... กว่าง : นักสู้แห่งขุนเขา ...

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 



กว่างโซ้ง



ติดต่อซื้อขายกว่าง



ขายกว่าง แถมอ้อย ห้อยเรียงราย



ตัวนี้ ซื้อขายกันหลักร้อยขึ้น



ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมที่เป็นสำหรับให้กว่างชนกัน ราคา 350 บาท



เปรียบคู่ หาคู่ชน



เวทีประลอง



ไม้คอน เวทีประลอง



ข้างในมีกว่างแม่อีหลุ้ม หรือ กว่างตัวเมีย



กว่างแม่อีหลุ้ม หรือ กว่างตัวเมีย



เจ้าของกว่าง นำกว่างขึ้นสังเวียน



เริ่มการประลอง



 http://www.youtube.com/watch?v=7cqam3GsL08




ชนกว่าง : เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันมาเป็นเวลานานแล้วจนกลายเป็นประเพณี แต่จะเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎ ปัจจุบันยังมีการเล่นกันอยู่แต่อาจจะไม่มากเท่ากับในอดีต
การเล่นชนกว่างของชาวล้านนานิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เฉพาะในฤดูฝนคือประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พอออกพรรษาแล้วก็ค่อยๆเลิกราปล่อยกว่างกลับสู่ธรรมชาติ เพื่อสืบลูกสืบหลานเพื่อการเกิดใหม่ในปีหน้าตามวัฏจักรของมัน


การจับกว่าง
ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม–ตุลาคม เป็นเวลาที่ชาวบ้านในสมัยก่อนมีเวลาว่าง เพราะข้าวที่ปลูกไว้กำลังตั้งท้อง เมื่อว่างจากการงาน ผู้ชายจะสนุกกับการเล่นชนกว่างกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การหากว่างหาได้จากตามสุมทุมพุ่มไม้หรือป่าในเขตของหมู่บ้านที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะในเวลาเช้าจะหาได้ง่ายกว่าเพราะกว่างยังไม่เข้าไปหลบอยู่ใต้


อุปกรณ์ที่ใช้ในการชนกว่าง


1.ไม้คอน คือ ท่อนไม้กลมเป็นเหมือนเวทีประลองของกว่าง ทำด้วยต้นปอ หรือท่อนไม้ฉำฉา ยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงกลางเจาะรู้สำหรับใส่กว่างตัวเมีย จากด้านล่างให้โผล่เฉพาะส่วนหลัง พอให้มีกลิ่น ส่วนด้านล่างใช้เศษผ้าอุดแล้วปิดด้วยฝาไม้ที่ทำเป็นสลักเลื่อนเข้าอีกที เพื่อกันไม่ให้กว่างตัวเมียถอยตัวออก คอนชนิดนี้มีไว้สำหรับฝึกซ้อมให้กว่างชำนาญในการชน


ไม้คอนอีกรูปร่างหนึ่งทำด้วยแกนปอ หรือไม้ชนิดอื่นก็ได้ที่เนื้อไม้ไม่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร ไม้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนหัวและท้ายทำเป็นเดือย บางแห่งเดือยยาว 3 เซนติเมตร บางแห่ง 6 เซนติเมตร ตรงกลางด้านบนเจาะรูขนาด 2 เซนติเมตร ด้านล่างตัดเป็นปาก ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ตัดลึกเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไม้คอน มีสลักทำให้ถอดออกได้เป็นฝาปิด ส่วนที่เหลืออีกครึ่ง เจาะเป็นโพรงเข้าไปหารูเล็ก เพื่อเป็นช่องนำกว่างตัวเมียใส่ ให้หลังของกว่างตัวเมียโผล่ออกรูคอนด้านบน ด้านล่างอุดด้วยเศษผ้าแล้วใช้ฝาปิดไว้ แบ่งระยะจากรูตรงกลางออกไปข้างละเท่าๆ กัน ทำรอยเครื่องหมายกั้นไว้ ไม้คอนจะใช้เป็นที่ฝึกกว่างหรือให้กว่างนี้ชนกัน


2.ไม้ผั่น (ไม้ผั่นกว่าง, ไม้ผัด, ไม้แหล็ด หรือ ไม้ริ้ว) ทำจากไม้จิง หรือไม้ไผ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตรยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบัว หรือปลายแหลม ส่วนโคนเหลาให้เล็ก เป็นที่สำหรับจับถือ ตรงใกล้ที่จับนั้นจะบากลง และเหลาให้กลม แล้วเอาโลหะมาคล้องไว้อย่างหลวมๆ เวลา "ผั่น" หรือปั่น ให้ผั่นให้หมุนกับคอนนั้น จะมีเสียง "กลิ้งๆ" ตลอดเวลาไม้ผั่นนี้ใช้ผั่นหน้ากว่างให้วิ่งไปข้างหน้า เขี่ยข้างกว่างให้กลับหลัง เขี่ยแก้มกว่างให้หันซ้ายหันขวา ถ้ากว่างไม่ยอมสู้ ก็จะใช้เจียดแก้มกว่างให้ร้อนจะได้สู้ต่อไป หรือใช้เมื่อต้องการให้กว่างคึกคะนอง หรือเร่งให้กว่างต่อสู้กัน การผั่นจะใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางหมุนไปมากับคอนให้เกิดเสียงดัง 
 


