ก้าวแรกกับการทำคอกหมูหลุม
ช่วงวันที่5-8 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ลาพักร้อนกลับบ้านไปสร้างคอกหมูหลุมครับมาครับ หลังจากที่ได้สนใจการเลี้ยงหมูหลุมและได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูหลุมมาพอสมควร ก็ได้เวลาลงมือทำคอกหมูหลุมกันสักที
ครับ
รูปสวนหลังบ้านและคอกหมูหลุมของผมครับ ขขาดกว้าง 3x6 เมตรครับน่าจะเลี้ยงหมูหลุมได้สัก 20 ตัวครับ ฝีมือพ่อผมเองครับ
ส่วนของโครงสร้างทั้งหมดทำจากไม้สักครับ สมัยปู่ผมเขาเก็บไว้เยอะก็ได้ใช้ประโยชน์งานนี้ละครับ ยกเว้นหลังคาครับ ซื้อมา 74 แผ่น ขนาด 1.50 ม. = 20 แผ่น ,ขนาด 1.20 ม. = 50 แผ่น +ค่าแรงคนช่วยทำโครงหลังคา 2 วันก็ตกประมาณ 3,000 บาทครับ พยายามประหยัดสุดๆครับ
จากนั้นก็ทำการขุดหลุมครับลึกประมาณ 70 ซม.ครับ ลงมือขุดกับพ่อสองคนใช้เวลาขุด 1 วันเต็มครับ เล่นเอามือคนทำงานในออฟฟิตอย่างผมบวมพองเลยครับ ปวมเมื่อยไปทั้งตัวตอนเช้าตื่นแทบไม่ไหวครับ
หลังจากขุดหลุมเสร็จเช้าวันต่อมาก็เริ่มด้วยการคลุกเคล้าจุลินทรีย์ขาวจากไผ่บางที่เตรียมทำไว้ก่อนหน้านี้ผสมกับขี้วัวและรำอ่อนรดน้ำพอชุ่มคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่วปิดทับด้วยกระสอบฟางทับด้วยขอนไม้ป้องกันฝูงไก่ที่พ่อเลี้ยงไว้มาทำลาย
วันสุดท้ายของการลาพักร้อนก็เป็นการรองวัสดุในหลุมด้วยเศบใบไม้ต่างๆ เช่นใบไม้ที่ร่วงจากต้นไผ่หลังบ้าน ฟางที่พ่อมัดมาจากกลางทุ่งนา แกลบจากโรงสีข้าวข้างบ้าน เชื้อราจุลินทรีย์ขาวที่หมักเตรียมไว้ ลงจนเต็มพื้นคอก
รูปคอกหมูก่อนจากครับเนื่องจากวันนี้ต้องกลับไปทำงานที่ กทม.แล้ว ซึ่งสภาพคอกหมูตอนนี้ก็เสร็จเกือบ 90 เปอร์เซนต์ เหลือเพียงทำประตูทางเข้า และรางอาหาร รางนำดื่ม และเก็บรายละเอียดเล็กน้อย ๆ ครับ ใจจริงก็อยากอยู่ช่วยพ่อทำจนแล้วเสร็จครับแต่ยังไงก็คงต้องกลับไปทำงานประจำก่อนครับ ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพ่อผมเป็นอย่างมากที่ทุ่ม เท แรงกาย แรงใจช่วยผมทำคอกหมูหลุมคอกแรกในชีวิตจนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ และขอขอบคุณข้อมูลทางวิชาการดีๆจากท่านผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ผมต้องขอเรียนว่าการที่เราศึกษาข้อมูลทางวิชาการกับการที่เรามาลงมือทำจริงนี้เราอาจไม่สามารถทำตามกระบวนการขั้นตอนให้ถูกต้องทุกขั้นตอนได้ครับขั้นตอนไหนที่ยุ่งยากที่จะทำงานให้เราไม่สำเร็จเราคงต้องจำเป็นที่จะต้องตัดมันออกไปบ้างครับ ไม่ควรยึดติดกับหลักวิชาการเกินำไปครับ (เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผมครับ) จากนีร้ก็คงเหลือนัดวัน เวลาที่จะนำลูกหมูลงคอกครับ ไว้จะได้นำรูปมาลงให้เพื่อนๆสมาชิกได้ดูกันอีกครับ......
