เล่าสู่กันฟัง “เรื่องของวาซาบิ”
วันนี้มาเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องของวาซาบิค่ะ เมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา อ้อยหวานแปลบทความมากมายของเว็ปท่องเที่ยวญีปุ่น แล้วได้อ่านและรับรู้เรื่องราวน่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือฟาร์มวาซาบิที่ญี่ปุ่น อ่านได้ที่นี่ค่ะ
พออ่านเสร็จก็ตามนิสัยเดิมของอ้อยหวาน คืออยากรู้มากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อเล่าให้คุณคุณผู้ชายที่บ้านฟัง แล้วคุณก็บอกมาว่าฟาร์มวาซาบิที่แคนนาดาก็มีนะ หูผึ่งเลยที่นี้ ความอยากรู้ก็เลยต้องคุ้ยเขี่ย หาอ่าน แล้วได้ความรู้ สนุกด้วย วันนี้เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง
วาซาบิ เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง ในตระกูลแบร์สิคาซีแอร์ (Brassicaceae) มีกะหล่ำปลี ฮอสแรดดิส และต้นมัสตาร์ด เป็นพี่น้องร่วมตระกูล
ในร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไปในเมืองไทย อ้อยหวานไม่แน่ใจว่า เขาใช้วาซาบิของแท้กันหรือไม่ เพราะของแท้นั้นแพงมาก ส่วนวาซาบิเทียมที่่ใช้กันนั้นทำมาจาก ฮอสแรดดิส ผงมัสตาร์ด สีสีผสมอาหาร และเสก็ดนิดๆ หน่อยๆของวาซาบิแท้ๆ เห็นเขาว่ากันว่า ของแท้ต้องขูดจากหัวสดๆ แล้วกินภายใน 20 นาที ไม่เช่นนั้ันรสชาติจะหายหมด
ต้นวาซาบิปลูกกันได้ยากมาก ปรกติเป็นไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติตามริมน้ำในป่าหรือบนภูเขา
ฟาร์มวาซาบิมีทำกันอยู่ 2 วิธี คือ
การทำฟาร์มวาซาบิแบบซะวะ ปลูกกึ่งน้ำกึ่งกรวด ต้องมีน้ำบริสุทธิไหลผ่านตลอด แช่ขังอยู่ไม่ได้เลย และอุณหภูมิของ น้ำก็ต้องอยู่ประมาณ 13 องศาด้วย เย็นเจี้ยบเลย
ฟาร์มไดโอะ (Daio) ฟาร์มวาซาบิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ก็ใช้วิธีการปลูกแบบนี้ และว่ากันว่าวาซาบิที่ปลูกวิธีนี้ รสชชาติจะใกล้เคียงกับพวกที่ขึ้นตามธรมชาติมากที่สุด
ฟาร์มวาซาบิไดโอะนี้สวยมาก น่าไปเที่ยวมากๆ อ้อยหวานยังไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ แต่ดูจากรูปแล้ว สวยจริงๆ เขาเปิดให้คนเข้าชมด้วย เสียเงินค่าเข้าเท่าไร่ อันนี้ไม่ทราบค่ะ
อ้อยหวานเอารูปของฟาร์มไดโอะมาจากบล็อกนี้ คุณTokyobling's Blog ถ่ายรูปได้สวยมาก
และจากบล็อกนี้ คุณcommuning with artifice
เป็นอีกบล็อกหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาสาระและรูปสวยๆ มากมาย ขอชื่นชมด้วยใจจริง อ้อยหวานได้เรียนรู้วิธีการเขียนบล็อกจากบล็อกต่างๆ เหล่านี้ และยังได้ซาบซึ้งถึงการให้อย่างแท้จริง ..ให้ความรู้..ให้ความบันเทิง ภาพสวยๆ ของทั้งสองบล็อก คือตัวอย่างของการให้ที่ไร้ขอบเขต คือไม่หวงเลย