3.ไม้เคาะจังหวะ จะทำเป็นไม้เล็กๆ คล้ายตะเกียบ ใช้เพื่อเคาะจังหวะ เมื่อเคาะแล้วมีเสียงดัง โป๊กๆๆ
การใช้ไม้ผั่นและไม้เคาะจังหวะ คล้ายกับการโหมโรงของมวยไทยเพื่อให้นักสู้เกิดความคึกคะนอง มีความฮึกเหิมอยากต่อสู้



กติกาชนกว่าง


ก่อนจะนำกว่างมาชนกัน จะต้องนำกว่างมาเทียบขนาด และสัดส่วนก่อนที่เรียกว่า เปรียบคู่ เมื่อตกลงจะนำกว่างมาชนกัน เจ้าของกว่างทั้งคู่ ต้องขอกว่างฝ่ายตรงข้ามมาตรวจดูก่อนว่าไม่มีกลโกง เช่น ใช้น้ำจากพริกขี้หนู ยาหม่อง หรือขี้ยาจากควันบุหรี่มาป้ายเขากว่าง จึงต้องเช็ดปลายเขากว่างคู่ต่อสู้ให้มั่นใจก่อนชน ทั้งนี้แต่ละฝ่าย จะต้องมองดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียด โดยเกรงว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะหักขาหรือเด็ดปลายตีนกว่างของตนเป็นต้น 


เมื่อเปรียบกว่างและตรวจดูกว่างเรียบร้อย ก็ตรวจดูคอน ตรวจกว่างแม่อีหลุ้มว่าอยู่ประจำที่แล้ว แต่ละฝ่ายจะว่างกว่างของตนบนคอน หันหน้าเข้าหากันห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ 1 คืบ ปกติแล้วคอนกว่างจะวางบนขาไขว่ทั้ง 2 ข้าง ขาไขว่สูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้ขาข้างละ 1 อันฝังดิน ส่วนขาข้างบนเจาะรูตรงกลาง สำหรับสอดเดือยคอนที่ยาว ประมาณ 3 เซนติเมตรเข้าไป หมุนคอนไปซ้ายไปขวาได้ อีกมือหนึ่งก็จะหมุนไม้ผั่นกับคอนให้เกิดเสียงดัง 

กว่างเมื่อได้ยินเสียง และได้กลิ่นกว่างแม่อีหลุ้ม ก็จะตรงไปที่กว่างตัวเมีย เมื่อพบกันเข้าก็จะเอาเขาสอดสลับเขากันเรียกว่า "คาม" กว่างตัวที่สอดเขาได้ดีกว่า และแรงมากกว่าก็จะหนีบ และดันคู่ชนไปข้างหน้าไปจนถึงขีดเครื่องหมายปลายคอน นับเป็น 1 คาม เจ้าของกว่างจะนำกว่างให้คลายการหนีบ แล้วนำมาชนกันใหม่ที่กลางคอนเมื่อกว่างตัวใดเจ็บ หรือมีความอดทนน้อยไม่ยอมสู้ จะแสดงออกด้วยการถอยหลัง ไม่ยอมเข้าหากว่างคู่ชน ก็ถือว่าแพ้ แต่ถ้าตามกันจนครบ 12 หรือ 15 คาม แล้วแต่จะตกลงกัน และไม่มีกว่างตัวใดแพ้ จะยกเลิกถือว่าเสมอกันไป บางครั้งเจ้าของอาจจะตกลงกันว่า สู้กันสัก 2-3 คามเป็นการจามกัน (จาม แปลว่า การทดลองชนกัน เพื่อดูลีลาไม่เอาจริง)


คาม คือ อาการที่กว่างใช้เขาหนีบต่อสู้กัน โดยใช้เขาล็อคอีกฝ่ายไว้ และต่างฝ่ายต่างหนีกัน เจ้าของกว่างอาจตกลงกติกากันว่า ในการแข่งขันแต่ละครั้งจะสู้กันกี่คาม เช่น สามคาม ห้าคาม แต่บางครั้ง อาจไม่นับ ความ แต่จะถือการแพ้ชนะจากการที่กว่างอีกฝ่ายถอยและไม่ยอมสู้ บางครั้งสู้กันจนกว่างตายก็มี 


 


แม้โลกของกว่างจะเป็นเวลาเพียงช่วงสั้นๆ  แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงโลกแห่งความเป็นจริงที่สอดคล้องกับชีวิตที่ต้องต่อสู้ แข่งขัน ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

ความเห็น

ทารุณสัตว์หรือเปล่านะ

HAPPY HAPPY

หากเป็นตามธรรมชาติ...นั่นคือความสวยงาม เป็นศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต เป็นการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดและดำรงค์เผ่าพันธุ์...แต่จากสิ่งที่เห็น...เป็นการมีสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น...ไม่ใช่สุขที่แท้จริง... :sweating:

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

ที่บ้าน(พัดลุง)เขาเรียก วัวดิน เป็นสัตว์นำโชค


(ถ้าเขาบินมาอยู่ที่บ้าน) :embarrassed:

sudjai_waitong@hotmail.com
     0805401058

เมื่อเช้าก็บินมาที่บ้านตัวนึงครับ ส่วนเรื่องการทรมาน ผมมองว่าเป็นธรรมชาติของสัตว์ครับ ถ้าไม่เอากันถึงตาย และถ้าทำแบบชาวบ้านคือ เสร็จแล้วปล่อย ก็น่าจะดีนะครับ (พวกตกปลาที่บ่อ นี่สิทรมานของจริง ตกไม่กิน ปล่อยแล้วก็โนคนอื่นตกมาอีก)

สวนจินตนาการ

นำจินตนาการ มาผสานให้เป็นจริง

หน้า