ฅนเอาถ่าน: ตอนที่ 4...
จากความเดิม ตอนที่แล้ว........ http://www.bansuanporpeang.com/node/7006#comment-150913
จุดเตาเมื่อตอน 11 โมง ผ่านไป 13 ชั่วโมง ควันก็ยังไม่จาง คนเฝ้า ตาจะมอดแล้ว เลยต้องปิดเตาก่อน...ตอนเที่ยงคืนครึ่ง..
ตอนเช้าเตายังอุ่น ๆ เปิดเตาเก็บถ่านกันค่ะ...
ถ่านที่ได้ .........
แต่ด้านหน้า ยังคงเป็นขี้เถ้าพอสมควร อาจจะใส่ไฟแรงจนเกินไป ไว้รอบหน้าค่อยแก้มือใหม่...
ถ่านดูดีขึ้นและได้จำนวนถ่านมากขึ้น จากสองครั้งที่ผ่านมา
ครั้งแรก ได้ ถ่าน 6 กิโล ....
ครั้งที่สอง ได้ 10 กิโล ....
ครั้งที่สาม ได้ 11 กิโล ...
หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าคงเพิ่มขึ้นเืรือย ๆ...
วันนี้มีของเล่นใหม่ จากการแนะนำของลุงพูน ..
ลองวิชา .....น่าใช้..
นอกจากถ่าน.. จากการเผา...ก็ได้ น้ำส้มควันไม้ ได้สองขวด...
..................... ส่วนประโยชน์
.................... ฝากได้ด้านล่างนะคะ
นอกจากถ่านก้อนแล้ว ... มีเศษผง....
ใส่ กองปุ๋ย หมัก ช่วยให้ผลไม้มีรสหวาน........ เคยอ่านเจอ จาก................
เศษถ่าน เอา ใส่ต้นดอกไม้และกล้วยไม้ และเก็บไว้ใช้เป็นเชื้อก่อไฟ..
.....
.......................
เก็บใส่ กระสอบ ไว้ใช้ และ รอการจำหน่าย....
.......................
ถ่านยังใช้ประโยชน์ อย่างอื่นได้อีกหรือเปล่าค่ะ.
.........................
เตาที่สี่ วันนี้ 12-11-53 จุดเมื่อตอน เที่ยง ..... เตานี้คิดว่าต้อง ปิดพรุ่งนี้ เช้า...................
บล็อกนี้ คงจบการเผาถ่านไว้เพีียงแค่นี้................
ยังต้องการ คำแนะนำ ติชม เพื่อการเผาถ่านให้ดียิ่งขึ้นนะคะ...
ข้อมูล การผลิตน้ำส้มควันไม้มาฝากค่ะ
การผลิตน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
การดักเก็บควันอยู่ในช่วงของการเผาถ่านอุณหภูมิปากปล่องประมาณ 80-150 องศาเซลเซียส หรือสังเกตจากควันที่ปากปล่องจะมีสีขาวขุ่น กลิ่นฉุน หรือใช้กระเบื้องแผ่นเรียบสีขาวอังบนปากปล่องทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำแผ่นกระเบื้องมาดูหยดน้ำที่เกาะบนกระเบื้องจะใสและมีสีเหลืองปนน้ำตาล การเผาถ่านมีอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1. เมื่อเริ่มจุดไฟหน้าเตาเป็นช่วงไล่ความชื้น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิปากปล่องประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส และในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ควันจะเริ่มมีกลิ่นเหม็น และเมื่อใส่ฟืนหน้าเตาไปเรื่อยๆอุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงขึ้นไปอีกประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในเตาประมาณ 200-250 องศาเซลเซียส ควันจะมีกลิ่นเหม็นฉุนซึ่งในช่วงที่ 1 นี้ ถือเป็นช่วงของการไล่ความชื้น หรือคายความชื้น ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงนับจากเมื่อไฟหน้าเตาติดแล้ว
2. เมื่อปล่อยให้ไฟหน้าเตาติดต่อไปอีกเรื่อยๆ อุณหภูมิปากปล่องก็จะสูงเพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ควันจะรวมตัวกันหนาแน่น พุ่งขึ้นมีสีขาวขุ่นและมีกลิ่นเหม็นฉุนอย่างรุนแรง เรียกว่า ควันบ้า ซึ่งช่วงนี้ไม้เริ่มกลายเป็นถ่านหรือเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งอุณหภูมิในเตาจะสูงขึ้นเรื่อยๆสามารถลดเชื้อเพลิงหน้าเตาหรือไม่ต้องเติมฟืนหน้าเตาได้ หากใช้กระเบื้องแผ่นเรียบสีขาวอังบนปากปล่องควันแล้วสังเกตดูหยดน้ำที่เกาะจะมีสีเหลืองปนน้ำตาล