เทคนิคการผลิตผักปลอดภัยโดยการจัดการองค์รวม ผักคื่นฉ่าย (ผักที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับสวนผักปลอดภัย)
คำนำ การอธิบาย เทคนิคการผลิตผักปลอดภัย คื่นฉ่าย โดยการจัดการองค์รวม จำเป็นต้องแบ่งออกเป็น ๓-๔ตอน เพราะถ้านำมาอธิบายในตอนเดียว จะทำให้เกิดความสับสน และเนื้อหามากเกินไป เนื่องจากเป็นพืชที่สำคัญที่สุดของสวน มี่เนื้อหาสาระที่เกี่่ยวข้องมาก หลายๆส่วน ได้นำรูปภาพประกอบ พร้อมนำเสนอวีดีโอ การเพาะเมล็ด คื่นฉ่าย ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
Link to video YouTube การเพาะเมล็ด คื่นฉ่าย >>> http://www.youtube.com/watch?v=b2YGmv53ns4
*****************************************************************************
เทคนิคการจัดการองค์รวม การปลูกผักปลอดภัย พืชที่สำคัญที่สุด คือ คื่นฉ่าย เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำการจัดการองค์รวมมาใช้ ไม่ว่าจะในด้าน การเลือกชนิดพืช สายพันธุ์ วิธีปลูก ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และการเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของพืชผัก ในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโตของคื่นฉ่าย เป็นต้น
พืชแรก ที่จะนำเสนอ คงจะนี้ไม่พ้น พืชผักเบอร์ ๑ ของสวน แต่ไม่ค่อยได้นำเสนอมากนัก คือ คื่นฉ่าย เป็นพืชที่สำคัญในทุกๆด้าน ทั้งความต้องการ ปริมาณขายมากมาย กว่า ๑๕๐๐๐ กก. ต่อปี แม้ในช่วงฤดูหนาว ที่ราคา จะค่อนข้างถูก ๒๐-๕๐บาท แต่นอกจากช่วงนั้น ราคา จะอยู่ระหว่าง ๕๐-๒๐๐บาท โดยปัจจุบัน ราคาส่ง กก. ละ ๑๐๐บาท ราคาขายปลีก ๑๒๕-๑๕๐บาท
ข้อมูลพื้นฐาน
คื่นฉ่าย(Chinese Celery) ใช้สายพันธุ์ต้นขาวกว่า ๘๐% ขึ้นอยู่กับฤดูกาลเนื่องจากเป็นการผลิตเป็นการค้า(เด็มรูปแบบ และเป็นผักอันดับหนึ่งของสวน) จึงใช้สายพันธุ์ ประมาณ ๕-๑๐สายพันธุ์ แต่จะมี สองสายพันธุ์ เป็นสำคัญ คือ คื่นฉ่ายต้นขาว ราชพฤกษ์ และกรองทอง เป็นหลัก นอกจากนั้นในบางฤดูกาล จะมีสายพันธุ์ ไทรทอง และพันธุ์อื่นๆ ตามแต่ทีมงานจะนำเข้าทดสอบต่อเนือง
จะเพาะกล้าในถาดเพาะ ๑๐๔ และ ๑๔๔ช่องหลุม ต่อถาดเพาะ โดยหยอดเมล็ด ๘-๑๐เมล็ด ต่อช่องหลุม วัสดุเพาะจะทำเอง โดยใช้ แกลบดำ วัสดุเพาะเก่า ปุ๋ยหมักตื่นตัวจาก กากกาแฟ เป็นส่วนผสม โดยมีอายุในช่วงกล้า ประมาณ ๓๕-๔๕วัน จึงนำไปย้ายปลูกในแปลง และในถุงดำต่อไป
ทำการเพาะเมล็ดคื่นฉ่ายทุกๆวัน ปกติ ๒๐ถาดเพาะ ต่อวัน แต่ในช่วงที่สำคัญที่สุด คือ เทศกาลเกี่ยวข้าว และเทศกาลฤดูหนาว จะเพิ่ม อีก ๕เท่า คือเป็น วันละ ๑๐๐ถาดเพาะ ตั้งแต่ ต้นเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน และอีกช่วงหนึ่งคือ เมษายน-มิถุนายน ซึ่งไม่ว่า จะฤดูฝน หรือร้อน ก็จะต้องเพาะกล้า ใต้โรงเรือน หรือเพิง กระเบื้องไฟเบอร์ และกระเบื้องโพลี่ฯ
