เส้นทางสังเวชนียสถาน 5

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต่อจากบันทึกที่แล้วครับ เส้นทางสังเวชนียสถาน 4

ริมฝั่งแม่น้ำคงคาในตอนเช้ามืด

ณ ท่าเรือ อัศวเมศ

ล่องเรือชมแม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

อีกมุม

เรือที่มารอ

บนฝั่งเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว

ฟ้าเริ่มสาง ขนวนนักท่องเที่ยวเริ่มออกเดินทาง

ริมน้ำ มองจากเรือ

ลอยกระทง และปล่อยปลา

นกนางนวล (?) เริ่มบินมา

เรือลำเล็ก จะนำอาหารนก ปลาปล่อย กระทง และสิ่งอื่นๆมาขายนักท่องเที่ยว

นกกำลังโฉบลงมากินอาหาร

อาทิตย์อุทัย

(ถ้าได้กล้องแบบของผู้ใหญ่ น่าจะสวยกว่านี้ครับ)


สี่คนหาม สามคนแห่ พอมาถึงริมน้ำ ก็วางบนกองฟืน

กองใหญ่ กองเล็กก็แล้วแต่ปัจจัย

หมดไฟแค่ไหนก็เขี่ยลงแม่น้ำคงคา

(สังเกตุจากกองไฟ สองกอง)

ณ ท่ามณีกรรณิการ์

ส่วนที่ลอยน้ำมานี้ เรือลำโน้น ตะโกนบอกมาว่า ไม่ใช่

โรงแรมที่พัก ในเมืองพาราณสี

หลังจากนี้ก็เดินทางต่อไปยัง เมืองสารนารถ

สถานที่แสดงปฐมเทศนา

(โปรดติตาม ตอนต่อไป ครับ)


ความเห็น

แต่พอมาเห็นการเผาศพแล้วลอยส่วนที่เหลือลงน้ำแล้วไม่กล้ามองเลยค่ะ  ที่ๆเดียวกันนี้ที่คนมาอาบน้ำมาเอาน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปกิน  ยังสงสัยว่าเค้าขุดลอกแม่น้ำบ้างหรือป่าวคะ?  มันมีแต่การใส่ลงมา  จะไม่ตื้นเขินบ้างหรือคะ?  คนอินเดียก็แยะมากด้วยที่มาทำกิจกรรมต่างๆที่นั่นตลอดเวลา....

          ส่วนที่สวย ก็ปนอยู่กับส่วนที่ไม่สวย แล้วแต่คนมองครับ ในบันทึกแรกๆ ผมเขียนเล่าว่า พระวิทยากรหรือไกด์ที่นำไปดู ท่านบอกว่า มาอินเดีย ให้มองอินเดีย อย่างที่อินเดียเป็นอยู่ อย่ามองแบบที่เราอยากให้เขาเป็น คือสภาพความเป็นอยู่ของเขา เขาเป็นมาอย่างนี้กันนานมากโขแล้ว แล้วเขาก็อยู่กันได้ พอดีได้เฃ้าไปอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ที่คุณเปลวสีเงิน ได้เดินทางไปอินเดีย แล้วมาเขียน (ตาม Link) ตอนหนึ่ง ว่า

          อินเดียนี่ ใครที่ว่าเขาสกปรก คิดผิด-คิดใหม่ได้ เพราะเอาตัวเองเป็นเกณฑ์แห่งความสะอาดไปวัดเขาใช่ไหม ลองคิดในมุมนี้ซีครับ ปีหนึ่ง เราเจ็บป่วยหาหมอกี่ครั้ง แล้วคนอินเดียกี่ครั้ง ผมผ่านหน้าโรงพยาบาลที่มุมไบ ไม่เห็นแถวคนไปเอารองเท้าจองคิวตั้งแต่ตี ๔ เหมือนบ้านเราเลย แสดงว่าคนอนามัยจัด คนสะอาดอาบน้ำแล้วต้องแรปตัวเองก่อนออกจากบ้าน สุขภาพอนามัย และภูมิต้านทานโรคในตัวสู้คนอินเดียที่กิน-นอนคลุกฝุ่นไม่ได้ และที่กลัวกันนัก..."อย่าไปกินเชียวนะที่อินเดีย เดี๋ยวท้องร่วง"เรากินร่วง แต่ทำไมคนอินเดียกินแล้วไม่ร่วง?

จริงของลุงพูน..คนอนามัยจัดมักไม่มีภูมิคุ้มกันโรค...เทียบง่ายๆ เด็กบ้านนอกกับเด็กในเมือง...เด็กบ้านนอกวิ่งเล่นคลุกดินคลุกโคลนเห็นแข็งแรงดี...เด็กในเมืองเดี๋ยวก็หาหมอ เดี๋ยวก็กินยา  กว่าจะแข็งแรงได้อายุต้อง 10 ปี ขึ้นเป็นส่วนใหญ่....คนเราต้องมีภูมิคุ้มกันให้ตัวเองทุกๆเรื่อง

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ตกใจหมดเลยลุงพูน เห็นภาพนกโฉบลงมากินอาหาร นึกว่ามากินศพซะอีก โล่งอกไปที

ตอนแรกผมก็คิดแบบนี้ครับ

ลุงพูน "จิตวิญญาณอินเดีย" มีน้อยคนจะเข้าถึง การทัวร์หรือเดินทางแต่ละครั้ง ถ้าได้ปูพื้นเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเอเชียก็จะเกิดคุณค่าอย่างยิ่ง หยอยเดินทางเรียนรู้ในอินเดีย ๓ ครั้งแล้ว ยังรุ้สึกว่าเข้าถึงเพียงเล็กน้อยเทานั้น อาจมีครั้งที่ ๔ ไปสัก ๒ เดือนเลย ปีหน้าถ้าหายไปนานๆ แสดงว่าไปไกลแล้วนะคะลุงพูน

ขอบคุณลุงพูนที่นำภาพสวยๆมาฝากครับ  อยากไปเที่ยวมั้งจังเลยครับ

ลุงพูน เที่ยวสุขใจ เลยครับ เห็น ภาพแลว ก็ สบายใจ ตาม

Slowlife มีชั่วโมงบินไม่สูงพอที่จะ backpack ไปอินเดียคนเดียว คราวนี้จะไปสิกขิมซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย ก็เลยตกกระไดพลอยโจนต้องไปอินเดีย ยังไม่รู้ว่าจะออกมายังไงเลยค่ะ 

เคยดูสารคดี + อ่านหนังสือเกี่ยวกับอินเดีย ....อินดียมีอะไรให้น่าเที่ยวเยอะนะคะ ขนบธรรมเนียม สถาปัตยกรรม ยังถามตัวเองอยู่เลยค่ะว่าอยากไปดูพิธีกรรมเผาศพที่พาราณสีหรือเปล่า ก็ยังตอบไม่ได้ว่าอยากหรือไม่อยาก.....

อ่านลิงค์ที่ลุงพูนเอามาให้อ่านแล้ว...  ทำให้รู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตความเป็นอยู่  การกินของอินเดีย  และรู้ว่าคนอินเดียไม่นิยมของนอก  หันมาดูบ้านเราสิ  ร้านอาหารขยะ ๆ เข้าแถวรับบัตรคิวรอเพื่อที่จะไปนั่งจิ้ม  นั่งจุ่ม กัน

หน้า