สวรรค์บนดิน HEAVEN ON EARTH
หมวดหมู่ของบล็อก:
Keywords:
แคทลียาป่า กลิ่นหอมค่ะ
ชายผ้าสีดา และกล้วยไม้ เกาะต้นลำใย
กล้วยไม้ป่า เกาะรูปปั้น
เถาวัลย์เปรียง และพวงครามเข้ายึดพื้นที่หลังคาทั้งหมด ทำให้อากาศบริเวณนี้เย็นสบาย มีกลิ่นหอม อ่อน ๆ ของ ดอกหอมหมื่นลี้ ด้วยค่ะ
มอนสเตร่า
ผักไผ่ ใช้ในครัวค่ะ
เล็บมือนาง ขอพื้นที่ด้านหนึ่งของหลังคา
ต้นหว้า "ลิงว่าหว้าเห็นหว้า หว่าดิ้นโดดตาม"
เ
ฟิโลหูช้าง ส่วนใบยาว ๆ เรียก ฟิโลใบพิณ
ให้อาหารบ่ออนุบาลปลาดุก
ขอบคุณที่กรุณา เยี่ยมชมค่ะ
- บล็อกของ kanvara
- อ่าน 8414 ครั้ง
ความเห็น
Tui
10 สิงหาคม, 2010 - 08:04
Permalink
เห็นแล้วห้ามใจไม่ไหวเลยครับ
เห็นแล้วห้ามใจไม่ไหวเลยครับ ผมไปจ้องๆมองๆ กล้วยไม้ในร้าน มาหลายวัน เห็นกล้วยไม้ดอกสวยๆของพี่ kanvara อดใจไม่ไหวจริงๆครับ คงต้องไปซื้อมาบ้างแล้วอะครับ ขอบคุณสำหรับรูปสวยๆครับ
แดง อุบล
10 สิงหาคม, 2010 - 10:16
Permalink
ความสุข
ความสุขมันอยู่รอบ ๆ ตัวเราค่ะ
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
มาย
10 สิงหาคม, 2010 - 10:57
Permalink
น่าอยู่
น่าอยู่.. น่าไปเยี่ยม..
there is a will , there is a way .
kanvara
10 สิงหาคม, 2010 - 13:16
Permalink
สามีอยู่ที่ อังกฤษ
สามีอยู่ที่ อังกฤษ เริ่มเข้ามาดูความเคลื่อนไหว ของ BLOG ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าอ่านภาษาไทยไม่ได้ เราทั้งคู่ฝันร่วมกันว่าเมื่อ รีไทร์ จากงานประจำ ในปี สองปีนี้ จะมาใช้ชีวิตร่วมกัน แบบพอเพียง ที่นี่ กำลังคิดว่า จะเพิ่มชื่อต้นไม้ เป็นภาษาอังกฤษ เท่าที่จะทำได้ น่ะค่ะ แฟนอยากโชว์เพื่อน ๆ ที่โน่นด้วยค่ะ
kanvara
วัฒนา เปรมจิตร
12 สิงหาคม, 2010 - 22:09
Permalink
อยากได้
ผมสนใจเถาวัลย์เปรียง หาได้ที่ไหนครับเเล้ว ปลูกยังไง?ครับ ผมอยากจะกลับมาปลูกบนหลังคาบ้านที่ กาญจนบุรีเพื่อป้องกันหลังคาบ้านปลิวเมื่อมีพายุครับและก็ป้องกันความร้อนได้ด้วย ที่กาญจนฯ
หน้าร้อนจะร้อนมากครับ และประโยช์นทางด้านสมุนไพร?มีสรรพคุณอะไรบ้างคร้บ ขอรบกวนให้คำแนะนำด้วยนะครับ คุณครู
ทรัพย์สมบัติ คือภาระของความใหญ่โต สวัสดิภาพ คือความสมบูรณ์ ของชีวิต ดร กรุณา กุศลสัย
kanvara
13 สิงหาคม, 2010 - 21:26
Permalink
ให้ อากู๋ ช่วยค่ะ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสรรพคุณ"เถาวัลย์เปรียง"แก้าปวดเมื่อย รักษาโรคข้อเสื่อม ใช้ง่ายและสะดวก
วานนี้(3 พ.ค.) นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 ล้านคน พบมากในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่า และไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมคือการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย ได้แก่ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงคือระคายเคืองและทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง
ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร"เถาวัลย์เปรียง"ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งผลการวิจัยเถาวัลย์เปรียงพบสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยก่อนหน้านี้ ได้ทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบมีความปลอดภัยสูง ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมพบว่า ผู้ป่วยได้รับยาเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียด แน่นท้องซึ่งกลุ่มที่ได้ยาแผนปัจจุบันจะมีอาการเหล่านี้
นพ.มานิต กล่าวว่าเมื่อเปรียบเทียบราคาสารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400 มิลลิกรัมกับยาแก้อักเสบ NSAIDS พบว่า แคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาท ส่วนยากลุ่ม NSAIDS ที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4-6 เท่า
ขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย). เพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาและอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การเภสัชกรรมสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง
โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 0-2951-0000 ต่อ 99386 ในวันเวลาราชการ
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
kanvara
หน้า