เพลี้ยแป้งลงสวนมันสำปะหลัง รบกวนผู้รู้ช่วยให้คำแนะนำวิธีกำจัดด้วยนะคะ
atchara_suwannee
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:02
Permalink
ตอนนี้ปลูกมันสำปะหลังไว้ที่ไร่ เนื้อที่ประมาณสองไร่กว่า ๆ อายุประมาณ 7 เดือน เกิดปัญหาเพลี้ยแป้งลง แต่ยังไม่มาก เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรกเลยยังไม่ค่อยมีประสบการณ์เท่าไหร่ รบกวนผู้รู้ช่วยด้วยนะคะ
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:03
พัฒน์..ลูกธรรมดา
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:21
วิธีกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสมุนไพรครับ
ไปที่ http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=511&s=tblplant
และ
จาก ดร.โอภาษ บุญเส็ง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
สถาบันวิจัยพืชไร่
เชื้อราบิวเวอเรีย
ค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดดและอุณหภูมิที่สูง ต้องพ่นให้ถูกตัวเพื่อสปอร์ของเชื้อราจะได้สัมผัสกับตัวแมลงเพื่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น เชื้อราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง ดังนั้น ควรพ่นเชื้อราในช่วงเย็นถึงค่ำในขณะที่สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง สภาพอากาศแห้งแล้งมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อราบิวเวอเรียลดลง โดย ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราจะหยุดการเจริญเติบโต (2) ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรียที่ขายกันตามท้องตลาด ควรอ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามวิธีการใช้ที่ระบุในฉลากอย่างเคร่งครัด (3) ถ้าเป็นเชื้อราบิวเวอเรียชนิดสดที่ผลิตขึ้นใช้เอง ใช้ก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัมหรือ 2 ถุง ผสมน้ำ 20-30 ลิตร โดย นำก้อนเชื้อใส่ถุงตาข่ายเขียว ขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพด กรองเมล็ดข้าวโพดออกทิ้ง นำน้ำที่ได้ผสมกับสารจับใบ แล้วคนให้เข้ากันเพื่อใช้พ่นกำจัดเพลี้ยแป้ง และ(4) เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ดังนั้น ถ้าพบแมลงตัวห้ำและตัวเบียนของเพลี้ยแป้ง ควรงดหรือชะลอการพ่นออกไป
การใช้วิธีกลในการป้องกันและกาจัดเพลี้ยแป้ง
ควรใช้วิธีการจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้งร่วมกับการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอนและไถทิ้ง มีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง โดย ห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ออกจากแหล่งที่มีการระบาดเพลี้ยแป้ง เวลาปลูกควรคัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และไม่มีเพลี้ยแป้งติดมา ก่อนปลูกนำท่อนพันธุ์มาแช่น้ำสะอาดประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งที่ปะปนติดมากับท่อนพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำลายถุงไข่ของเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้
2. การกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอน ตัดยอด หรือไถทิ้ง โดยพิจารณาวิธีกำจัดเพลี้ยแป้งตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ดังนี้ (1) ช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 1-4 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งน้อยให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออกเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ แล้วนำส่วนดังกล่าวมาเผาทำลายทิ้ง แต่ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ถอนต้นกองรวมกันแล้วเผาทำลายทิ้ง ไถดะตากหน้าดินอย่างน้อย 1 เดือน ปลูกพืชนิดอื่นทดแทนเพื่อตัดวงจรชีพจักรของเพลี้ยแป้ง ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว (2) ช่วงระยะกลางของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 4-8 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออก แล้วนำส่วนดังกล่าวมารวมกันเผาทำลายทิ้ง
(3) ช่วงระยะปลายของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังทันที แล้วไถดะตากหน้าดินเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งและไข่ จากนั้นเตรียมการปลูกมันสำปะหลังในฤดูกาลต่อไป เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช การใช้เชื้อราบิวเวอเรียกำจัดเพลี้ยแป้ง โดย เพลี้ยแป้งจะตายภายใน 3-14 วัน การใช้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