- บล็อกของ kitipong
- อ่าน 50822 ครั้ง
ความเห็น
udomsak
12 มกราคม, 2010 - 21:26
Permalink
ถ้าเป็นการเลี้ยงหมูหลุมน่าจะเป็นแบบที่สอง
เพราะการเลี้ยงหมูหลุม เน้นที่การเลี้ยงแบบประหยัดต้นทุน และผลพลอยได้เป็นปุ๋ยคอก แต่คุณภาพซากหมูขุนอาจจะไม่สู้หมูขุนทั่วไป อาหารอาจจะไม่เต็มที่แบบหมูขุน แต่จะได้เปรียบตรงความปลอดภัยและราคาถูกกว่า ปกติการเลี้ยงหมูก็ต้องหาพ่อค้าอยู่แล้วครับ แต่อย่างที่บอกครับ พ่อค้าก็จับไปส่งเขียง ถ้าหมูขุนคุณภาพซากดี เขาก็ได้กำไรก็กล้าซื้อราคาสูง ปกติการซื้อขายก็ชั่งเป็น กก.นี่ครับ แต่เห็นบางทีพ่อค้าจะซื้อแบบเหมายกเล้า ตีน้ำหนักให้ต่ำเข้าไว้ เช่นเขาดูแล้วหมู100กกแน่นอน ก็จะบอกว่าหมูประมาณตัวละ85 กก.10ตัวเอา 900 โลแล้วกัน ถ้าตกลงเพราะขี้เกียจชั่ง เขาก็ได้ไปแล้ว 100กก.เป็นวิธีการซื้อของพ่อค้าครับ ตำราว่า ไปศึกไปฆ่า ไปค้าไปตั๋ว(โกหก) นี่ครับ ตามความเห็นผมแล้วไม่แนะนำให้รับจ้างเลี้ยงครับ เลี้ยงเองตามกำลังทุน จัดการตามกำลังของเราจะเป็นการพัฒนารูปแบบไปด้วยครับ ทีมงานเครือข่ายหมูยโส เราพัฒนารูปแบบการเลี้ยง ทั้งพันธุ์หมูและรูปแบบการเลี้ยงจนพ่อค้าและเขียงติดต่อเข้ามาหาสินค้าหมูขุนเองครับ ต่อไปเราจะกำหนดราคาขายในกลุ่มด้วย
kitipong
12 มกราคม, 2010 - 15:52
Permalink
ปรึกษาเรื่องหมุๆต่อ
ตามความคิดเห็นและประสบการ์ณ์ของพี่หมอ(ขอเรียกพี่หมอแล้วกันครับ) ช่วยกรุณาแนะนำให้ผมหน่อยครับว่าเราควรจะทำการเลี้ยงแบบไหนดีระหว่าง
การเลี้ยงแบบที่ 1 มีข้อดีที่มีการตลาดที่แน่นอน,สามารถขายเป็นกิโลกรัมตามน้ำหนักของตัวหมู แต่มีข้อเสียเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงทั้งเรื่องของต้นทุนพันธุ์, ค่าอาหาร ,ค่าขนส่ง และคิดว่าเหมือนเราต้องใช้ของของเขาทุกอย่างเหมือนเขาได้กำไรเต็มเหมือนธุรกิจในรูปของ CP
การเลี้ยงแบบที่2.มีข้อดีคือต้นทุนต่ำไม่ได้อยู่ในรูปแบบของทุนที่เป็นธุรกิจของใครเป็นกิจการของตัวเอง แต่มีข้อเสียคือเป็นการเลี้ยงแบบไม่มีตลาดที่แน่นอนต้องหาตลาดเองต้องขายให้กับพ่อค้าเขียงหมูที่ชอบกดราคาไม่ได้ชั่งเป็นกิโลกรัมตามน้ำหนักของหมู หมูที่เลี้ยงไม่มีสายพันธุ์ที่แน่ชัด(เป็นหมูของชาวบ้านทั่วไป)
ด้วยความเคารพครับ
สวัสดีครับ จำป้อจายคนนี้ได้ก่
udomsak
13 มกราคม, 2010 - 05:48
Permalink
ผมว่าแล้ว reply ผิดตำแหน่งนี่เอง
