หน้า