เส้นทางสังเวชนียสถาน 2
หมวดหมู่ของบล็อก:
ไปเที่ยวอินเดีย ต่อจากบันทึกคราวที่แล้วครับ
บริเวณทุ่งนา(ข้าวสาลี) ใกล้ๆกับสถานที่เคยเป็นบ้านของนางสุชาดา
ณ สุชาดาสถูป ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างขึ้น ณ สถานที่เคยเป็นบ้านของนางสุชาดา
ผู้แสวงบุญชาวพม่าและชาวไทย (โปรดดูจากเครื่องแต่งตัว)
ต้น มะรุมอินเดีย กำลังออกดอก
ไกลๆ จะเป็นต้น กะหล่ำดอก ใกล้ๆจะเป็นถั่วและมัสตาร์ด
ดอกมัสตาร์ด
ฝาบ้านจะแปะไว้ด้วยแผ่นเชื้อเพลิง
ลอมฟางเก็บไว้เลี้ยงวัว
แปลงนาข้าวสาลีอันเขียวขจี
บนสะพานข้ามแม่น้ำเนรัญชรา
แม่น้ำที่แห้งขอด (แม่น้ำเนรัญชรา)
ต้นโพธิ์ที่ประทับรับถวายข้าวมธุปายาส ก่อนที่อธิษฐานลอยถาด ณ.ริมฝั่งน้ำเนรัญชรา
นักเรียนกำลังเดินทางกลับบ้านโดยใช้จักรยานเป็นพาหนะ
(โปรดติตาม ตอนต่อไป)
- บล็อกของ ลุงพูน
- อ่าน 6939 ครั้ง
ความเห็น
ดาวเรือง
23 มีนาคม, 2011 - 02:22
Permalink
แม่น้ำเนรัญชราทำไมตื้นจังคะ
เวลาน้ำแห้งไม่เห็นลึกเลยนะคะ ส่วนดอกมัสตาร์ดก็มีลักษณะเหมือนดอกผักชีลาวเลยค่ะ ใบก็เป็นเส้นฝอยๆ ดอกก็เป็นช่อคล้ายกันมากๆ กลิ่นจะเหมือนกันหรือป่าวคะลุงพูน?
ที่สวีเดนเคยเห็นผักชื่อมัสตาร์ดใบเค้าคล้ายๆกวางตุ้งออกดอกสีเหลือง มีขนสากๆมือด้วยค่ะ ที่จริงคล้ายกับใบของแรดดีชมาก
ลุงพูน
23 มีนาคม, 2011 - 05:56
Permalink
คุณดาวเรือง
เขาเล่าว่า ถ้าหน้าน้ำก็มีน้ำครับ แต่ผมไปตอนหน้าแล้ง น้ำแห้งขอดอย่างี่เห็น
ผักกาดกินใบที่เรารู้จักกันดี เป็นผักในตระกูลมัสตาร์ด (mustard crops) ครับ ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกัน เหมือนกับผักกวางตุ้ง ดอกสีเหลือง มีฝักและเมล็ด เมล็ดของผักพันธุ์ที่จะเอามาทำมัสตาร์ด ก็จะมีกลิ่นและรสจัดจ้านเฉพาะ แต่ผักกาดเขียวชนิดอื่นๆ เมล็ดจะมีรสมัสาตาร์ดน้อยกว่าครับ
oddzy
23 มีนาคม, 2011 - 02:36
Permalink
อินเดีย
ลุงพูนค่ะ ตอนนี้อากาศที่นั่นเป็นฤดูอะไรค่ะ? เพื่อนอ๊อดเขาเพิ่งไปมาเมื่อเดือนที่แล้ว เขาไปขี่อูฐมา แล้วก็ไปเที่ยวตามวัดพุทธต่างๆหลายที่
เคยฝันเห็นต้นโพธิ์ที่อินเดียค่ะ แต่ยังไม่เคยเห็นของจริงเลย ขอบคุณลุงพูนที่นำภาพมาฝาก อยากไปเที่ยวเหมือนกันค่ะ เห็นหลายคนที่ไปมา บอกว่า สกปรกไม่รู้ว่าจริงรึเปล่า รอฟังจากปากลุงพูนอีกที ขอบคุณค่ะ
ลุงพูน
23 มีนาคม, 2011 - 06:05
Permalink