เป็นการลงทุน และใช้ประสบการณ์ของทีมงาน และความอดทน สูงมาก แต่จำเป็นมาก เพราะถ้าได้ต้นกล้าที่แข็งแรง สมบูรณ์ การผลิตก็จะง่าย และได้ผลผลิตสูงตามมาตรฐาน
ระยะปลูกในแปลง ๑๕ซม. ระหว่างแถว และ ๗-๘ซม. ระหว่างต้น ส่วนในถุงดำ ปลูก ๔-๕หลุมต่อถุง มีอายุในการเก็บเกี่ยว ๓๐-๔๕วัน ขึ้นอยู่กับ วิธีการ ฤดูกาล และสายพันธุ์
***************************************************************************
ต้องใช้ถุงดำขนาด ๖คูณ ๑๒นิ้ว ในปีนี้ร่วมกับแปลงปลูกมากมาย มหาศาล ตามแผนที่วางไว้ กว่า ๕๐๐๐๐ถุง โดยใช้หลักคำนวณดังนี้ หนึ่งหน่วย (๒๕๐ถุง หรือ๑๐ตร.ม.) จะได้ ประมาณ ๒.๕ กก. คื่นฉ่าย ในฤดูฝน และได้ ๕.๐๐กก. คื่นฉ่ายในฤดูหนาว ต่อหนึ่งหน่วย ดังนั้น ๕๐๐๐๐ถุง( เท่ากับ ๒๐๐หน่วย) จะได้ผลผลิต คื่นฉ่าย ๕๐๐-๑๐๐๐กก. ต่อหนึ่งรอบการผลิต (๔๕วัน) ถ้าจัดการดีๆ อย่างมีระบบ จะได้ ๘รอบต่อปี(สูงสุด) เท่ากับ สามารถ ได้ผลผลิตจากถุงดำ ๔๐๐๐-๘๐๐๐กก. เมื่อรวมกับในแปลงปลูก ก็จะได้ ประมาณ ๒๐๐๐๐กก. ต่อปี(ตัวเลขคำนวณจากกระดาษ แต่ทำจริงๆ ไม่่เคยได้เกินกว่า ๗๐๐๐กก. สักปี)
การควบคุมเพลี้ยอ่อนด้วยการฉีดน้ำฝอยแรง
ก่อน และหลังการฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมเพลี้ยอ่อน
และปัญหาไส้เดือนฝอย เป็น ปัญหาสำคัญมาก แต่ด้วยการทำการทดลอง และทดลองผลิตมายาวนาน ทำให้ คุณภาพ และผลผลิตของสวน อยู่ในระดับมาตรฐาน เป็นที่ต้องการ และยอมรับของผู้บริโภคทุกระดับ จะมีปัญหาเพียงประการเดียวคือ ผลิตไม่พอ และไม่ทันต่อความต้องการ
สวนผักปลอดภัยทุกๆสวน จำเป็นต้องเรียนรู้ และผลิต คื่นฉ่าย เป็นผักปลอดภัยให้ได้ จึงจะถือว่า สอบผ่านขั้นต้น ในการก้าวเข้าสู่ มืออาชีพการผลิตผักปลอดภัย ในระยะแรก อาจจะต้องใข้เวลา ๒-๓ปีแรก ลองผลิต ๑๐๐๐-๒๐๐๐กก. ต่อปีก่อนเมื่อมีความพร้อม เข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง ของคื่นฉ่าย จึงค่อยขยายกำลังการผลิตตามแต่จะสามารถส่งตลาดได้ ในปลายปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ สวนสองโสกได้ตั้ง เป้าหมายการผลิตไว้สูงสุด ถึง ๒๐๐๐กก. ต่อเดือน หรือ ๒๔๐๐๐กก. ต่อปี คาดหมายราคาเฉลี่ยทั้งปีที่ ๖๐-๗๐บาท ต่อ กก. ซึ่งจะมีรายได้ ประมาณ ๑๔๔๐๐๐๐-๑๖๘๐๐๐๐ บาท ต่อปี (ซึ่งเป็นรายได้ และผลผลิตที่ตั้งไว้สูงทั้งๆที่ยากจะผลิตจริงได้เกินกว่า ๘๐๐กก. ต่อเดือน ต่อเนื่องกัน) เพราะได้ ลงทุน เพิ่มพิเศษ ๓๐๐๐๐๐-๔๐๐๐๐๐บาท ช่วงที่ผ่านมาทั้งในด้านโรงเรือน เพิงเพาะ ถุงดำ ปุ๋ยหมัก และการปรับปรุงเทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์ เพื่อเตรียมการผลิตเป็นการค้า(จริงจัง)(ก้าวจากงานอดิเรก สู่อาชีพปลูกผักปลอดภัยจริงจัง) โดยจะยังคงจะจำหน่าย ที่อำเภอ บ้านไผ่ ๗๕% และเมืองพล ๒๕%
ในฤดูฝน-ร้อน ประมาณ ๑๐๐ต้น(กลาง-ใหญ่)ต่อ กก. และฤดูหนาว ๕๐ต้น(กลาง-ใหญ่) ต่อ กก.
