อย่างไร...ไขมันจึงพอเพียง
“อย่างไร...ไขมันจึงพอเพียง”
ฟังข่าวสุขภาพเช้าวันนี้ คุยเรื่องไขมัน ...ใช่ อายุที่เยอะขึ้น เริ่มต้องห่วงไขมัน แต่ก็ไม่ใช่เท่านั้น สาวน้อยทั้งหลายก็ห่วงด้วย เพราะไม่อยากถูกระบุว่าอ้วน หรือ แม้แค่คำว่าท้วม
...พอเพียงจริงๆ แต่ไม่พอดี...
ข้อมูลความรู้ที่น่าสนใจมาก ทุกส่วนของร่างกายต้องอาศัยไขมันทั้งสิ้น แม้แต่ในสมอง ก็เป็นก้อนไขมัน จำได้วัยเด็กเคยกินสมองหมูตุ๋นยาจีน นัยว่าบำรุงสมองให้ไม่พิการ ถ้ากินในวัยผู้ใหญ่จะทำให้ไขมันในเลือดสูง จริงเท็จแค่ไหน ก็ต้องเรียนรู้ดูกันไป
โดยเฉพาะ คำว่า โคเสเตอรอลสูง มาจากไหน
หารู้ไม่ว่า
80%ของโคเลสเตอรอล ตับของเราสร้างขึ้นมาเอง
สมองต้องใช้ถึง 70% หากโคเลสเตอรอลต่ำ ความจำจะไม่ดี
โคเลสเตอรอลอีก15-20% ที่เหลือร่างกายได้รับจากอาหารที่กินเข้าไป ตับจะสร้างเพิ่มตามความต้องการของร่างกาย
เซล์ลทุกเซล์ลในร่างกายต้องการโคเลสเตอรอล
การสร้างสเตียรอยด์ในร่างกายก็ต้องใช้โคเลสเตอรอล ...เวลาตกใจยกโอ่งได้ก็อาศัยสเตียรอยด์ที่มาจากโคเลสเตอรอล
ถ้าขาดโคเลสเตอรอลหรือโคเลสเตอรอลต่ำหรือน้อย ร่างกายก็จะสู้โรคยาก คิดอ่านช้า เลือดจาง
ยังฮอร์โมนต่างๆในร่างกายอีก กว่าจะได้มาก็ต้องมีโคเลสเตอรอลเป็นตัวประกอบ
โคเลสเตอรอลจีงมีคุณค่ามาก
แต่เพราะว่าใครบางคนต้องการขายยาหรือเปล่าจึงกล่าวหาว่าเขาไม่ดี
LDL HDL ใครดีใครเลวจริงหรือ
ข้อมูลอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ถูกแจง ไม่ได้ถ่ายทอดให้มากพอที่จะเกิดความเข้าใจ
...โคเลสเตอรอลที่ตับสร้างขึ้นนั้น มี LDL(ที่ถูกระบุว่าเป็นไขมันเลว) แต่แท้จริงLDLทำหน้าที่เสมือนรถบรรทุกออกจากตับส่งไปทั่วร่างกาย เมื่อร่างกายใช้งานหรือได้โคเลสเตอรอลเพียงพอ HDLจะทำหน้าที่เป็นรถบรรทุกขนโคเลสเตอรอลส่วนเกินกลับมาที่ตับ ตับก็เปลี่ยนโคเลสเตอรอลนั้นมาย่อยไขมันในรูปของน้ำดี และนอกจากนี้HDLยังทำหน้าที่ต้านการอักเสบ
รู้ข้อมูลจริงหรือยังจึงสรุป!!!
