หน้าตาของลูกมุด
เมื่อวานลงบล๊อกแกงส้มลูกมุด http://www.bansuanporpeang.com/blog/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94 มีคนสนใจ อยากเห็นหน้าตาของลูกมุดหรือมะมุด ยังไม่ได้ถ่าย ขอช่วยจากอากู๋ก่อนแล้วกัน
รูปบนภาพจากhttp://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBio_Webboard.php?Action=ViewTopic&TopicID=2133&Lang=Thai
1. ชื่อ มะมุด
2. ชื่ออื่น มะละมุดไทย มะแจ มาจัง มาแจ มุด ส้มมุด มะม่วงป่า มาแจฮุแต
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera foetida Lour.
4. วงศ์ ANACARDIACEAE
5. ชื่อสามัญ Horse Mango
6. แหล่งที่พบ พบทางภาคใต้
7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-40 เมตร วัดรอบลำต้น 80-150 ซม. ลำต้นเปลาตรงเรือยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงไม่มีต่อมระบายอากาศ เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลคล้ำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแดง เมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นซึมออกมาเป็นเม็ดๆ เนื้อไม้ที่ติดกับเปลือกสีขาวไม่เรียบลักษณะเป็นคลื่นตามยาว
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังเป็นคลื่นแข็งกรอบ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปหอก ขนาดใบกว้าง 4-11 ซม. ยาว 10-32 ซม. โคนใบสอบเบี้ยว ปลายใบเป็นติ่งทู่ๆ ใบพุ่งตั้งชัน เนื้อใบหนามากเกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบมี 12-26 คู่ เรียวโค้งและขนานกัน เส้นร่างแหเห็นไม่ชัด เส้นกลางใบขึ้นเป็นสันทางด้านหลังใบ ก้านใบอวบเป็นร่องทางด้านบน โคนก้านบวม ก้านใบยาว 2-5.5 ซม.
ดอก มีขนาดเล็ก สีชมพูหรือสีส้มมีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง คล้านช่อมะม่วง ช่อหนึ่งๆ ยาว 7-21 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกสีแดงเข้มกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 5กลีบ กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ ขนาด 2-4 มม. ส่วนกลีบดอกรูปหอก ขนาดกว้าง 2.5 มม. ยาว 7-10 มม. เกสรผู้มี 5 อัน ในจำนวนนี้เป็นเกสรผู้ปลอม 4 อัน เกสรผู้แท้ที่เหลืออยู่อันเดียวจะยาวกว่าเกสรผู้ปลอม รังไข่กลม ขนาดกว้าง 1.8 มม. ยาว 2 มม.
ผล รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ลักษณะเป็นป้อมเบี้ยวๆ เนื้อหนา ขนาดกว้าง 7.5 ซม. ยาว 10.5 ซม. ผลสุก สีเหลืองแกมเขียว ภายในมีเมล็ด
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ผลดิบ
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบขึ้นในป่าดงดิบชื้นที่ลุ่มและป่าพรุ
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ผลดิบ เดือนมีนาคม – มิถุนายน
13. คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล
14. การปรุงอาหาร ผลดิบ รับประทานเป็นผักสดกับขนมจีน หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเหลือง ยำ
15. ลักษณะพิเศษ -
16. ข้อควรระวัง -
17. เอกสารอ้างอิง
คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้ 486 หน้า.
เต็ม สมิตินันทน์. 2823. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2542. ผักพื้นบ้านใต้ 279 หน้า.
ที่มา:http://scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94
- บล็อกของ สร
- อ่าน 16994 ครั้ง
ความเห็น
papen
7 มิถุนายน, 2011 - 19:54
Permalink
ขอบคุณเวปที่นี้จริงๆ คะ
ขอบคุณเวปที่นี้จริงๆ คะ ไม่เคยรู้จักเลย พึ่งรู้จัก ณบัดนาว คริคริ ขอบคุณคร้า:uhuhuh:
หน้า