การเริ่มต้น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     


       สวัสดีชาวบ้านสวนทุกท่าน จากที่ซุ่มดู เพื่อน พี่ และน้องๆ หลายๆท่านอยู่นานแสนนาน และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะเป็นเกษตรกรกับเขาบ้าง เลยจัดการแปลงร่างที่ผืนนี้ซะใหม่หมดจดจนแทบจะจำเค้าลางเดิมของมันไม่ได้เลย เชิญทุกท่านชมภาพก่อนที่ที่ดินผืนนี้ตกมาอยู่ในกำมือเราได้เลย



ท้องทุ่งอันเวิ้งว้างเต็มไปด้วยหญ้าวัชพืชหลากหลาย บนเนื้อที่ขนาด 5 ไร่ที่ไร้คนเหลียวแลบรรยากาศมันช่างเขียวขจีได้ใจจริงๆ



 


พรรณพืชไม้น้ำ หมู่ปลาน้อยใหญ่มีให้เห็นอยู่ประปราย




ดอกบัวน้อยชูช่อไสว ช่างสวยงามจับใจ โดยหารู้ไม่ว่าภัยจะมาถึงตัว



ทิวกล้วยน้ำว้าที่ไหวเอนตามแรงลม



ด้านหลังติดลำคลองที่ค่อนข้างกว้างใหญ่พอสมควร แต่ก็รกไม่เบาเหมือนกัน


       มาถึงตรงนี้เชื่อเหลือเกินว่าหลายท่านในบ้านสวนพอเพียงอันอบอุ่นเหล่านี้  คงน่าจะพอจำรูปเหล่านี้ได้บ้างแล้ว  เพราะเคยลงรูป


มาครั้งหนึ่งแล้ว  แต่ตอนนี้ทุกอย่างที่นี่ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนเค้าโครงเดิมจนหมดสิ้น  ผืนน้ำกว้างใหญ่ที่มี  ดอกบัวที่เห็น  


ต้นกกที่เป็นที่พำนักของเหล่าสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย  ล้วนได้หายไปจากผืนดินแห่งนี้เสียแล้ว ด้วยน้ำมือของมนุษย์ตัวน้อยๆอย่าง


เรา  ด้วยไอเดียอันบรรเจิดบวกกับความสามารถอันเอกอุของปฏิมากรผู้รังสรรค์ผลงาน  จึงก่อเกิดผลงานที่เป็นที่กล่าวขานกันของชาว


บ้านและผู้พานพบ  ต่างถามกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเอ็งจะทำอะไร  คำตอบน่ะเหรอ "ไม่รู้สิยังคิดไม่ออก"



น้องบัวได้จากไป ไม่เหลือแม้แต่ร่องรอยให้เห็นต่างหน้า เหลือแนวกล้วยน้ำว้าที่คงอยู่



ก่อเกิดเป็นเกาะกลางน้ำ ที่ถึงตอนนี้ยังไม่รู้เลยว่าจะหาทางข้ามไปอย่างไร





ได้เกาะมาสองเกาะสนุกล่ะทีนี้



คลองด้านหลังที่ดินเป็นเสน่ห์อีกอย่างนึงที่ทำให้ มองดูแล้วมีความสุข



   ก้าวแรกที่เดินของเด็กน้อยก็ยังต้องคอยผู้ใหญ่ประคองฉันใด  ก้าวแรกแห่งความพอเพียงของพื้นดินแห่งนี้ก็คงต้องการท่านผู้รู้ช่วย


ประคองด้วยเช่นกัน  มีสิ่งใดที่ควรชี้แนะได้โปรดจงอย่ารอช้า  สิ่งใดควรตักเตือนหรือห้ามปรามได้โปรดจงอย่ารอรี  ขอบคุณบ้านสวน


พอเพียง


 