โดยเน้นหนัก ในสามช่วงการผลิต
ตั้งแต่ดำนา ถึงเสร็จสิ้นเกี่ยวข้าว (สำคัญที่สุด เพราะได้ทั้งราคา และปริมาณขายถ้าผลิตได้ แต่ยากที่สุดในการผลิต และลงทุนสูงค่อนข้างมากกว่าปกติ)
ตั้งแต่เทศกาลเริ่มฤดูหนาว งานงิ้ว งานไหม ไปจนถึงตรุษจีน( ปริมาณขาย ความต้องการตลาดยังสูง แต่ราคาจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับ เกษตรกรพื้นที่ ปลูกคื่นฉ่ายทั่วประเทศ จะผลิตมากช่วงไหน แต่จะได้ผลผลิตสูง และลงทุนไม่มากนัก)
ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ไปจนตลอดฤดูแล้ง( ความต้องการค่อนข้างสูงปานกลาง ราคาค่อนข้างไม่แน่นอน การปลูกต้องมีที่ป้องกันแดด และมีปัญหาเพลี้ย ไส้เดือยฝอยสูงกว่าปกติ รวมถึง ความพร้อมในเรื่อง ระบบน้ำ ปุ๋ย และการเพาะเมล็ดพันธุ์ ต้องเก่งจริงๆ)
(จบตอนที่ ๑ เทคนิคการผลิตผักปลอดภัย คื่นฉ่าย การจัดการองค์รวม)
- บล็อกของ 2s
- อ่าน 38480 ครั้ง
ความเห็น
ตองอู
22 กันยายน, 2010 - 06:52
Permalink
2S..^_^..
ขอบคุณข้อมูลดีๆนะค่ะ..ซักวันอูจะต้องทำให้ได้แบบนี้บ้าง..^_^..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
lekonshore
22 กันยายน, 2010 - 08:01
Permalink
ผักชี สวย ๆ
ผักชี สวย ๆ
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
สวนฟักแฟงแตงไทย
22 กันยายน, 2010 - 08:52
Permalink
ดีมากๆค่ะ
ขอบคุณนะคะ สักวันจะต้องนำรูปแบบนี้มาประยุกต์ใช้
ต้องทำแน่ๆค่ะ ลอกการบ้านแล้ว...