ถือว่าเป็นช่วงที่เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ โดยนำท่อไม้ผ่า (ท่อทะลุปล้องยาวประมาณ 3-5 เมตร) หรือวัสดุทนกรด นำไปวางเหนือปากปล่องเพื่อดักเก็บควันซึ่งเมื่อควันถูกความเย็นก็จะเกิดการควบแน่นรวมกันเป็นหยดน้ำ ทั้งนี้การเก็บน้ำส้มควันไม้จะนับระยะเวลาการเก็บจากที่เริ่มต้นเก็บออกไปประมาณ 4 ชั่วโมง หรืออุณหภูมิปากปล่องประมาณ 80-150 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในเตาประมาณ 300-450 องศาเซลเซียส หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่องเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินก็ให้หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ได้
3. เป็นช่วงที่ทำให้ถ่านบริสุทธิ์ โดยเปิดหน้าเตาให้อากาศไหลเข้าไปได้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความร้อนให้สูงขึ้นสำหรับเผาไล่น้ำมันดินให้ออกไปจากถ่าน ซึ่งน้ำมันดินที่อยู่ในถ่านนี้หากไม่ถูกกำจัดออกไปแล้วนำถ่านไปใช้ก็จะได้ถ่านที่มีคุณภาพต่ำ และเมื่อนำไปประกอบอาหารปิ้งย่าง น้ำมันดินที่ค้างอยู่ในถ่านเมื่อถูกเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 425 องศาเซลเซียสแล้ว จะเกิดเป็นสารประกอบใหม่ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อุณหภูมิที่ปากปล่องในช่วงนี้จะสูงขึ้นมากกว่า 150 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ควรเก็บน้ำส้มควันไม้ในช่วงนี้ด้วยเนื่องจากมีสารประกอบที่เป็นโทษต่อการนำไปใช้ ในช่วงนี้เมื่อสังเกตควันจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นควันใส ให้ทำการปิดหน้าเตารวมทั้งปากปล่องควัน
4. เป็นช่วงที่ปล่อยให้เตาเย็นลง ก่อนที่จะนำถ่านไม้ออกจาเตามาใช้งานซึ่งก่อนเปิดเตาต้องให้อุณหภูมิในเตาต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส เพราะหากสุงกว่านั้นจะทำให้ถ่านลุกติดได้ ในที่นี้อาจจะทดลองเอามือแตะที่ปล่องควันเมื่อปล่องควันเย็นตัวจนเอามือสัมผัสได้แสดงว่าสามารถเปิดเตาได้ และการเปิดเตาต้องเปิดที่ปล่องก่อนเพื่อระบายความร้อนและแก๊สที่ยังคงค้างอยู่ในเตาให้หมด หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าเตา
วิธีเก็บ
เก็บน้ำส้มที่อุณหภูมิปากปล่องที่ 80 องศา และหยุดเก็บที่ 150 องศา และอุณหภูมิในเตาเผาประมาณ 300-400 องศา โดยอุณหภูมิ ดังกล่าวจะไม่มีสารก่อมะเร็ง ใช้เวลาเผา 10 ชม. จะได้ถ่าน 15 กก. น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร น้ำส้มควันไม้ดินที่เก็บจากการกลั่นตัวที่ปล่องควันยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที เนื่องจากยังมีส่วนประกอบบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อพืชหรือสิ่งมีชีวิตได้ เช่น น้ำมันดิน (ทาร์)ที่อาจจะไปปิดปากใบและเกาะติดรากในพืชทำให้พืชเติบโตช้า หรือตายได้ ดังนั้นการนำน้ำส้มควันไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงจะต้องผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์เสียก่อน ซึ่งมีวิธีการ 3 วิธี คือ
1.-ปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำส้มควันไม้ดิบที่กลั่นได้มาเก็บในถังทรงสูงมากกว่าความกว้างประมาณ 3 เท่า ทิ้งให้ตกตะกอนใน 90 วัน จะทำให้น้ำส้มควันไม้แยกตัวเป็น 3 ระดับ ชั้นบนจะเป็นน้ำมันใสชั้นกลางจะเป็นของเหลวสีชา ซึ่งคือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้ได้ ส่วนชั้นล่างสุดนั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ เราสามารถลดเวลาการตกตะกอนโดยการผสมผลถ่านประมาณ 5 % ของน้ำหนักรวมของน้ำส้มควันไม้ทั้งหมด โดยผงถ่านจะดูดซับทั้งน้ำมันใสชั้นบนและน้ำมันดินลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลา 45 วันเท่านั้น
