เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
วันนี้จะพาไปชมวัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของชาวเกาหลีโบราณกัน
บ้านโบราณของชาวเกาหลี เป็นบ้านขนาดกระทัดรัด ค่อนข้างเตี้ย อาจเนื่องมาจากลมแรงบ้านเตี้ยจะได้ไม่ต้านลมมากนัก
อีกมุมหนึ่งของบ้านหลังนี้ อยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี
นี่เป็นรูปถ่ายของบ้านดั้งเดิม ก่อนที่เจ้าของบ้านจะบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ฯ
ประตูหน้าบ้าน กลไกในการล็อคประตูใช้วิธีการลั่นดานแบบเดียวกับบ้านเรา
โครงสร้างหลังคา เป็นไม้ท่อนกลมเพื่อรับน้ำหนักได้มาก (อาจเอาไว้รับน้ำหนักหิมะ)
ตัวบ้านลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมล้อมเป็นวง มีบริเวณเปิดโล่งตรงกลาง เมื่อผ่านประตูหน้าบ้านเข้าไปข้างในจะเห็นพื้นที่นั่งเล่นโล่งๆ ตรงหน้า หรืออาจจะใช้เป็นพื้นรับแขกก็เป็นได้ เดาๆเอาเพราะไม่มีใครแนะนำหรือให้ข้อมูลใดๆ
ที่เก็บมีดขอสำหรับทำการเกษตร
ห้องๆหนึ่งไม่รู้ห้องอะไร
ห้องนอนแน่ๆ มีเครื่องนอนอยู่ด้วย มีเตาไฟ(สงสัยเอาไว้ผิง)
ห้องนี้เก็บอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้าน สังเกตุไม้กวาด ใช้ต้นไม้แห้งคล้ายกับหญ้าขัดมอนบ้านเรา
ห้องเขียนหนังสือ
ห้องอาหาร
ห้องครัว
ระบบเตาไฟเป็นแบบระบายควันออกมาด้านนอกครัว โดยมีปล่องควันเตี้ยๆด้านนอกครัว ทำไมไม่ทำปล่องควันสูงๆ ก็ไม่รู้ สำหรับเชื้อเพลิงใช้ไม้ฟืน
ช่วงฤดูหนาวคงต้องสะสมไม้ฟืนกันมากพอดู เพราะเกาหลีหนาวขนาดมีหิมะตกด้วย
ส่วนรางไม้นี้ ผมเดาว่าเป็นรางข้าวหมู
ในบ้านมีข้าวของเครื่องใช้เก็บไว้ทุกมุม
ชาวเกาหลีโบราณคงปลูกข้าวกินเอง ในบ้านจึงมีครกตำข้าวด้วย เหมือนของไทยไหมครับ
ด้านหลังบ้าน จะเห็นพื้นที่วางโอ่งหมักกิมจิ หมักผักดอง ที่ทุกบ้านต้องมี เพราะกิมจิเป็นวัฒนธรรมการกินของเกาหลี สำหรับกำแพงบ้านเขานิยมก่อด้วยก้อนหิน และบ้านจะต้องมีรั้วรอบขอบชิด
ในบริเวณบ้านจะมีคอกไก่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับวิถีชีวิตของชาวนา
สุขาของเขาจะอยู่นอกตัวบ้าน ชิดรั้วเลย คงป้องกันเรื่องกลิ่นนั่นเอง เพราะไม่ใช่ส้วมซึม แต่เป็น......
ส้วมที่เรียกว่า "เว็จ" ดูแล้วของเกาหลีค่อนข้างตื้นมาก เมื่อเทียบกับบ้านเรา ไม่ต้องสงสัยว่ารู้ได้ยัง ทำไมจะไม่รู้เพราะที่บ้านผมใช้เมื่อนานมากแล้วก่อนจะมีส้วมซึมใช้ ที่น่าสนใจสำหรับส้วมเกาหลีคือมีแผ่นไม้สูงขึ้นมาด้านหน้าเข้าใจว่าใช้ป้องกันฉี่กระเซ็นเลอะเทอะเป็นแน่
อีกอาคารที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบ้าน คือ โรงตำข้าว หรือโรงซ้อมข้าว
ข้างในมีกระเดื่องสำหรับตำข้าว
ปลายอีกด้านของกระเดื่องตำข้าว มีลักษณะเป็น 2 ง่าม เอาไว้เหยียบ
องค์ประกอบสุดท้ายของบ้านขาดไม่ได้คือ บ่อน้ำ ประจำบ้าน เป็นบ่อขุด ปากบ่อทำด้วยหินแข็งแรงปิดด้วยฝาไม้กระดาน
- บล็อกของ rose1000
- อ่าน 11055 ครั้ง
ความเห็น
ยัยอิ๋ว
22 พฤศจิกายน, 2012 - 09:59
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
:admire2: วิถีชีวิตชนบทที่ยังอนุรักษ์ไว้
สมจิต
22 พฤศจิกายน, 2012 - 10:26
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
มีคล้ายๆ บ้านเราเลยค่ะลุงโรส
สวนเพชร
22 พฤศจิกายน, 2012 - 14:15
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ขอบคุณมากค่ะ เหมือนได้ไปเที่ยวเองเลย
แดง อุบล
22 พฤศจิกายน, 2012 - 14:18
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ได้ไปเที่ยวกับลุงโรสอีกแล้ว ขอบคุณค่ะ :beg:
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
priraya
22 พฤศจิกายน, 2012 - 15:10
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ป้าลัด
22 พฤศจิกายน, 2012 - 17:21
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
:happy: :happy:
sert
22 พฤศจิกายน, 2012 - 19:31
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ตามมาเที่ยว ด้วยคน
กินอยู่แบบพอเพียง
kampa
22 พฤศจิกายน, 2012 - 19:55
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ชอบครับวัฒนธรรมแบบเก่า ๆ สงบ ร่มรื่น ราบเรียบ น่าอยู่ครับ
นู๋สร้อย
22 พฤศจิกายน, 2012 - 22:09
Permalink
Re: เยือนถิ่นกิมจิ ภาค 2
ชอบเครื่องใช้สอยที่ทำจากไม้ค่ะ....
หน้า