ยายอิ๊ด
22 กันยายน, 2010 - 09:33
Permalink
ขอบคุณมาก
ได้รับเต็มๆเลยค่ะ ทั้งความรู้และข้อมูล ตลอดทั้งภาพ สมาชิกชาวบ้านสวนได้รับประโยชน์เต็มๆเลยค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ดงดม
22 กันยายน, 2010 - 09:39
Permalink
ข้อมูลแน่นมาก
ข้อมูลแน่นมาก ประโยชน์ทั้งนั้น
ข้าวเหม่า
22 กันยายน, 2010 - 10:42
Permalink
ขอบคุณมากค่ะ
แม่ข้าวเหม่ามีปัญหาเพาะคื่นฉ่ายไม่ค่อยขึ้น วิธีการเพาะมาย่อส่วนปลูกในตระกร้าบ้างค่ะ บางช่วงคื่นฉ่ายแพงมาก ต้นละ 15 บาทก็เคยซื้อมาแล้ว
chai
22 กันยายน, 2010 - 14:15
Permalink
ขอบคุณมาก
ได้ความรู้เพิ่มเติม มาอีกเยอะเลยขอบคุณนะครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
ป้าเล็ก..อุบล
22 กันยายน, 2010 - 18:39
Permalink
มาถามอีกแล้ว
เคยเพาะในถาดหลุม พอย้ายแล้วตาย ก็เลย ทำแบบ ปลูกจริงเลย คือ จุดละ 1 เมล็ด ห่างๆ แล้วปล่อยเลย โตช้ามาก ให้แก้ปัญหายังไง ทีนี้
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
มนต้นกล้า
22 กันยายน, 2010 - 23:41
Permalink
ขอบคุณค่ะ
จะนำไปทำ+บอกต่อค่ะ
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
2s
23 กันยายน, 2010 - 06:06
Permalink
ขอบคุณมากสำหรับทุกความคิดเห็น ทุกๆกำลังใจต่อเนื่อง ผักปลอดภัย
สำหรับคำถาม ทุกๆคำถาม จะได้นำเรียน ตอบ อธิบายในตอนต่อๆไป ที่ จะได้เล่าถึง ขั้นตอนการพัฒนา ผักปลอดภัย คื่นฉ่าย ตั้งแต่ระยะที่ ๑(แรก) คือ ทดลอง(Research) ระยะที่ ๒ ทดลองผลิต(Production Research) และ ระยะที่ ๓(สุดท้าย) ผลิตเป็นการค้า(Commercial Production) (มีบางพืชตลอดเวลามากกว่า ๑๐ปี จนปัจจุบัน ก็ไม่สามารถ ก้าวเข้าสู่พืชผักปลอดภัย ในระยะผลิตเป็นการค้าได้ อาทิ เช่น พืชตระกูลแตงทั้งกลุ่ม เป็นต้น) โดยจะบอกเล่า พืชครู ที่สำคัญยิ่ง คู่กับ คื่นฉ่าย คือ ผักชีจีน ไปพร้อมๆกัน เพราะ พืชทั้งสอง พัฒนามาพร้อมกัน และเป็นกำลังหลักสำคัญยิ่ง ของสวนมาตลอด มีราคาถูก แพง ในแต่ฤดูกาล ใกล้เคียงกัน ผู้ซื้อกลุ่มเดียวกัน และมีปัญหา เพลี้ย และไส้เดือนฝอยรากปม รุนแรงเช่นกัน เพียงแต่ว่า ผักชีจีน เมล็ดพันธุ์ ใหญ่กว่า งอกเร็วกว่า และดีกว่า คื่นฉ่าย ยังสามารถหยอด โรยหว่านในแปลง ในถุงโดยตรง ได้ผลผลิตตามมาตรฐาน และเวลาที่อยู่ในถุง ในแปลงง่ายกว่า คื่นฉ่ายมากๆ
อนึ่ง การผลิตพืชผักปลอดภัยเป็นการค้า นอกจากจะต้องคำนวณ ผลผลิตต่อตารางเมตร(พื้นที่) ยังต้อง คำนวณ ระยะเวลา(อายุพืชผัก)ที่ปลูก ในแปลง ในถุง ด้วยเพราะ ถือเป็นการคำนวณต้นทุนการผลิตที่สำคัญยิ่ง เช่น การจะหยอดเมล็ด หรือ ย้ายปลูก หรือปลูกในแปลง ในถุง หรือเลือกช่วงฤดูกาลปลูก จะมีความแตกต่าง ในระยะเวลาการปลูก นำมาซึ่งการดูแลองค์รวม การปลูกร่วมกับพืชอื่น การใช้พื้นที่ ถุงปลูก ต่อรุ่น การเสียหญ้า วัชพืช ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิต โดยหลักการพื้นฐาน พืชผักที่ผลิตได้ในช่วงใดก็ตาม ในพื้นที่ ๑ตร.ม. หรือ ๒๕ถุงดำ(๖คูณ ๑๒นิ้ว) มีรายได้ เฉลี่ย ๒๕บาท(และมากกว่า) ต่อ ๔๕วัน(ใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบที่สำคัญยิ่ง ของผักกินใบ กับผักกินผล หรือ การเพาะเมล็ด กับการย้ายปลูกโดยตรง) จะได้รับเลือกผลิตเป็นการผลิตเป็นการค้า
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
หน้า