(1) เชื้อราบิวเวอเรีย13 การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชโดยเฉพาะข้าวโพด สามารถผลิตเชื้อนี้ใช้เองได้ มีขั้นตอนดังนี้
(1) นำเมล็ดข้าวโพดที่ไม่คลุกสารเคมีหรือสารกำจัดเชื้อรา นำมาล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำประมาณ 1 คืน หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที นำมาผึ่งแดดให้หมาดน้ำ
(2) กรอกเมล็ดข้าวโพดใส่ถุงพลาสติกก้นจีบชนิดทนร้อน ประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใส่คอขวดจุกด้วยสำลีให้แน่นปิดทับด้วยอลูมิเนียมฟอยด์หรือกระดาษรัดด้วยยางวง
(3) นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน ที่อุณหภูมิ 121 องสาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง ใช้เวลานาน 2 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นอีกประมาณ 30 นาที จึงเปิดฝาหม้อออก (4) นำถุงข้าวโพดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อโรคมาวางให้อุ่นเพื่อนำไปเขี่ยเชื้อ ก่อนเขี่ยเชื้อต้องทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อ ร่างกาย มือ และแขน ด้วยแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ และเปิดแสงไวโอเล็ตหรือแสงยูวีฆ่าเชื้อโรคนาน 15 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตะเกียง เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟแช็ค แก้วบรรจุแอลกอฮอล์
(5) ปิดแสงยูวีแล้วเปิดไฟปกติ เพื่อเตรียมเขี่ยเชื้อเข้าไปในถุงเมล็ดข้าวโพด แล้วนำถุงออกจากตู้เพื่อทำการบ่มเชื้อ และ(6) การบ่มเชื้อ นำถุงข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้ ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพดใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถ้าเก็บรักษาเชื้อที่เดินเต็มแล้วในร่ม อุณหภูมิปกติเก็บได้นาน 20-30 วัน แต่ถ้าเก็บรักษาในตู้เย็นซึ่งมีอุณหภูมิราว 7-10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3 เดือน
4. การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล (biopesticides and physical control) เป็นการนำสารธรรมชาติจากพืชโดยได้มาด้วยการนำพืชมาสกัดเพื่อหาสารออกฤทธิ์ที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อย่างเช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม โล่ติ๊น ขมิ้นชัน หนอนตายหยาก พริกไทย โหระพา เป็นต้น ซึ่งสารสกัดจากพืชเหล่านี้ ไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การใช้วิธีควบคุมเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีกลอย่างมีประสิทธิภาพ
การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกลมีรายละเอียดในการปฏิบัติดังนี้ การใช้น้าหมักชีวภาพด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด. 7 ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ค้นคิดโดยกรมพัฒนาที่ดิน ด้วยการนำพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือ ยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก มาหมักกับสารเร่งเชื้อ พด. 7 ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ
(1) ยีสต์ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร (2) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดแลคติค ทำหน้าที่ป้องกันการปนเปื้ยนจากจุลินทรีย์ภายนอก ทำให้สามารถเก็บน้ำหมักชีวภาพได้นาน (3) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดอะซีติค ทำหน้าที่ผลิตกรดน้ำส้ม ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร การทำน้ำหมักชีวภาพดังกล่าวด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด.7 โดยใช้สมุนไพรสับให้ละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัมจากยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก ผสมกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม สารเร่งพด.7 จำนวน 1 ซอง ใส่น้ำ 50 ลิตร ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในร่ม ใช้เวลาหมัก 20 วัน วิธีใช้น้ำหมักชีวภาพดังกล่าว โดย ใช้พ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วันในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง 14 5. การควบคุมโดยสารเคมี (synthetic pesticide) เป็นวิธีสุดท้ายในการแนะนำให้ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลัง เนื่องจากการใช้สารเคมีจะทำให้ระบบนิเวศน์เกษตรสูญเสียความสมดุลไป โดยทำลายทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรใช้เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรง โดยที่แมลงศัตรูธรรมชาติไม่อาจควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ ควรพ่นสารเคมีเฉพาะบริเวณที่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันมิให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นอีก หรือใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ สารเคมีที่ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งได้ผลดีมีดังนี้
การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม (25%WG) หรือ อิมิดาโคลพริด (70%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน(10%WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นานประมาณ 5-10 นาที นำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งก่อนนำไปปลูก สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ และยังป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งหลังปลูกได้อีกประมาณ 1 เดือน การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ระบาดในไร่มันสาปะหลัง ควรพ่นสารเคมีให้ถูกตัวเพลี้ยแป้งที่อยู่ใต้ใบ หรือยอดที่แตกใบเป็นกระจุก ควรพ่นสารเคมีติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เนื่องจากการพ่นสารเคมีเพียงครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดไข่และตัวอ่อนที่อยู่ในถุงไข่ได้ สารเคมีที่ใช้มีดังนี้ 1. ไทอะมีโทแซม ชื่อการค้าแอคทาราหรือแอมเพล (25%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2. ไดโนทีฟูแรน ชื่อการค้าสตาร์เกิล (10%WP) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 3. โปรไทโอฟอส ชื่อการค้าโตกุไธออน (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 4. พิริมิฟอสเมทิล ชื่อการค้าแอคทาลิก (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 5. ไทอะมีโทแซม/แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ชื่อการค้าเอฟโฟเรีย (24.7%ZC) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง สามารถใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งใน 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น โดย ลดอัตราลงครึ่งหนึ่งผสมกับสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ (67%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากไม่มีสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ให้ใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งในอัตราที่กำหนด
อ่าน
วิศิษฐ์
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:12
แล้วมันลงเยอะไหมละ...เอาตามน้องพัฒน์เลยรายนั้นจบเกษตรเก่งด้วย น้องชายพี่อีกคน...แล้วหญ้าละขึ้นรกไหม
สาวน้อย
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:35
มาดูวิธีกำจัดด้วย เคยเจอเหมือนกัน..
ชีวืตที่เพียงพอ..
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:48
หญ้าก็มีพอสมควร จ้างให้เค้ามาฉีดยาให้ พี่สนิทไม่ค่อยสบายเลยไม่มีใครดูให้ คนที่เค้ามาฉีดยามาบอกว่ากำลังมีเพลี้ยแป้ง เพราะสวนน้ามวลมีก่อน
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:52
ต้องขอบคุณคุณพัฒน์มาก ๆ นะคะ ที่ช่วยแนะนำความรู้ แล้วเชื้อที่ว่านี้ต้องเพาะเองเหรอคะ ไม่มีที่เค้าขายเหรอ รบกวนตอบอีกครั้งนะคะ
ยุพิน เทลเก็น
16 พฤษภาคม, 2011 - 00:50
เข้ามาเอาใจช่วยและให้กำลังใจให้ปัญหาเพลี้ยแป้งหายเร็วๆนะคะ
แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง
ทดสอบ
16 พฤษภาคม, 2011 - 07:25
เกษตรกรสามรถผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียใช้ได้เอง โดยขอรับหัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชลบุรี นำมาต่อเชื้อลงในเมล็ดข้าวโพด โทรศัพท์.038-231-271 หรือศุนย์บริหารศัตรูพืชใกล้บ้านท่าน
สายพิน
16 พฤษภาคม, 2011 - 10:39
เอาใจช่วยด้วยค่ะ และขอเรียนรู้ด้วยคนจากบล็อกนี้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ
There are currently 0 users online.