เพราะการเลี้ยงหมูหลุม เน้นที่การเลี้ยงแบบประหยัดต้นทุน และผลพลอยได้เป็นปุ๋ยคอก แต่คุณภาพซากหมูขุนอาจจะไม่สู้หมูขุนทั่วไป อาหารอาจจะไม่เต็มที่แบบหมูขุน แต่จะได้เปรียบตรงความปลอดภัยและราคาถูกกว่า ปกติการเลี้ยงหมูก็ต้องหาพ่อค้าอยู่แล้วครับ แต่อย่างที่บอกครับ พ่อค้าก็จับไปส่งเขียง ถ้าหมูขุนคุณภาพซากดี เขาก็ได้กำไรก็กล้าซื้อราคาสูง ปกติการซื้อขายก็ชั่งเป็น กก.นี่ครับ แต่เห็นบางทีพ่อค้าจะซื้อแบบเหมายกเล้า ตีน้ำหนักให้ต่ำเข้าไว้ เช่นเขาดูแล้วหมู100กกแน่นอน ก็จะบอกว่าหมูประมาณตัวละ85 กก.10ตัวเอา 900 โลแล้วกัน ถ้าตกลงเพราะขี้เกียจชั่ง เขาก็ได้ไปแล้ว 100กก.เป็นวิธีการซื้อของพ่อค้าครับ ตำราว่า ไปศึกไปฆ่า ไปค้าไปตั๋ว(โกหก) นี่ครับ ตามความเห็นผมแล้วไม่แนะนำให้รับจ้างเลี้ยงครับ เลี้ยงเองตามกำลังทุน จัดการตามกำลังของเราจะเป็นการพัฒนารูปแบบไปด้วยครับ ทีมงานเครือข่ายหมูยโส เราพัฒนารูปแบบการเลี้ยง ทั้งพันธุ์หมูและรูปแบบการเลี้ยงจนพ่อค้าและเขียงติดต่อเข้ามาหาสินค้าหมูขุนเองครับ ต่อไปเราจะกำหนดราคาขายในกลุ่มด้วย
kitipong
13 มกราคม, 2010 - 08:26
Permalink
ขอบคุณครับ
ขอบคุณพี่หมอมากๆครับที่ให้คำแนะนำปรึกษา
สวัสดีครับ จำป้อจายคนนี้ได้ก่
kitipong
13 มกราคม, 2010 - 11:21
Permalink
มีคำถาม
เรียนถามพี่หมอ เรื่อง
หากเราต้องการจะขนย้ายสุกรหรือสัตว์อื่นๆข้ามจังหวัดตามหลักการนี่ต้องมีใบผ่านอะไรบ้าง ปกติเวลาผมขับรถไปต่างจังหวัดก็ไม่มีด่านที่ตั้งด่านตรวจเกี่ยวกับสัตว์โดยเฉพาะ จึงสงสัยว่าแล้วปกติเขาตั้งด่านกันตรงไหนอย่างไรครับแล้วจู่ๆเกิดเราไม่มีใบผ่านด่านอะไรเลยแล้วเราขนย้านสัตว์เพียง 5-10 ตัว ข้ามจังหวัดโยที่ไม่ใช่ช่วงมีโรคระบาดอะไรรุนแรงนี่จะสามารถกระทำได้หรือไม่ครับ
สวัสดีครับ จำป้อจายคนนี้ได้ก่
udomsak
13 มกราคม, 2010 - 20:09
Permalink
เรื่องระเบียบการขนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์
ปกติถ้าขนส่งระหว่าจังหวัดหรือข้ามจังหวัดใกล้เคียงกัน ก็ยังไม่เข้มงวด ตรวจกันเท่าไรครับ แต่ถ้าเป็นการขนส่งเพื่อการค้า หรือจำนวนมากๆ และข้ามเขตระหว่างภาค เช่น ลงภาคใต้จะเข้มงวดมากครับ