ทุกวันนี้ เรากินน้ำมันจากพืชล้มลุก เช่น ถั่วเหลือง คำฝอย ทานตะวัน ซี่งมี โอเมก้า6 มากไป ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย (อาหารในทุกวันนี้มี โอเมก้า 6 ทั้งในข้าวกล้อง ข้าวฟ่าง ในอาหารเสริมที่นิยมซื้อเสริมกินเช่น evening prime rose ที่จริงต้องกินให้สมดุล ควรกินไขมันจากพืชยืนต้น เช่น มะพร้าว น้ำมันปาล์มบ้าง+++) ควรกินอาหารพวกโอเมก้า3ที่มีฤทธิ์ทำให้การอักเสบลดลงจะควบคุมสมดุลซึ่งกันและกัน
สัดส่วน โอเมก้า3:โอเมก้า6 ดี่ที่สุดควรอยู่ที่ 1:1 ไม่ควรเกิน 1:3 หรือ 1:4
โอเมก้า3 ได้มาจากน้ำมันตับปลา(ปลาทะเลน้ำลึก) งาขี้ม้อน/ขี้ม้อด(perilla) ที่มีลักษณะคล้ายงาดำ เมล็ดกลมและเล็กกว่า ปลูกได้ที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ซึ่งต้องฝากความหวังไว้ที่นักวิชาการที่จะศึกษา โคเลสเตอรอลจากพืช เมืองไทยมีพืชมากมาย
โอเมก้า3 จากพืช(เช่นงาขี้ม้อน/ขี้ม้อด)จะอยู่ในรูปสารตั้งต้นที่จะนำไปสู่การเป็นโอเมก้า3 ... เพื่อนำไปสู่การต้านการอักเสบในระบบต่างๆของร่างกาย
มาถึงบรรทัดนี้ อยากบอกว่า ยังไม่จบ ... ตราบเท่าที่เราจะเรียนรู้ต่อ ลงมือปฏิบัติให้เกิดความรู้ที่พอเพียง
และจากประโยคที่ว่า
“ที่จริงต้องกินให้สมดุล ควรกินไขมันจากพืชยืนต้น เช่น มะพร้าว น้ำมันปาล์มบ้าง”
ประโยคนี้ช่วยเป็นช่องทางให้บอกเรื่องที่ เคยมีผู้รู้เล่าไว้ ว่า ยังมีเมล็ดถั่วอายุยาว เมล็ดพืช ที่เป็นไม้ยืนต้น ให้กิน ได้ทั้งโปรตีน และไขมันเป็นต้นทุนให้สุขภาพได้เป็นอย่างไร วันนี้ นำเสนอ สองอย่าง
กระบก และ มะค่าโมง
เพาะให้งอก โดยกลบในขี้เถ้าแกลบ ให้รับแดดได้พอ รดน้ำวันละครั้ง อาจช้าสักนิดแต่ได้กินเร็วกว่าปลูกผัก เมื่อรากงอก พลังชีวิตของเมล็ดพืชเริ่มทำงาน (เอ็นไซม์ในเมล็ดพืช)
เอามาปรุงเป็นอาหารได้ เป็นการนำสิ่งที่มีชีวิต มาต่อชีวิต
บางเมล็ดก็ทิ้งให้โตเป็นต้น
กระบกเมล็ดงอก กินดิบก็ได้ ส่วนมะค่าโมงความว่ามีสารบางตัวที่ควรขจัดออกไปด้วยความร้อน โดยต้มให้สุก น้ำที่ต้มให้เททิ้ง เมล็ดมะค่าโมงกินวันละไม่ควรเกินสองเมล็ด(ใหม่ๆให้ฝึกกินทีละน้อยก่อน เนื่องจากระบบย่อยยังไม่คุ้นเคย หลังจากนั้นเต็มที่ไม่เกินสองเมล็ด)
เพราะอาหารเป็นหนึ่งในโลก เมล็ดพืชยืนต้นนี้ไม่ตัดแต่งพันธุกรรม ระยะเวลาสะสมธาตุอาหารยาวนาน เป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้คนที่กินแข็งแรงเช่นเดียวกับสิ่งที่กิน และเมื่อคนกิน คนก็จะปลูกต่อ
ราคาไม่แพง และได้กำไรเมื่อสุขภาพแข็งแรง ก็ไม่ต้องสูญเสียเงินทองเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษา ไม่ต้องเอาเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตจ่ายเป็นค่าสุขภาพ...
- บล็อกของ สายพิน
- อ่าน 6705 ครั้ง
ความเห็น
สายพิน
27 สิงหาคม, 2010 - 16:15
Permalink
นั่นซิคะ คุณปุ๊ก
นั่นซิคะ คุณปุ๊ก ถ้าตามที่เข้าใจไขมันที่น้อยไปมีผลทำให้เกิดความจำไม่แม่นยำ ได้ เคยมีข้อมูลน่ะค่ะ ว่าเด็กที่กำลังโตถ้าได้อาหารครบ ไขมันเพียงพอ จะช่วยให้การเจริญของสมองดีน่ะค่ะ แต่ว่าคุณปุ๊กตรวจผลเลือดแล้วลองดูค่าHDLด้วยนะคะ(ติดตามข้อมูลต่อเนื่องได้น่ะค่ะ ที่ “อย่างไร...ไขมันจึงพอเพียง(2)”
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
25 สิงหาคม, 2010 - 20:45
Permalink
ขอบคุณที่นำข้อมูลมาให้ค่ะ
อยากเสนออีกมุมมองหนึ่งบ้างนะคะพี่สายพิน คงไม่ว่ากัน