ความเห็น
atchara_suwannee
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:02
Permalink
ตอนนี้ปลูกมันสำปะหลังไว้ที่ไร
ตอนนี้ปลูกมันสำปะหลังไว้ที่ไร่ เนื้อที่ประมาณสองไร่กว่า ๆ อายุประมาณ 7 เดือน เกิดปัญหาเพลี้ยแป้งลง แต่ยังไม่มาก เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรกเลยยังไม่ค่อยมีประสบการณ์เท่าไหร่ รบกวนผู้รู้ช่วยด้วยนะคะ
atchara_suwannee
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:03
Permalink
ตอนนี้ปลูกมันสำปะหลังไว้ที่ไร
ตอนนี้ปลูกมันสำปะหลังไว้ที่ไร่ เนื้อที่ประมาณสองไร่กว่า ๆ อายุประมาณ 7 เดือน เกิดปัญหาเพลี้ยแป้งลง แต่ยังไม่มาก เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรกเลยยังไม่ค่อยมีประสบการณ์เท่าไหร่ รบกวนผู้รู้ช่วยด้วยนะคะ
พัฒน์..ลูกธรรมดา
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:21
Permalink
เพลี้ย
วิธีกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสมุนไพรครับ
ไปที่ http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=511&s=tblplant
และ
จาก ดร.โอภาษ บุญเส็ง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
สถาบันวิจัยพืชไร่
เชื้อราบิวเวอเรีย
ค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดดและอุณหภูมิที่สูง ต้องพ่นให้ถูกตัวเพื่อสปอร์ของเชื้อราจะได้สัมผัสกับตัวแมลงเพื่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น เชื้อราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง ดังนั้น ควรพ่นเชื้อราในช่วงเย็นถึงค่ำในขณะที่สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง สภาพอากาศแห้งแล้งมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อราบิวเวอเรียลดลง โดย ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราจะหยุดการเจริญเติบโต (2) ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรียที่ขายกันตามท้องตลาด ควรอ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามวิธีการใช้ที่ระบุในฉลากอย่างเคร่งครัด (3) ถ้าเป็นเชื้อราบิวเวอเรียชนิดสดที่ผลิตขึ้นใช้เอง ใช้ก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัมหรือ 2 ถุง ผสมน้ำ 20-30 ลิตร โดย นำก้อนเชื้อใส่ถุงตาข่ายเขียว ขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพด กรองเมล็ดข้าวโพดออกทิ้ง นำน้ำที่ได้ผสมกับสารจับใบ แล้วคนให้เข้ากันเพื่อใช้พ่นกำจัดเพลี้ยแป้ง และ(4) เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ดังนั้น ถ้าพบแมลงตัวห้ำและตัวเบียนของเพลี้ยแป้ง ควรงดหรือชะลอการพ่นออกไป
การใช้วิธีกลในการป้องกันและกาจัดเพลี้ยแป้ง
ควรใช้วิธีการจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้งร่วมกับการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอนและไถทิ้ง มีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง โดย ห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ออกจากแหล่งที่มีการระบาดเพลี้ยแป้ง เวลาปลูกควรคัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และไม่มีเพลี้ยแป้งติดมา ก่อนปลูกนำท่อนพันธุ์มาแช่น้ำสะอาดประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งที่ปะปนติดมากับท่อนพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำลายถุงไข่ของเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้
2. การกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอน ตัดยอด หรือไถทิ้ง โดยพิจารณาวิธีกำจัดเพลี้ยแป้งตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ดังนี้ (1) ช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 1-4 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งน้อยให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออกเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ แล้วนำส่วนดังกล่าวมาเผาทำลายทิ้ง แต่ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ถอนต้นกองรวมกันแล้วเผาทำลายทิ้ง ไถดะตากหน้าดินอย่างน้อย 1 เดือน ปลูกพืชนิดอื่นทดแทนเพื่อตัดวงจรชีพจักรของเพลี้ยแป้ง ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว (2) ช่วงระยะกลางของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 4-8 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออก แล้วนำส่วนดังกล่าวมารวมกันเผาทำลายทิ้ง