การดำเนินการคร่าวก็ต้องขอใบรับรองจากต้นทาง(ปศุสัตว์อำเภอ)แจ้งจำนวนสัตว์ที่จะขนส่ง ประวัติการเลี้ยง ประวัติวัคซีน และหมายเลขรถพาหนะที่จะขนส่ง ใช้เส้นทางใดบ้าง พอมาถึงปลายทางก็เอาใบนั้นไปแจ้งปศุสัตว์อำเภอปลายทาง ก็เป็นอันเสร็จ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เช่นผมไปรับหมูจากปากช่อง ก็ขอใบเคลื่อนย้ายจาก ปศุสัตว์อำเภอปากช่องครับ บางทีก็ลักไก่ หมูไม่เยอะ ก็ขนมาเลยครับ พอตำรวจขอตรวจใบเคลื่อนย้ายก็บอกแหล่งที่รับมาจากส่วนราชการ เขาก็ให้ผ่านครับ แต่ถ้าจากฟาร์มเอกชน และเจอด่านกักสัตว์ของกรม อาจต้องยุ่งยาก โดนกักสัตว์ ถ้ายังไงก็ขอไว้ก่อนก็ดีครับ
kitipong
13 มกราคม, 2010 - 22:00
Permalink
ขอบคุณอีกครั้งครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
สวัสดีครับ จำป้อจายคนนี้ได้ก่
kitipong
17 มกราคม, 2010 - 13:59
Permalink
ได้ลูกหมู
วันนี้ตื่นเต้น+ดีใจครับที่ได้ลุกหมูมาลงคอกสักที่ เป็นหมูของชาวบ้านในตำบลเดียวกัน จำนวน 11 ตัว ตัวละ 950 บาทจำนวน 10 ตัว อีกตัวตัวเป็นตัวที่คลอดก่อนตัวเล็กสุด 500 บาท รวมค่าขนส่งแล้วเบ็ดเสร็จโอนเงินให้พ่อไป 15,000 เผื่อค่าอาหารให้ด้วย ตอนนี้ก็ลงทุนไปแล้ว 20,000 บาทรวมค่าสร้างคอกหมูหลุมเมื่อต้นปี ต่อไปก็ยังไม่รู้จะเป็นยังไงครับ หมูโตแล้วจับขายได้จะคุ้มทุนไหม (คิดว่าคงไม่คุ้มในตอนแรกซะทีเดียว) แต่คราวหน้ารุ่นต่อไปคงไม่ได้ลงทุนเรื่องคอกหมูหลุมอีก นอกจากจะขยายการเลี้ยงเพิ่ม(หากมีแนวโน้มที่ดี) ส่วนลุกหมูคงได้ซื้ออีก 2-3 รุ่น รอจนกว่าหมูที่ซื้อมารุ่นแรกจะสามารถเป็นแม่พันธุ์ได้และพร้อมผสมพันธุ์นั่นแหละจึงจะลดต้นทุนค่าซื้อลูกหมูลงไปได้ครับ คงต้องรอดูกันยาวๆประมาณ 1 ปีคงรู้กันได้กำไรหรือขาดทุนยังไง จะดำเนินการเลี้ยงต่อหรือต้องหยุดเพื่อปรับปรุงหรือต้องหยุดถาวร สาธุหวังว่าคงเป็นไปตามที่จิตใจมุ่งหวังปราถนานะครับ เพราะนี่เป็นก้าวแรกของผมที่ตั้งใจว่าจะนำทางสู่อาชีพเกตรกรรมอื่นๆ เหมือนเมื่อตอนที่เริ่มสมัครเป็นสมาชิกบ้านสวนพอเพียงครั้งแรกและตั้งชื่อบล็อกเรื่อง เลี้ยงหมูหลุมเพื่อปูทางสู่อาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ
สวัสดีครับ จำป้อจายคนนี้ได้ก่
sothorn
17 มกราคม, 2010 - 19:59
Permalink
ยินดีด้วยครับ
ยินดีด้วยครับน้อง ฝันใกล้เป็นจริง
การได้ลงมือทำก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง
ป้าเล็ก..อุบล
17 มกราคม, 2010 - 14:22
Permalink
ดีใจด้วย
ทีนี้ก็ได้เลี้ยงหมูหลุมแล้ว ดีใจด้วยนะ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
หน้า