บอนอีก 2 ชนิด (ที่รู้จัก) ชาวบ้านนิยมนำมาแกงเลียง

หมวดหมู่ของบล็อก: 


บอนเลียงชนิดนี้  ลักษณะลำต้นเหมือนกับบอนทั่ว ๆ ไป แต่จุดสังเกตุตรงกลางใบ ใบแก่จะมีจุดสีม่วงลักษณะเป็นแฉก และเป็นจุดสีม่วงเล็ก ๆ ตามเส้นใบอีก 2-3 จุด (ถ้าเป็นบอนหอมหรือเผือกจุดสีม่วงกลางใบจะมีลักษณะกลม) โคนก้านใบจะมีสีน้ำตาลอมแดง บอนชนิดนี้ค่อนข้างจะพบยาก ผมไปเจอ   คงจะรอดจากน้ำท่วมหนักและท่วมนานตอนเกิดอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา จึงเอามาอนุบาลไว้ เมื่อลำต้นแข็งแรงดีแล้ว จะนำไปคืนสู่ธรรมชาติ ให้เป็นผักของชุมชนอีกครั้ง



บอนเลียงอีกชนิด จะมีลักษณะไม่ค่อยจะเหมือนกับบอนทั่วไป ลักษณะเด่น คือ ก้านใบและใบจะเป็นสีเขียวมรกตเหมือนกัน ผิวใบจะลื่นเป็นมัน และก็ค่อนข้างจะพบยากเหมือนกัน บอนทั้ง 2 ชนิด การนำมาแกงเลียงก็ปรุงเหมือนกับบอนเลียงชนิดแรก แต่เพิ่มขั้นตอนก่อนจะปรุงเล็กน้อย เนื่องจากบอนทั้ง 2 ชนิดนี้ เปลือกหุ้มก้านใบค่อนข้างจะเปราะบาง ในขณะที่ลอกเปลือกออกเปลือกจะขาดง่ายจะลอกออกไม่หมด ดังนั้นเมื่อถึงขั้นตอนที่จะหั่นเป็นชิ้น ๆ จึงต้องใช้มือแทนมีด โดยเด็ดออกมาเป็นท่อน ๆ ความยาวตามต้องการ เด็ดไปแต่จะท่อนก็จะเห็นเปลือกส่วนที่ยังเหลืออยู่จากการลอกครั้งแรกโผล่ออกมาเล็กน้อย ก็จับส่วนนั้นดึงกลับหลังลอกอีกครั้งหนึ่ง เปลือกก็จะหมด ขั้นตอนอื่น ก็เหมือกัน



ส่วนบอนชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านนิยมนำมาแกงเผ็ด ภาพนี้ อ้อดิบดำ (นครศรี ฯ)ชาวบ้านจะนิยมนำมาปรุงเป็นแกงส้มกับปลาน้ำจืด ความคันจะมีเพียงเล็กน้อย (พอรู้สึกเมื่อสัมผัสยาง) เมื่อสุกเนื้อบอนจะนิ่มมากและไม่เละ

ความเห็น

ต้องหามาปลูกบ้างแล้ว :uhuhuh: :uhuhuh:

ถ้าหาพันธุ์ไม่ได้ บอกมาเลยครับ

ใช่บอนมันหรือเปล่าพี่ ที่บ้านแม่ปลูกบอนมันไว้ เอามาแกงเลียงกินหรอยมากเลย

ต้นไหนครับ

แบบนี้ต้องหามาปลูกแล้วครับ


ปลูกเลยน้อง ใส่กระถางก็ได้ดูแลง่าย

เคยทานแต่ทูนค่ะ...แกล้มส้มตำ..ส่วนบอน ไม่กล้าแกงกลัวคัน :sweating:

หน้า