2.-หลังจากตกตะกอนในถังจนครบกำหนดแล้วจึงนำของเหลวสีชาในชั้นกลางมากรองซ้ำอีกครั้งด้วยผ้ากรองจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยน้ำส้มควันไม้ที่บริสุทธิ์ควรจะมีน้ำมันดินไม่เกิน 1 % พิจารณาด้วยสายตาน้ำส้มควันไม้ที่ดีควรจะมีสีใสจนถึงชา หากมีลักษณะขุ่นดำแสดงถึงความหนาแน่นของน้ำมันดิน อาศัยการกรองและกลั่น แต่จะยุ่งยากนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
3.-น้ำส้มควันไม้ที่สกัดได้มาใหม่จะมีสารแขวนลอย ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง หากนำไปใช้ทันที จะทำให้สารดังกล่าวไปจับที่ปากใบพืช ดังนั้นจึงต้องทำให้เกิดการตกตะกอน โดยนำเศษถ่านล้างน้ำให้สะอาด ตากให้แห้งบดให้เป็นผง จากนั้นใส่น้ำส้มควันไม้ 100 ลิตร โรยผงถ่านบด 5 กก. ห้ามกวนน้ำ ทิ้งไว้ 45 วัน จะเกิดการตกตะกอน สารที่ก่อมะเร็งจะตกตะกอนอยู่ด้านล่าง ต้องตักน้ำส่วนกลางใส่ภาชนะที่ปกปิดเรียบร้อยไม่สั่นสะเทือน ทิ้งอีก 45 วัน น้ำที่ได้จะสามารถนำไปฉีดพืชสวนได้ หรือถ้าต้องการทำปุ๋ยให้นำเศษไม้ ผงถ่านเศษถ่านที่เหลือไปแช่น้ำส้มควันไม้ นำไปโรยในสวนจะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ส่วนล่างที่เป็นตะกอนนำไปเทหลุมเสา เพื่อใช้ไล่และป้องกันปลวก
การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำไปใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน และสารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้นหากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้วต้องทิ้งช่วงและมีการทำให้น้ำส้มควันไม้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 3 เดือน โดยต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงและไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้งน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอุลตราไวโอเลตในแสงอาทิตย์กลายเป็นน้ำมันดินซึ่งในน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วยและหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี
ประโยชน์ทางการเกษตร
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆมากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จะมีคุณสมบัติต่างๆดังนี้คือ เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืชบริเวณ ส่วนราก ลำต้น หัว ใบและดอกผลของพืชบางชนิด การใช้น้ำส้มควันไม้ราดในดินปลูกพืช จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไส้เดือนฝอย เชื้อรา นอกจากนั้นน้ำส้มควันไม้ยังมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืชและในบางกรณีเป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆของพืชเมื่อใช้น้ำส้มควันไม้ในอัตราส่วนทีมากน้อยต่างกันไป น้ำส้มควันไม้จะมีพิษต่อพืชสูงเมื่อราดลงดินในปริมาณมาก หรือนำไปใช้กับพืชโดยไม่ผสมน้ำให้เจือจางจะเกิดผลเสีย เช่นกัน
ประโยชน์
1.ใช้ผลิตสารระงับกลิ่นตัว
2. ผลิตสารปรับผิวนุ่ม
3. ผลิตสารป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
4.ใช้เป็นสารไล่แมลง
5. ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
