จากหมูขี้พร้าสู่พลังงานทดแทน(แก๊สชีวภาพ)
ขออนุญาตนำเสนอกิจกรรมที่ภาคภูมิใจ ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ที่ได้ลงมือทำเองและใช้ในบ้านเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นผลผลิต กิจกรรมต่อยอดจากลูกหมูขี้พร้าที่เลี้ยง
วัสดุที่ใช้
1. ถังขนาด 1,000 ลิตร (ถังบรรจุสารเคมีเก่า ราคา 1,000-1,500 บาท)
2. ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว
3. ถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร
4. ถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตร
5. หัวเตาแก๊ส
6. กาว 2 ตัน
7. วาล์วเปิดปิด ,กิ๊บรัดท่อแก๊ส
8. ท่อแก๊ส
ขั้นตอนการผลิต
1. ถังหมักแก๊ส
1.1 นำถังขนาด 1,000 ลิตร มาเจาะรู 2 รู ตามขนาดของท่อพีวีซี และท่อแก๊ส
1.2 นำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว ความยาว 60 เซนติเมตร ใส่ลงใน
รูที่เจาะให้ท่อห่างจากพื้น 30-40 เซนติเมตร ใช้กาว 2 ตัน อุดรอบๆรอยเจาะเพื่อไม่ให้
อากาศออกได้(สำหรับเป็นท่อเติมเศษอาหาร มูลสัตว์)
1.3 นำท่อแก๊สใส่รูที่เจาะ ใช้กาว 2 ตัน อุดรอบๆรอยเจาะเพื่อไม่ให้อากาศออกได้
(สำหรับให้แก๊สไหลไปยังที่พักแก๊ส)
2. ถังเก็บแก๊ส
2.1 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร เปิดฝาบรรจุน้ำเกือบเต็ม
2.2 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตรเปิดฝา คว่ำลง เจาะก้นถัง 2 รู
รูแรกใส่ท่อแก๊สและต่อท่อแก๊สไปถังหมัก 1,000 ลิตร
2.3 รูที่สองใส่ท่อแก๊สและต่อไปยังเตาแก๊สที่เตรียมไว้
2.4 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตรที่เจาะรูใส่ท่อแก๊สแล้ว
คว่ำลงใส่ในถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร ตามภาพ
3. เตาแก๊ส
3.1 ปรับแต่งหัวเตาแก๊ส โดยการใช้ตะปูตีขยายรูแก๊สออกให้กว้างขึ้น เพื่อให้แก๊ส
ไหลออกได้สะดวก เนื่องจากแก๊สชีวภาพมีแรงดันต่ำ
3.2 ท่อแก๊ส / วาล์วเปิดปิด ที่เชื่อมตามจุดต่างๆ เช่นจากถังหมักแก๊สไปยังถังเก็บแก๊ส
หรือจากถังเก็บแก๊สไปยังหัวเตา ควรรัดกิ๊บและทากาว 2 ตัน เพื่อป้องกันการรั่วออกของแก๊ส
4. การใช้แก๊ส
4.1 แก๊สที่ถ่ายเทมาจากถังหมักจะไหลเข้ามาที่ถังเก็บแก๊ส สังเกตได้จากถัง100 ลิตร
จะลอยขึ้นเมื่อมีแก๊ส
4.2 การใช้แก๊ส ให้เปิดวาล์วแล้วจุดด้วยไฟ ใช้ก้อนอิฐวางกดทับถังไว้เพื่อเพิ่มแรงดันให้แก๊ส
5. วัตถุดิบในการหมัก
5.1 วัตถุดิบในการหมัก นั่นก็คือ ขี้หมู ขี้วัว เศษอาหารเหลือทิ้ง
5.2 นำขี้หมู ขี้หมู ขี้วัว เศษอาหารเหลือทิ้ง ผสมน้ำแล้วเทใส่ถังหมักโดยให้อยู่
ระดับ 2 ใน 3 ส่วนของถัง หมักไว้ 10-15 วันก็จะได้แก๊ส โดยแรกๆ แก็สอาจจะ
จุดติดยากเนื่องจาก แก๊สมีส่วนผสมของอากาศปนอยู่มาก พอใช้ไปนานๆ ก็จะจุดติดได้ดีขึ้น
5.3 เติมขี้หมู เศษอาหาร ทุกวันๆละ 2 กิโลกรัม เพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์
จะได้มีแก๊สมากๆ (ห้ามใส่เศษอาหาร อาหารที่มีรสเปรี้ยวลงในถังหมัก)
5.4 ถ่ายน้ำหมักออกทุก 45 วัน (นำไปพักไว้ในหลุมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นปุ๋ย