ความเห็น

เยี่ยมเลย เปลี่ยนแปลงได้ขนาดนี้ เอาใจช่วยให้คิดออกว่าจะทำอะไรต่อนะคะ ... เคยมีโอกาสได้อ่านเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบหมุนเวียน เขาแบ่งที่เป็นสี่ส่วน หมุนเวียนพืชสี่จำพวก เริ่มที่พืชกินใบ ตามด้วยพืชกินผล หลังเก็บเกี่ยวพืชกินผลแล้วตามด้วยพืชที่ให้หัว และสุดท้ายปลูกถั่วเพื่อปรับปรุงดินอีกครั้งก่อนเข้ารอบใหม่คือปลูกพืชกินใบ


หากว่าแปลงแรกหรือส่วนแรกเป็นจำพวกกินใบ แปลงที่สองเป็นกินผล แปลงที่สามเป็นกินหัว แปลงสุดท้ายเป็นพืชจำพวกถั่ว พอลำดับต่อมาหลังเก็บเกี่ยวก็หมุนเวียนพืชสี่อย่างนี้ตามลำดับจะทำให้พืชได้ธาตุอาหารและมีสภาพความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมกับพืชนั้น ๆ นะคะ


มีลิงค์น่าสนใจค่ะ


1.   Gardening Australia - Fact Sheet: Crop Rotation


www.abc.net.au/gardening/stories/s972741.htm - แคชใกล้เคียง - แปลหน้านี้


2.   Vegetable Garden: Crop Rotation Made Easy | Danny Lipford


www.dannylipford.com/vegetable-garden-crop-rot... - แคชใกล้เคียง - แปลหน้านี้


 

    ที่ตอบคนทั่วไปนั้นว่ายังไม่รู้เช่นกันนั้นเป็นแค่การเลี่ยง  ไม่อยากตอบถึงโครงการที่ได้วาดฝันเอาไว้เกือบสิบปีแล้ว เพราะว่ามันช่างเยอะและพิศดารพันลึกจนยากที่จะอธิบายให้มวลหมู่คนที่ปลูกแต่พืชเชิงเดี่ยวอย่างเดียวมาตลอดชีวิตจะเข้าใจถ่องแท้ได้  ดีไม่ดีคนเหล่านั้นอาจฮาตัวเรายิ่งกว่าดูแก๊งค์สามช่ากันซะอีก  เลยขอตอบคำถามพวกเขาเหล่านั้นด้วยการกะทำซะดีกว่า  ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ให้และน้ำใจที่แบ่งปัน

ห้ามอะไรได้อีก เมื่อจัดการไปแล้ว น่าจะตักบัวตั้งไว้สักกอสองกอ ขุดเสร็จย้ายลงไปตั้งใหม่ ต่อไป ไม่ต้องหาครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

:sweating:  เสียดายแต่ไม่อาจเสียใจได้ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์คราวหลังจะจำไว้เป็นบทเรียนสอนใจ ขอบคุณมากมายสำหรับคำชี้แนะ ยินดีน้อมรับคำติชม ด้วยความเคารพ

กอบัวยังอยู่หรือเปล่าล่ะค่ะ เสียดายแทน ถ้าอยู่ใกล้ ๆ (อีกละ) จะไปเก็บมาปลูกต่อซะเลย ป้าเคยบอกว่าเหง้าบัวถ้ายังไม่นานเกินไป เขาแตกใหม่ได้นะคะ อยากให้ลองนำลงไปฝังในน้ำดู ไว้เก็บมากินสายได้ มีมากก็ขายได้เป็นรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าจะปลูกอย่างอื่นก็ตามสะดวกค่ะ  ดีนะที่กล้วยยังอยู่ Laughing

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

Laughing คิดว่าไม่ช้าไม่นานมันคงก่อเกิดขึ้นมาใหม่ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างทั้งพื้นที่ข้างเคียงก็มีบัวอยู่หลายชนิด และคิดว่าเหง้าเดิมของมันก็คงพอหลงเหลืออยู่บ้าง คงต้องให้เวลาช่วยจัดการ แต่สิ่งที่มั่นใจมากที่สุดคือ ดินแดนแห่งนี้ต้องมีความหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ในอดีตแน่นอน

หน้า