มาต่อค่ะ ที่ฟาร์มไดโอะนี้เขาจะกั้นน้ำจากแม่น้ำแบบนี้ แล้วคงจะปล่อยให้ไหลออกสู่แม่น้ำในตอนปลาย
ดูดิ..เหมือนนาข้าวเลย คิดว่าวาซาบิไม่ชอบแดด เลยต้องมีตาข่ายขึงไปตลอดแนว
วิธีทำฟาร์มวาซาบิอีกแบบหนึ่ง แบบโอะกะ (Oka) คือปลูกกันในเต้นส์หรือกรีนเฮ้าส์ แต่เขาว่ากันว่ารสชาติสู้ปลูกด้วยวิธีแรกไม่ได้ ในรูปคือฟาร์มวาซาบิของแคนาดา คงจะต้องปลูกกับกรวดเหมือนกัน แต่คิดว่าข้างล่างกรวดหินคงเป็นดิน
ฟาร์ม วาซาบิแบบหลังนี้ นอกจากมีที่แคนาดาแล้ว ยังมีคนทำกันอยู่หลายแห่งทั่วโลก เช่นสหรัฐอเมริกา ที่อังกฤษเจ้าของฟาร์มวอเตอร์เครส ได้เปลี่ยนจากปลูกวอเตอร์เครส มาปลูกวาซาบิแทน และส่งขายทั่วยุโรบ
ส่วนออสเตรเลียได้ทำเป็นฟาร์มไฮโดรโพนิค แล้วได้ผลดีเสียด้วย กลายเป็นฟาร์มที่ให้ผลิตผลสูงที่สุดในประเทศออสเตรเลีย
วาซาบินี้ นอกจากกินหัว (ราก) แล้ว เขาว่าใบ ก้าน และดอก ยังกินอร่อยด้วย กินสดเป็นสลัด ผัดน้ำมัน ลวกกินกับซีอิ้ว ตากแห้งใส่กับอาหารอื่นๆ หรือหมักดองเป็นไวน์และเบียร์
อันนี้เอารูปมาให้ดู ว่าเขาเอาวาซาบิมาทำอะไรบ้าง
***************************************************
อ่านบล็อก ฟาร์มไดโอะ (Daio) ฟาร์มวาซาบิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น อีกบล็อกหนึ่งของอ้อยหวานได้ที่นี่่ค่ะ เผชิญหน้ากับวาซาบิตัวจริง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ
https://communingwithartifice.wordpress.com/tag/wasabi/
http://tokyobling.wordpress.com/tag/wasabi/
http://www.steamykitchen.com/15015-real-fresh-wasabi.html
http://www.yuppiechef.com/spatula/wonderful-wasabi/
I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.
ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
- บล็อกของ อ้อยหวาน
- อ่าน 37481 ครั้ง
ความเห็น
วุฒิ ทักษิณธรรม
13 มีนาคม, 2014 - 18:10
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง “เรื่องของวาซาบิ”
สวัสดีครับ ผมสมาชิกใหม่ ได้อ่านเรื่องวาซาบิแล้วได้ความรู้เยอะเลยครับ ได้ไอเดียดีๆ วิธีปลูกต้นไม้น้ำบางชนิดด้วยครับ
linthai6611
10 สิงหาคม, 2014 - 16:00
Permalink
Re: เล่าสู่กันฟัง “เรื่องของวาซาบิ”
เมืองไทยน่าจะปลูกกันให้เยอะๆนะคะ เพราะคนไทยนิยมทานปลาดิบ ข้าวปั้น ซึ่งจะมีวาซาบิเป็นเครื่องจิ้มกะน้ำซีอิ้วญี่ปุ่น ถ้าคนกรุงฯหรือเกษตรกรปลูกวาซาบิแบบปลอดสารพิษได้ ร้านอาหารภัตตาคารญี่ปุ่นก็จะได้ไม่ต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ลดต้นทุนในการคิดราคาค่าอาหารแต่ละเมนูลงได้เยอะเลยค่ะ
อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน......บยันอดทน ประหยัด อดออม..
..หมั่นให้ทาน รักษาศีล และภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)เพื่อความหลุดพ้นแห่งกรรม..
หน้า