จากการศึกษาทางโภชนาการ พบว่ายังมีข้อมูลบางประการที่คุณหมอท่านนี้ไม่ได้ระบุชัดเจน และอาจทำให้พี่สายพิน ลุง และพี่น้องเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้าง
แก้วเชื่อว่าคุณหมอส่วนใหญ่ยังพึ่งพิงนักโภชนาการบำบัดอยู่มาก และคุณหมอหลายๆท่าน.. ตัวท่านเองก็ยังมิได้รู้กระจ่างทุกเรื่องในงานโภชนศาสตร์ที่แท้จริง
คงยังไม่อาจสรุปจากความเห็นของคุณหมอท่านนี้ได้ ว่าถูกต้องทั้งหมดมั๊ย เพราะคุณหมอท่านอื่นๆ อาจไม่ได้คิดเช่นนี้แน่นอน
เป็นแค่มุมมองของแก้วนะคะ พี่สายพินอย่าถือสา
สายพิน
27 สิงหาคม, 2010 - 16:07
Permalink
ขอบคุณมากๆค่ะ คุณแก้ว
ขอบคุณมากๆค่ะ คุณแก้ว ที่ให้ความคิดเห็น มุมอง และข้อมูลดีๆ อีกด้านหนึ่งค่ะ เป็นประโยชน์มากๆและได้เรียนรู้ต่อยอดน่ะค่ะ
เคยมีโอกาสคุยกับผู้รู้ซึ่งท่านเอาตัวเองเข้าไปทดลองปรับเปลี่ยนสุขภาพด้วยอาหารที่ต่างจากตำรากล่าวไว้ และท่านก็ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เป็นความแตกต่างของการปฏิบัติจริงบนพื้นฐานความเชื่อ การสังเกต ปรัชญาการคิดของท่าน กับการปฏิบัติในวิถีสุขภาพตะวันตกที่เติบโตในเมืองไทยน่ะค่ะ ...แหม แต่ว่าที่คุยให้ฟังนี้ไม่ได้เกี่ยวกับคุณหมอแผนปัจจุบันท่านนี้ที่ออกรายการโทรทัศน์ที่ว่านี้นะคะ
อีกเรื่องค่ะมีข้อมูลน่าสนใจเพิ่มค่ะ เกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว โดยใส่คำค้น ใน google
“ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว แห่งประเทศไทย” www.cdcot.org/
หรือ “ณรงค์ โฉมเฉลา ไขมันในเลือด วิจัย “
หรือ “ดำรง เชี่ยวศิลป์ ไขมันในเลือด วิจัย”
ทราบมาว่า ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ท่านเป็นนักวิจัย และมีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องมะพร้าวน่ะค่ะ
อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณคุณแก้วเป็นอย่างยิ่ง ที่มีมุมมองดีๆมาให้ ถ้าถือสาต้องถือว่าสายพินพลาดโอกาสทองที่คุณแก้วยื่นให้เชียวล่ะค่ะ ขอขอบคุณคุณแก้วมากๆอีกครั้งนะคะ
นาย
25 สิงหาคม, 2010 - 20:48
Permalink
มิหน้า
สุขภาพถึงแข็งแรง
ขออภัยและขอบคุณค่ะ
สายพิน
27 สิงหาคม, 2010 - 16:16
Permalink
ขอบคุณค่ะ คุณ นาย
ขอบคุณค่ะ คุณ นาย ที่แวะเยี่ยมชม อยากเชิญชมภาคสองด้วยค่ะ ในบล็อก เรื่อง “อย่างไร...ไขมันจึงพอเพียง(2)...”นะคะ
ยายอิ๊ด
25 สิงหาคม, 2010 - 21:46
Permalink
อย่างนี้ต้องหาเพิ่ม
ยายอิ๊ดเพาะไปเป็นต้นหมดแล้วที่พี่กุหลาบพันปีให้มา สงสัยต้องหาใหม่ มาลองแล้วค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
สายพิน
27 สิงหาคม, 2010 - 16:20
Permalink
เยี่ยมเลยค่ะ คุณ...ยายอิ๊ด
เยี่ยมเลยค่ะ คุณ...ยายอิ๊ด
มะค่าโมงเมื่อเพาะงอกแล้วต้องทำให้สุกโดยต้มน้ำร้อนเทน้ำที่ต้มก่อนนะคะ แล้วเอาไปปรุงอาหาร ที่เคยทำใช้ฝานบางๆ จากนั้นหั่นฝอยหรือสับๆเอาน่ะค่ะ (ช่วยย่อยก่อนเข้าปาก เพราะว่าเหนียวน่ะค่ะ) หลังจากนั้นเอาผสมกับถั่วที่เพาะงอกอื่น พร้อมเห็ด ทำเป็นแหนมถั่วน่ะค่ะ รสชาติใช้ได้ และรู้สึกได้ดูแลร่างกายที่ซื่อสัตย์และรับใช้เรามาเป็นอย่างดี
ขอบคุณนะคะที่แวะเยี่ยมชมน่ะค่ะ
Tui
26 สิงหาคม, 2010 - 14:20
Permalink
ขอบคุณ สำหรับข้อมูล ครับ
ขอบคุณ สำหรับข้อมูล ครับ
สายพิน
18 กันยายน, 2010 - 13:45
Permalink
ค่ะ คุณตุ้ย
ค่ะ คุณตุ้ย ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมน่ะค่ะ
คุณตุ้ยหากระบกที่ออสเตรเลียยากอย่างไร บอกเล่ากันบ้างนะคะ
หน้า