ส่งการบ้าน "ตะขบป่า" พี่สายพิณ

หมวดหมู่ของบล็อก: 


หลังจากที่ได้อ่านเรื่อง เมื่อ “ตะขบป่า”...มาเยี่ยมเมือง จึงได้รู้จักผลไม้ชนิดนี้ แม้ว่าจะยังไม่เคยทานแต่ก็อยากลองเพาะดู ได้รับความกรุณาจากพี่สายพิณส่งเมล็ดตะขบป่าพร้อมทั้งเมล็ดพันธุ์อื่นมาให้เป็นการบ้าน เริ่มลงมือเพาะตะขบตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคมพบปัญหาหลายอย่างให้เรียนรู้ จึงขออนุญาตมาแบ่งปันกันตรงนี้  เริ่มต้นด้วยการแช่น้ำเมล็ดไว้ 1 คืน  แล้วนำไปเพาะบนกระดาษทิชชู  ผ่านไป 3-4 วัน  พบว่ามีราสีดำขึ้นบนกระดาษทิชชู  ทำให้รู้ว่าเห็นเป็นเมล็ดสีดำ  ความจริงคือสีดำนั้นคือเนื้อของลูกตะขบ  จึงแก้ปัญหาด้วยการนำไปล้างน้ำและขัดเนื้อออกให้หมดจนเห็นเฉพาะเปลือกเมล็ดสีขาว 

เนื่องจากเปลือกของเมล็ดแข็งและเล็กมากจึงพยายามทำให้เปลือกแข็งเป็นรอยโดยการใช้กรรไกรตัดเล็บค่อยๆ ขลิบเปลือกออกโดยไม่ให้โดยเนื้อข้างใน  และพยายามปลอกเปลือกของเมล็ดออก  ในขบวนการนี้พบว่าหลายเมล็ดเปลือกกับเนื้อเมล็ดข้างในยังติดกันแน่น  การใช้แรงแกะเปลือกออกทำให้เมล็ดข้างในฉีกขาดบางเมล็ด

เมื่อนำเมล็ดที่ขลิบ / แกะเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งๆ ออกแล้วจึงนำไปเพาะบนกระดาษทิชชูต่อ  เมล็ดที่บอบช้ำจากความพยายามแกะเปลือกออกบวมน้ำ และค่อยๆ เปื่อยไป  แต่มีบางเมล็ดเริ่มมีตุ่มสีขาวเล็กมากๆ งอกออกมาประมาณ 3 สัปดาห์หลังจากที่เริ่มเพาะ  นำเมล็ดที่มีเริ่มงอกเหล่านี้ไปเพาะในดินต่อไปจึงได้ต้นขนาด 3 เซนติเมตรตามภาพข้างต้น  จากจำนวนเมล็ดที่เริ่มเพาะ 22 เมล็ด  ตอนนี้ (28 วันแล้ว) เพิ่งเริ่มงอกเป็นต้นขนาดเล็กแบบนี้ประมาณ 3 ต้นเท่านั้น  มีเมล็ดที่ลีบไม่งอก เมล็ดที่ฉีกขาดจากการแกะเปลือกหุ้มออก และเมล็ดที่ยังไม่งอกโดยไม่ทราบสาเหตุอีกจำนวนหนึ่ง  อัตราการงอกค่อนข้างต่ำอาจจากความไร้ประสบการณ์ของเกษตรกรมือใหม่อย่างผม ถ้าจะให้เพาะใหม่ผมคิดว่าจะทำดังนี้

1. แช่น้ำไว้ประมาณ 1 วันเต็มเพื่อให้เนื้ออุ้มน้ำ และเปื่อย  จากนั้นขัดเอาเนื้อออกให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นราระหว่างเพาะ

2. ใช้กรรไกรขลิบรอบที่เปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งๆ ออกโดยไม่ต้องแกะเปลือกออก

3. เพาะบนกระทบทิชชูใส่กล่องพลาสติก และหุ้มด้วยพลาสติก wrap ของ หรือฝากล่อง (ถ้ามี) เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นออก และกันเชื้อราจากอากาศข้างนอก  คอยดูแลความชื้นด้วยการสเปรย์น้ำเมื่อแห้งเกินไป แต่อย่าให้แฉะมาก (จะเน่า) ถ้าจะให้ดีไม่ควรผสมหลายพันธุ์แบบในรูปข้างล่างเพราะมีระยะเวลางอกไม่เท่ากัน  และเชื้อราที่ติดมาจากเมล็ดพันธุ์อื่นอาจจะไปทำร้ายเมล็ดพันธุ์ของรา

4. เมื่อรากเริ่มงอกให้รีบนำเมล็ดที่งอกไปลงดินในถุงเพาะ  เพราะการย้ายเมล็ดหลังจากที่รากงอกยาวแล้วอาจจะทำให้รากได้รับความกระทบกระเทือน (ผมไม่อยู่บ้าน 4 วัน มีงอกจนยาว 2.5 เซ็นติเมตรต้นนึง แล้วมาย้ายลงดินทีหลัง กำลังลุ้นว่าจะรอดมั๊ย)


ส่วนเมล็ดอื่นๆ ที่เริ่มเพาะพร้อมกันคือ (1) ลูกประขึ้นราสีขาว และค่อยๆ เปื่อยไปจนหมดทั้ง 4 เมล็ด งานนี้สอบตกไว้ค่อยหาเมล็ดประสดที่เพิ่งเก็บมาลองเพาะใหม่ และ (2) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ยังไม่งอกเลยครับแต่เปลือกแข็งด้านนอกเริ่มเป็นสีดำแล้ว  ไม่รู้ว่าจะสอบตกด้วยมั๊ย  คงต้องลุ้นต่อไป

วันนี้ขอส่งการบ้านทั้งที่เพาะขึ้น และเพาะไม่ขึ้นให้ครูสายพิณแค่นี้ก่อนครับ มีความคืบหน้าจะนำเรียนให้ครูสายพิณทราบอีกครั้งครับ

ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง

ความเห็น

ตอนนี้กำลังเพาะรอบ 2 หวังว่าจะมีรอดมากขึ้น(แบ่งเมล็ดออกเป็น 2 ส่วน แบ่งกลัวเพาะที่เดียวตายหมด). ขอเป็นกำลังใจให้เมล็ดบักเบ็นของเพื่อนแดงงอกเร็วๆครับ :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

เอ่อ....เอาเรื่องเหมือนกันแหะ :sweating:

มาลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ นะครับป้าแมวดำ :shy:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

มันคือต้นเดี่ยวกับบักเบ็นบ่ครับ เคยกินแต่ตอนเด็กๆตอนนี้หายากแล้วมั้งแถวบ้านไม่เคยเห็นนานแล้ว

น่าจะเป็นต้นเดียวกันนะครับ ผมได้แต่เมล็ดมาจากพี่สายพิณผู้ใจดี ยังเคยทานผลของต้นนี้เหมือนกัน :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

มาเป็นกำลังใจให้ครับพี่:cheer3:ขอให้งามๆนะครับผม

ขอบคุณมากน้องจุ้ย การบ้านน้องจุ้ยให้มาพี่แบ่งไปปลูกที่สวนรู้สึกจะถูกมดและแมลงจัดการไปก่อน :sweating: เดี๋ยวจะเพาะเมล็ดก่อนแล้วค่อยย้ายไปสวนอีกที

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ติดตามตอนต่อไป :cheer3: :cheer3:

ถ้าไม่สอบตกพวกที่เหลือทั้งหมดก่อนนะ :uhuhuh:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า