เร่เข้ามา...ฟรี ๆ ไม่ขาย แจกอย่างเดียว (เมล็ดพยุง)

หมวดหมู่ของบล็อก: 


****************


ความเห็น

มาชื่นชมครับ แต่ไม่ขอรับ

พยุงเป็นไม้มงคล

ที่สวนปลูกไว้ 2 ต้น สูงท่วมหัวแล้ว :cheer3:

 สวัสดีคะ   มีเมล็ดพันธ์ หรือต้นกล้าแจกไหมคะ อยากขอสัก 10 ต้น

หากคุณให้จริงๆ รบกวนเมลล์บอกได้ไหมคะ จะรับได้อย่างไร ส่งไปที่เมลล์นี้นะคะ

fon_53@hotmail.com

ขอบคุณมากคะ

ฝนLaughing

  ขอด้วยคนครับ

 การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ

รับกันไปปลูกเยอะๆ นะคะ ช่วยลดโลกร้อน ใจเย็น กายเย็น


นำเรื่องราวเกี่ยวกับ ไม้พยูง มาฝากค่ะ                                              พะยูงเป็นชื่อพื้นเมืองทางการของไม้ชนิดนี้ แต่ก็มีการเรียกขานที่แตกต่างกันไป ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น กระยง กระยุง (เขมร – สุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) พะยูงไหม (สระบุรี) ประดู่เสน (ตราด) ประดู่ตม (จันทรบุรี) หีวสีเมาะ (จีน) เป็นต้น (เต็ม สมิตินันท์ 2523) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia cochinchinensis Pierre อยู่ในอนุวงศ์ Papilionaceae วงศ์ Leguminosea มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างประเทศว่า Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม พะยูงจัดว่าเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และยังเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่มีราคาแพงที่สุด ชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากสถิติปริมาณไม้ ที่ทำออกจากป่า ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง 2532 ในปี พ.ศ. 2530 มีการทำไม้พะยูงออกสูงสุด แต่มีปริมาณเพียง 662 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบ กับไม้สัก (37,278 ลบ.ม.) และไม้ประดู่
(51,937 ลบ.ม.) ในปีเดียวกัน (ฝ่ายสถิติป่าไม้ 2532) จึงอาจจะถือได้ว่าไม้พะยูงในประเทศไทย กำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหล่มต่อการสูญพันธ์ หรือสูญสิ้น ในความหลากหลายทางพันธุ์กรรม การอนุรักษ์สายพันธุ์จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนสำหรับไม้ชนิดนี้


ลักษณะทั่วไป                      พะยูงเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร มีช่วงลำต้น 10-15 เมตร


การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า                    เมล็ดพะยูง มีความงันที่เปลือกอยู่บ้าง การเพาะเมล็ดถ้าจะให้ได้ผลดีและมีการงอกที่สม่ำเสมอ จึงควรขจัดความงันที่เปลือกออกด้วยการ ปฏิบัติต่อเมล็ดก่อนเพาะ ด้วยวิธีหนึ่ง อาจจะด้วยการแช่ในน้ำเย็นเป็นเวลา 25 ชม. หลังจากนั้นนำเมล็ด ไปเพาะในกระบะทรายที่เตรียมไว้ กลบเมล็ดด้วยทรายเพียงบาง ๆ รดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้แฉะเมล็ดพะยูงจะงอกหมดภายใน 7 วันหลังจากหว่าน เมื่อเมล็ดพะยูงงอกได้ ประมาณ 10-14 วัน ซึ่งกล้าอ่อน จะมีความสูงราว 1 นิ้ว และมีใบเลี้ยง 1 คู่ ก็สามารถย้ายไปชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ โดยทั่วไป มักใช้ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว เจาะรูปประมาณ 8-12 รู สำหรับวัสดุที่ใช้ในการเพาะชำกล้าไม้ อาจจะมีส่วยผสมที่แตกต่างกันไป แต่จากผลการทดลองพบว่าส่วนผสมระหว่าง ดินตะกอนริมห้วย : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก = 5 : 2 : 2 : 1 มีความเหมาะสมที่สุด (สุคนธ์ สิมศิริ และคณะ 2531


การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก                      พะยูงแม้จะจัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าของไม้ชนิดนี้นับว่ายังอยู่ในอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ไม้เศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น สัก เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสภาพป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร การปลูกเชิงพาณิชย์หรือวนเกษตรเพราะยังมิได้มีนโยบายกำหนดไว้ว่าจะต้องปลูกไม้พะยูงในอัตราส่วนหรือจำนวนเท่าใดของเป้าหมายของการปลูกป่าของแต่ละปี การปลุกไม้พะยูงโดยทั่วไปจึงยังอยู่ในระดับที่ต่ำและมักจะเป็นการปลูกเพื่อการทดลอง สาธิตหรือ จากความสนใจเฉพาะบุคคล


วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม                                       ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้พะยูงคือในช่วงที่เป็นต้นหรือกลางฤดูฝน (ระหว่างพฤษภาคม-สิงหาคม) เพราะจะทำให้กล้าไม้มีอัตราการรอดตายที่สูงและมีระยะเวลา นานพอสำหรับการตั้งตัว การปลูกพะยูงโดยทั่วไปจะปลูกด้วยกล้าไม้ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการปลูกด้วยเหง้า ก่อนจะย้ายปลูกลงในแปลงประมาณ 2 อาทิตย์ ควรลดปริมาณการให้น้ำ (การรดน้ำ) แก่กล้าลง ทั้งนี้เพื่อให้กล้าไม้มีการปรับตัว และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หลังจาก การปลูก ควรได้รับการใส่ปุ๋ยด้วยในปริมาณที่ี่พอเหมาะ (ประมาณต้นละ 1 ช้อนชา) ทั้งเพื่อให้ให้กล้าไม้มีปริมาณธาตุอาหาร ที่เพียงพอในช่วยระยะแรกของ การตั้งตัว และสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้   


                 ไม้พะยูงสามารถปลูกผสมกับไม้ชนิดอื่นได้ แต่พรรณไม้ที่จะปลูกผสมกับพะยูง ควรเป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้เคียงกัน ทั้งอัตราการเจริญเติบโต และความต้องการในสภาพของระบบนิเวศน์ที่คล้ายคลึงกันทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการวิวัฒนาการร่วมกันและลดการแก่งแย่งกันของระบบรากและเรือนยอดในระยะยาว พรรณไม้ที่จะใช้ปลูกร่วมกับพะยูงอาจเป็น ประดู่ มะค่าโมง และแดง เป็นต้น


การใช้ประโยชน์                     ประโยชน์ของไม้พะยูงโดยมากจะอยู่ในรูปของการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามจนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิด หนึ่งในตลาดโลก เนื้อไม้พะยูงมีความละเอียด เหนียวแข็งทนทานและชักเงาได้ดีี มีน้ำมันในตัวจึงมักใช้ทำเครื่อง เรืีอน เครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ในการแกะสลัก และทำด้ามเครื่องมือต่าง ๆ


ข้อจำกัดของไม้ชนิดนี้                     พะยูงแม้จะเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญและสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่โตค่อนข้างช้า พะยูงจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในการปลูกสร้างสวนป่าอย่างจริงจัง 


ข้อเสนอแนะต่อราษฎรและภาคเอกชนที่สนใจในการปลูกไม้ชนิดนี้


                    พะยูงเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่คุ้มค่าแก่การลงทุนและให้ผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ตามคุณภาพของเนื้อไม้นับว่า เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงไม้พะยูงมีแนวโน้มที่จะแตกเป็นพุ่ม ตั้งแต่ในขณะที่มีอายุน้อยเพียง 3-4 ปี ดังนั้นการปลูกควรจะปลูกในระยะชิด เช่น 2 x 2 เมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการบังคับรูปทรงของต้นไม้ให้มีความเปลาตรงมากขึ้นและสะดวกต่อการควบคุมวัชพืช                                                                   


จากหนังสือ เอกสารส่งเสริมการปลูกป่า กองบำรุง กรมป่าไม้
โดย ชัยสิทธิ์ เลี้ยงศิริ และคณะ

อะไรที่ไหน อันความงาม มีอยู่ตาม หมู่ซากผี อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริง นิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตายเอย ฯ

ล่อแหล่มต่อการสูญพันธ์ หรือสูญสิ้น ในความหลากหลายทางพันธุ์กรรม การอนุรักษ์สายพันธุ์จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนสำหรับไม้ชนิดนี้

 

ถ้ามันจะสูญพันธ์อย่างนั้นละก็  ส่งมาให้ด้วยครับ  ที่ยังว่าง  และที่เพื่อนบ้านก็ยังว่าง

:admire: ขอรับด้วยคนครับพื้นที่สวนยังว่างอยู่ครับ ถ้าได้ขอสัก20.30เมล็ดนะครับ

ขอรับด้วยค่ะ จะไปปลูกที่ต่างจังหวัดค่ะ และขอโหวตให้สำหรับน้ำใจดีผู้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกอบกู้โลกค่ะ:good-job:

หน้า