(3) ช่วงระยะปลายของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังทันที แล้วไถดะตากหน้าดินเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งและไข่ จากนั้นเตรียมการปลูกมันสำปะหลังในฤดูกาลต่อไป เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช การใช้เชื้อราบิวเวอเรียกำจัดเพลี้ยแป้ง โดย เพลี้ยแป้งจะตายภายใน 3-14 วัน การใช้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
(1) เชื้อราบิวเวอเรีย13 การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชโดยเฉพาะข้าวโพด สามารถผลิตเชื้อนี้ใช้เองได้ มีขั้นตอนดังนี้
(1) นำเมล็ดข้าวโพดที่ไม่คลุกสารเคมีหรือสารกำจัดเชื้อรา นำมาล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำประมาณ 1 คืน หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที นำมาผึ่งแดดให้หมาดน้ำ
(2) กรอกเมล็ดข้าวโพดใส่ถุงพลาสติกก้นจีบชนิดทนร้อน ประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใส่คอขวดจุกด้วยสำลีให้แน่นปิดทับด้วยอลูมิเนียมฟอยด์หรือกระดาษรัดด้วยยางวง
(3) นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน ที่อุณหภูมิ 121 องสาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง ใช้เวลานาน 2 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นอีกประมาณ 30 นาที จึงเปิดฝาหม้อออก (4) นำถุงข้าวโพดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อโรคมาวางให้อุ่นเพื่อนำไปเขี่ยเชื้อ ก่อนเขี่ยเชื้อต้องทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อ ร่างกาย มือ และแขน ด้วยแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ และเปิดแสงไวโอเล็ตหรือแสงยูวีฆ่าเชื้อโรคนาน 15 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตะเกียง เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟแช็ค แก้วบรรจุแอลกอฮอล์
(5) ปิดแสงยูวีแล้วเปิดไฟปกติ เพื่อเตรียมเขี่ยเชื้อเข้าไปในถุงเมล็ดข้าวโพด แล้วนำถุงออกจากตู้เพื่อทำการบ่มเชื้อ และ(6) การบ่มเชื้อ นำถุงข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้ ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพดใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถ้าเก็บรักษาเชื้อที่เดินเต็มแล้วในร่ม อุณหภูมิปกติเก็บได้นาน 20-30 วัน แต่ถ้าเก็บรักษาในตู้เย็นซึ่งมีอุณหภูมิราว 7-10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3 เดือน
4. การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล (biopesticides and physical control) เป็นการนำสารธรรมชาติจากพืชโดยได้มาด้วยการนำพืชมาสกัดเพื่อหาสารออกฤทธิ์ที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อย่างเช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม โล่ติ๊น ขมิ้นชัน หนอนตายหยาก พริกไทย โหระพา เป็นต้น ซึ่งสารสกัดจากพืชเหล่านี้ ไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การใช้วิธีควบคุมเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีกลอย่างมีประสิทธิภาพ
การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกลมีรายละเอียดในการปฏิบัติดังนี้ การใช้น้าหมักชีวภาพด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด. 7 ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ค้นคิดโดยกรมพัฒนาที่ดิน ด้วยการนำพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือ ยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก มาหมักกับสารเร่งเชื้อ พด. 7 ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ
(1) ยีสต์ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร (2) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดแลคติค ทำหน้าที่ป้องกันการปนเปื้ยนจากจุลินทรีย์ภายนอก ทำให้สามารถเก็บน้ำหมักชีวภาพได้นาน (3) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดอะซีติค ทำหน้าที่ผลิตกรดน้ำส้ม ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร การทำน้ำหมักชีวภาพดังกล่าวด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด.7 โดยใช้สมุนไพรสับให้ละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัมจากยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก ผสมกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม สารเร่งพด.7 จำนวน 1 ซอง ใส่น้ำ 50 ลิตร ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในร่ม ใช้เวลาหมัก 20 วัน วิธีใช้น้ำหมักชีวภาพดังกล่าว โดย ใช้พ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วันในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง 14 5. การควบคุมโดยสารเคมี (synthetic pesticide) เป็นวิธีสุดท้ายในการแนะนำให้ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลัง เนื่องจากการใช้สารเคมีจะทำให้ระบบนิเวศน์เกษตรสูญเสียความสมดุลไป โดยทำลายทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรใช้เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรง โดยที่แมลงศัตรูธรรมชาติไม่อาจควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ ควรพ่นสารเคมีเฉพาะบริเวณที่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันมิให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นอีก หรือใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ สารเคมีที่ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งได้ผลดีมีดังนี้
การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม (25%WG) หรือ อิมิดาโคลพริด (70%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน(10%WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นานประมาณ 5-10 นาที นำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งก่อนนำไปปลูก สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ และยังป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งหลังปลูกได้อีกประมาณ 1 เดือน การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ระบาดในไร่มันสาปะหลัง ควรพ่นสารเคมีให้ถูกตัวเพลี้ยแป้งที่อยู่ใต้ใบ หรือยอดที่แตกใบเป็นกระจุก ควรพ่นสารเคมีติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เนื่องจากการพ่นสารเคมีเพียงครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดไข่และตัวอ่อนที่อยู่ในถุงไข่ได้ สารเคมีที่ใช้มีดังนี้ 1. ไทอะมีโทแซม ชื่อการค้าแอคทาราหรือแอมเพล (25%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2. ไดโนทีฟูแรน ชื่อการค้าสตาร์เกิล (10%WP) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 3. โปรไทโอฟอส ชื่อการค้าโตกุไธออน (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 4. พิริมิฟอสเมทิล ชื่อการค้าแอคทาลิก (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 5. ไทอะมีโทแซม/แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ชื่อการค้าเอฟโฟเรีย (24.7%ZC) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง สามารถใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งใน 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น โดย ลดอัตราลงครึ่งหนึ่งผสมกับสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ (67%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากไม่มีสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ให้ใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งในอัตราที่กำหนด
อ่าน
วิศิษฐ์
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:12
Permalink
อ้อ
แล้วมันลงเยอะไหมละ...เอาตามน้องพัฒน์เลยรายนั้นจบเกษตรเก่งด้วย น้องชายพี่อีกคน...แล้วหญ้าละขึ้นรกไหม
สาวน้อย
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:35
Permalink
มาดูด้วยค่ะ
มาดูวิธีกำจัดด้วย เคยเจอเหมือนกัน..
ชีวืตที่เพียงพอ..
atchara_suwannee
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:48
Permalink
พี่ศิษฐ์
หญ้าก็มีพอสมควร จ้างให้เค้ามาฉีดยาให้ พี่สนิทไม่ค่อยสบายเลยไม่มีใครดูให้ คนที่เค้ามาฉีดยามาบอกว่ากำลังมีเพลี้ยแป้ง เพราะสวนน้ามวลมีก่อน
atchara_suwannee
15 พฤษภาคม, 2011 - 22:52
Permalink
คุณพัฒน์
ต้องขอบคุณคุณพัฒน์มาก ๆ นะคะ ที่ช่วยแนะนำความรู้ แล้วเชื้อที่ว่านี้ต้องเพาะเองเหรอคะ ไม่มีที่เค้าขายเหรอ รบกวนตอบอีกครั้งนะคะ
ยุพิน เทลเก็น
16 พฤษภาคม, 2011 - 00:50
Permalink
เอาใจช่วย
เข้ามาเอาใจช่วยและให้กำลังใจให้ปัญหาเพลี้ยแป้งหายเร็วๆนะคะ
แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง
ทดสอบ
พัฒน์..ลูกธรรมดา
16 พฤษภาคม, 2011 - 07:25
Permalink
แจกเชื้อ
เกษตรกรสามรถผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียใช้ได้เอง โดยขอรับหัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชลบุรี นำมาต่อเชื้อลงในเมล็ดข้าวโพด
โทรศัพท์.038-231-271 หรือศุนย์บริหารศัตรูพืชใกล้บ้านท่าน
อ่าน
สายพิน
16 พฤษภาคม, 2011 - 10:39
Permalink
เอาใจช่วยด้วยค่ะ
เอาใจช่วยด้วยค่ะ และขอเรียนรู้ด้วยคนจากบล็อกนี้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ
หน้า