รดผักสวนครัว หรือไม้ผลต่างๆต่อไป)
6. ข้อพึงระวัง/การดูแลรักษา
6.1 แก๊ส จากพลังงานแบบนี้ เป็นแก๊สจำพวก ไนโตรเจน ที่สามารถติดไฟได้
ถ้ามีปริมาณที่หนาแน่นมากๆก็เป็นอันตรายได้เหมือนกัน
6.2 ตามภาพจะทำถังเก็บจำนวน 2 ถัง แต่ละถังสามารถใช้หุงต้นได้ประมาณ 25-30 นาที
ถ้าต้องการให้มีแก๊สใช้งานมากๆ สามารถต่อท่อแก๊สได้หลายๆถังตามจำนวนที่ต้องการ
6.3 ถังหมัก/ถังเก็บแก๊ส/ท่อแก๊ส เป็นพลาสติก ดูแลรักษาปกติ มีอายุการใช้งานนานมาก
ให้ระวังบริเวณ รอยต่อที่รัดด้วยกิ๊บ รูที่เจาะซึ่งใช้กาว 2 ตันอุดไว้ อย่าให้รั่วเด็ดขาดเพราะจะเก็บแก๊สไว้ไม่ได้
7. อื่นๆแนะนำ
7.1 รวมราคาวัสดุในการผลิตประมาณ 3,000-3,500 บาท ราคาค่อนข้างสูง แต่จะได้ผลในระยะยาว
7.2 บุคคลทั่วไปที่ทำแล้วไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก รอยรั่ว บริเวณรอยต่อ และรูเจาะต่างๆ
7.3 กลิ่นของแก๊สเหมือนที่เราใช้ทั่วไป ไม่เหม็นมากนัก
- บล็อกของ บ่าวยัณ
- อ่าน 10027 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเก๋
1 สิงหาคม, 2011 - 14:14
Permalink
พี่บ่าวยัณ
น่าสนใจมากค่ะ อย่างนี้ต้อง bookmark :admire: :admire: :admire:
บ่าวยัณ
1 สิงหาคม, 2011 - 14:17
Permalink
ยินดีที่ได้รู้จักครับ
ยินดีที่ได้รู้จักครับ ....ถ้าสนใจ ลองดูครับ
สายพิน
1 สิงหาคม, 2011 - 14:17
Permalink
คุณบ่าวยัณ
คุณบ่าวยัณ ขอบคุณมากกับข้อมูลการทำแกสชีวภาพที่นำมาเสนอ พลอยให้เห็นว่าของทุกอย่างในวันนี้ล้วนมีค่านะคะ หากว่าจัดการเป็น
วิศิษฐ์
1 สิงหาคม, 2011 - 14:21
Permalink
ข้อมูลดี ๆ
เยี่ยมเลยครับ....แบบนี้ขอแบบละเอียด ๆ หน่อยได้ไหมครับ
แจ้ว
1 สิงหาคม, 2011 - 14:35
Permalink
บ่าวอยู่ไหน
บ่าวทำที่ไหนคะ....สาวอยากไปแลค่ะ
ป้าลัด
1 สิงหาคม, 2011 - 16:39
Permalink
เยี่ยมเลยคะ
เยี่ยมเลยคะ ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าจริง ๆ :good-job:
สร
1 สิงหาคม, 2011 - 17:49
Permalink
แก๊สชีวภาพ
บ่าวยัณ อยากทำเหมือนกัน ไปดูงานมาจากวัดป่ายาง อ.เมือง นครศรีฯ กับ ที่ อ.ท่าศาลา เป็นผลงานของรุ่นพี่และคณะ เป็นการผลิตแก๊สจากน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่น(ยางพารา) ซึ่งทีมงานวิจัยได้ทดลองทำสำเร็จเป็นครั้งแรกของไทย(อาจจะครั้งแรกของโลก)ตอนนี้ทำใช้อยู่ประมาณ 5-10 ครัวเรือน ใครสนใจ ทีมงาน ผศ.วรรณชัย พรหมเกิด คณะวิทย์ฯ ม.ราชภัฎนครศรีฯ ซึ่งเป็นทั้งญาติ รุ่นพี่ และเพื่อนบ้าน พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ยินดีติดต่อให้ค่ะ
sorn07(แอ๊ด)gmail(ดอท)com
RUT2518
1 สิงหาคม, 2011 - 18:08
Permalink
แบบนี้
เยี่ยมจริงๆครับ
ครอง
1 สิงหาคม, 2011 - 20:14
Permalink
พลังงานทดแทน
ขอบคุณที่นำแบ่งปันคะ
jo korakod
1 สิงหาคม, 2011 - 20:18
Permalink
แก๊ส
น่าสนใจมากเลยค่ะ
เป็นข้อมูลที่ดูว่าทำได้ไม่ยาก
ขอบุ๊คมาร์คไว้ก่อน
เผื่อวันหนึ่งมีโอกาสทำค่ะ
:admire2:
facebook https://www.facebook.com/ninkmax
หน้า