คุณอ๊อต oddzy
ช่วงต้นเดือน กพ. อากาศร้อนนิดหน่อตอนกลางวัน แต่กลางคืนออกจะเย็นๆนิดๆ ช่วงนี้ น่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะหน้าฝนจะมีฝตกมาก พื้นเป็นโคลน หน้าหนาว ช่วงปลายปี อากาศจหนาวมาก ถ้าหน้าร้อนหลังจากนี้ก็จะร้อนมากครับ
ต้นโพธิ์ จะมีอยู่ทั่วไปตามแต่ละศาสนสถาน เป็นต้นเดิมบ้าง เป็นต้นที่แตกกิ่งก้านสาขามาบ้างครับ
สังเวชนียสถานแต่ละแห่งก็อยู้ไกลกันมากพอสมควร ต้องใช้พาหนะรถยนตร์
ความสกปรกหรือสะอาดแต่ละพื่นที่ก็แตกต่างกันครับ บริเวณศาสนสถานก็รักษาไว้สะอาดเรียบร้อยครับ ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็มีทั้งที่สะอาดและสกปรก เวลาเดินต้องคอยดูให้ดี เป็นการฝึกสติ ด้วยครับ
Slowlife
23 มีนาคม, 2011 - 07:19
Permalink
คุณลุงพูน
มาดูบรรยากาศไว้ก่อนค่ะ ถ้ามีโอกาสคราวหน้าต้องตามรอยไปบ้าง เพื่อนที่เคยไปมารายงานว่า คนที่จะไปสังเวชนียสถานต้อง in กับศาสนาพุทธ หรือไม่ก็ศึกษาข้อมูลตามสถานที่ต่างๆ ไปก่อน จะได้อรรถรสในการเที่ยวชม เขาบอกว่า ณ เวลานี้ ถ้าคิดจะไปดูสถานที่ตามรอยพระศาสดาให้ไปที่อินเดีย แต่ถ้าต้องการดื่มดำกับศรัทธาให้ไปที่พม่า Slowlife ถามถึงเหตุผล เขาบอกว่า เวลานี้ที่สังเวชนียสถานเป็นเพียงสินค้าส่งออกอย่างหนึ่งของอินเดีย เพราะคนอินเดีย ส่วนมากไม่ได้นับถือศาสนาพุทธแล้ว เพราะฉะนั้นการปฏิบัติตัว จริยวัตรต่างๆ จึงไม่ใช่ชาวพุทธ แต่ที่พม่า แม้จะไม่ได้มีศาสนาสถานที่เป็นตำนานของพุทธ แต่คนพม่ามีจริยวัตรชาวพุทธอย่างครบถ้วน มีความดื่มด่ำและศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม
เพื่อนเล่าต่อไปว่า จริงๆ แล้วศาสนสถานต่างๆ ในอินเดียนั้น เป็นคำบอกเล่าจากพระรูปหนึ่งที่นำคำภีร์ในศาสนาพุทธไปเผยแพร่ที่เมืองจีน พระรูปนั้นเรารู้จักกันดีในนามของ "พระถังซำจั๋ง" Slowlife ก็ได้แต่รับฟังไว้นะคะ ไม่เคยหาข้อมูลอ่านอย่างจริงจัง แต่สิ่งหนึ่งที่ตระหนักดีเวลาไปศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ของชาวพุทธ แล้วล้มสลายไป คือ ในเมืองไทย ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรือง แต่ในวันหนึ่ง ถ้าเราไม่รู้จักสืบทอดพุทธศาสนา เราอาจจะรู้จักและได้เห็นศาสนาพุทธเป็นเพียงซากอารยธรรม.....เหมือน สังเวชนียสถานในอินเดีย และมหาเจดีย์บรมพุทโธในชวาตะวันออก...