6. ถ่านที่ใช้แช่ในน้ำน้ำควันไม้จะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดีโดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในดินที่มีประโยชน์ต่อต้นพืช ถ่านที่เผามีรูพรุน .....และมีแร่ธาตุ สารอาหารอยู่ด้วยทำให้เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช
7. ช่วยติดดอก ผลดก ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลโตสีสดใส รสหวาน ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า
8. ดินจะมีสุขภาพดีขึ้น ฟื้นฟูดินเสื่อม
อัตราการใช้
ควรใช้เวลา เช้า/เย็นจะเกิดประโยชน์ต่อพืชมาก
*ใช้กับมะเขือเทศ 1 :200
*ถั่วฝักยาว 1 :300
*ทำปุ๋ยบำรุงดิน 1 :500
*ใช้กำจัดไส้เดือนฝอย 1 :30 ราดลงดิน 6 ตารางเมตร
*ไปใส่ในน้ำหมักจะช่วยทำให้น้ำหมักเกิดการหมักได้เร็ว เวลาราดลงดินทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโต
*ใช้ผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 -1000 (น้ำส้มควันไม้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นหรือรดไม้ผล จะช่วยไล่แมลงศัตรูพืชเร่งการติดดอก การเจริญเติบโตและเพิ่มความหวาน
*ใช้น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า
ใช้พ่นลงดิน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ป้องกันโรครากและโนเน่าจากเชื้อรา ไส้เดือนฝอย และสาเหตุอื่น ๆแต่เมื่อใช้ในปริมาณเข้มข้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่น กรณีนี้ให้ดำเนินการก่อนเพาะปลูก 10 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ จากก๊าซคาร์บอนโมโนออกไซด์(CO) ซึ่งเป็นพิษต่อพืชได้ หากไม่เว้นช่วงระยะเวลา หรือหากจะใช้ในปริมาณเจือจางลงโดยการผสมน้ำ50 เท่า ก็สามารถพ่นลงดินแก้ปัญหาเรื่องรากได้โดยตรง
*ผสมอัตราส่วน น้ำ 50 เท่า
ใช้พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้น มากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้
*ผสมน้ำ 100 เท่า
ใช้ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันไม่ให้แมลงวางไข่
*ผสมน้ำ 200 เท่า
ใช้ฉีดพ่นที่ใบพืช และพื้นดินรอบๆ ต้น ทุก ๆ 7 – 15 วัน เพื่อป้องกันและขับไล่แมลง หรือสามารถทำลายไข่แมลงได้ดี รวมถึงเป็นการสนับสนุนการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่มีประโยชน์ ให้ทำงานได้ดี ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชดีขึ้น ในหลาย ๆ ด้าน
*ผสมน้ำ 500 เท่า
ฉีดพ่นผลอ่อนของพืช หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน และพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาลของพืชผล
*หรือหากผสมน้ำ 1,000 เท่า
ใช้ผสมกับสารเคมีที่ใช้กับต้นพืช เพื่อประสิทธิภาพในการจับใบ จึงสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลงได้
*ใช้น้ำส้มควันไม้อัตราเข้มข้น 100 %
หมักกับหอยเชอรี่บดเศษปลา หรือกากคั่วเหลืองในอัตราส่วน น้ำส้มควันไม้ 2 ต่อ 1 ส่วน กับแหล่งโปรตีนเหลือใช้ต่าง ๆหมักไว้นาน 1 เดือน แล้วกรองกากออก ใช้เจือจาง 200 ส่วน เป็นปุ๋ยเคมีคุณภาพสูง
*ในด้านงานปศุสัตว์
จะช่วยในการลดกลิ่นและแมลง โดยการใช้ครั้งแรกควรผสมน้ำ 100 เท่า หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 200 เท่าจะกำจัดกลิ่นและลดจำนวนแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 200 เท่า ใช้ฉัดพ่นคอกสัตว์เพื่อลดกลิ่นและแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาจจะใช้ในความเข้มข้นมากขึ้นในครั้งแรก ๆ
*ใช้ในการผสมอาหารสัตว์
เพื่อช่วยย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย โดยการผสมกับผงถ่านเสียก่อน ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร คลุกกับผงถ่าน 8 กก . แล้วจึงนำผงถ่านชุ่มน้ำส้มควันไม้ไปผสมอาหารสัตว์อีก 990 กก. คลุกคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง จะได้อาหารสัตว์ 1 ตันพอดี ซึ่งถ่านผสมอาหารสัตว์นั้นจะช่วยให้สุขภาพสัตว์ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี และมีผลผลิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
*ช่วยทำให้การย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้นทำให้สัตว์โตเร็วกว่าปกติ โดยใช้อาหารเท่าเดิมหรือใช้อาหารน้อยลง 5 % ในเวลาเท่าเดิม
ประโยชน์ทางยา&เครื่องสำอาง
1.ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง
2.เป็นยาช่วยย่อยแบบ Prebiotic
3.ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด
4.แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
5.ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสำอาง
การนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ด้านอื่นๆ
นอกจากการนำไปใช้ทางด้านเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
1.ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
2.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวกและมด
3.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง
4.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและ บริเวณชื้นแฉะ
5.ใช้ผลิตสารระงับกลิ่นตัว
6.ผลิตสารปรับผิวนุ่ม
7.ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารรมควัน ย้อมผ้า
8.ผลิตสารป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้
1.ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2.เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3.น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ ให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4.การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5.การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6.การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้า มาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่ http:// www.chuasin.co.th
- บล็อกของ ann
- อ่าน 9550 ครั้ง
ความเห็น
doephuket
12 พฤศจิกายน, 2010 - 18:29
Permalink
อีกนิด
วันก่อนแอนเล่นเพลง เล่นของสูง(ลิงขึ้นมะพร้าว)
วันนี้เพลงคนไม่เอาถ่าน ต่อไปจะเป็นเพลงอะไร อิอิ
ว่าออออ นุ่งกางเกงขายาวสาวไม่ชอบพี่น้องเหอ คนถือจอบมาดแมนนั้นแหละแฟนฉาน นะสาวเหอ
น้ามืด
12 พฤศจิกายน, 2010 - 18:50
Permalink
ถ่าน........
มันซ้ำน่ะ คงใจร้อนไปหน่อย
ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม
น้ามืด
12 พฤศจิกายน, 2010 - 18:47
Permalink
ถ่าน........
หากเราแบ่งประเภทของถ่านที่ได้จาการเผาออกมาเป็น
ข้อ 3 นี่มีบ้างหรือเปล่า ด้านหน้าเป็นขี้เถ้า ด้านท้ายเตาตรงปล่องควัน ถ่านที่ได้เป็นยังงัยบ้าง (อันนี้ น่าจะได้คำตอบบางอย่าง)
แอนเริ่มเก็บน้ำส้มตอนไหน และหยุดเก็บตอนไหน (อันนี้ เพื่อยืนยันว่าแอนได้น้ำส้มควันไม้ ไม่ใช่ไอน้ำผสมน้ำส้มควันไม้)
และถ่านที่ได้เวลาเอาไปใช้ มีการปะทุมั๊ย ที่ก้นหม้อเป็นงัยบ้าง (อันนี้ น่าจะได้คำตอบบางอย่าง)
เอาใจช่วย...ต่อนะ " แอน... สู้สู้!!! "
ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม
Aree
26 พฤษภาคม, 2011 - 15:02
Permalink
คนเอาถ่านจริงๆ
น่าอิจฉา ชอบถ่านผลไม้ค่ะ
หน้า