บ้านสวนพชร:เมื่อมนุษย์เงินเดือนอยากทำสวน
ลุงพูน
23 มีนาคม, 2011 - 13:39
Permalink
คุณ Slowlife
ตอนที่ตัดสินใจไปเที่ยวอินเดีย ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแต่ว่าไปเที่ยวตามที่ทัวร์เขาจัดให้เท่านั้น ไม่ได้ศึกษาข้อมูลอะไรเอาไว้ล่วงหน้าก่อน นอกจากความรู้ในวิชาศีลธรรม ที่เคยเล่าเรียนมาบ้าง
จากที่พบเห็นและคำบอกเล่า คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู แต่แถวละแวกสังเวชนียสถานก็ยังพอมีชาวพุทธอยู่บ้าง เขาเล่าว่า แม้ชาวอินเดียเขาไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่เขาก็มีศีลครบ 5 ข้อ ผมดูๆแล้วก็เห็นด้วยครับ
เสาหินที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงให้สร้างขึ้นไว้ ก็พอเป็นข้อมูลได้ว่า ณ สถานที่แห่งนั้น เคยเป็นอะไร พระถังซำจั๋ง ท่านก็เคยไปศึกษาที่นาลันทา ที่เหลืออยู่ก็คือ พระเจ้าองค์ดำ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวแสวงบุญ ที่รอดพ้นจากการถูกทำลายของชาวต่างศาสนา
ผมยังอยากไปอีกครับ หากมีโอกาส เพราะได้พบเห็นและได้มีประสบการณ์บางอย่างเกิดขึ้น
พม่าก็อยากไปอยู่เหมือนกันครับ
chai
23 มีนาคม, 2011 - 07:58
Permalink
ลุงพูน
ชอบบรรยากาศตามทุ่งนามากครับคล้ายๆบ้านเราเลย เห็นแม่น้ำเนรัญชรา ทำไมมันแห้งแบบนี้ละครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
ลุงพูน
23 มีนาคม, 2011 - 13:42
Permalink
คุณ chai
แม่น้ำเนรัญชราเป็นตัวอย่างให้เห็นครับ ต่อไป ผมว่าแม่น้ำโขง ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นแบบนี้ เมื่อเช้าดูข่าวทีวีช่องหนึ่งบอกว่า ช่วงนี้แม่น้ำโขงสามารถเดินข้ามไปฝั่งลาวได้ครับ
สังเวชนียสถาน ส่วนมากอยู่ในชนบทครับ ภาพในเมืองหรือตามเส้นทางพอมีบ้าง จะทะยอยเอามาลงครับ
2s
23 มีนาคม, 2011 - 08:30
Permalink
พุทธคยา ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน หก .. เสวยวิมุตติ 7*7 = 49 วัน
นอกจาก ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ตรัสรู้แล้ว ต้นไทร ต้นจิก ต้นรัง (รวมถึง พระเจดีย์วิมุตติจงกรม) ที่มีการเล่าขานว่า หลังจากตรัสรู้แล้ว เสวยวิมุตติ แห่งละ 7วัน ยังอยู่ครบไหมครับ
อนุโมทนา ในบุญกุศล ในธรรม ด้วยครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ลุงพูน
23 มีนาคม, 2011 - 13:46
Permalink
คุณ 2s
ตอนที่ผมไปนี้ ไม่ได้ตระเตรียมข้อมูลอะไรไปเลยครับ เขาพาไปดูอะไรก็ไปตามเขา ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ อยู่ด้านหลังเจดีพุทธคยา ยังเจริญงอกงามอยู่ดีครับ ส่วนต้นอื่นๆนั้น ไม่แน่ใจครับ
หน้า