เพราะมีนาข้าว จึงมีปูนา
เช้านี้ มาทำความรู้จักชีวิตของปูนา ซึ่งหลายท่านอาจลืมไปแล้ว โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เป็นลูกหลานชาวนาคงจะไม่ค่อยได้สัมผัสกัน
ลักษณะของปูนาตัวผู้ ก้ามใหญ่ค่ะ ตัวเมียท้องแบนก้ามเล็กกว่า
ช่วงเดือนสี่เดือนห้า(ช่วงเกี่ยวข้าว) ปูนาจะผสมพันธุ์และตัวเมียจะฟักไข่อยู่ในรูที่เขาขุดเป็นบ้านอยู่ตามคันนา และจะปิดปากรูหรือปิดประตูไว้ กลางคืนค่อยออกมาหากินลูกข้าวหรือหญ้าอ่อนๆ ประมาณ ๑ เดือนชีวิตลูกปูตัวเล็กๆนับร้อยจากหนึ่งแม่ปู ออกมาให้ชาวนาเห็น บางคนก็จับมาต้มส้มกิน หรือใส่ส้มตำ บ้างก็จับไปทำเหยื่อในการตกเบ็ดหรืออื่นๆ ส่วนที่เหลือก็เติบโตตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ต่อไป
การเติบโตของปู ผ่านการลอกคราบ ช่วงนี้ชาวบ้านเรียกปูทองแดงตัวปูจะนุ่มนิ่ม นักตกเบ็ดชอบหาปูทองแดงไปทำเหยื่อยทงเบ็ดและปลาชอบกินเพราะเป็นช่วงที่มีน้ำนมและมีเนื้อเหยื่ออ่อนๆ ประมาณ ๒-๓ วัน เนื้อเหยื่อและกระดองก็จะแข็งแรงเป็นปกติ
น้าเอียดชาวนาข้างบ้าน เป็นครูเรื่องปูนา หาปูมาตั้งแต่วัยเด็กทุกวันนี้ออกไปนาเกือบทุกวัน หาปูมาทำมันปูขายเป็นรายได้หลัก มีชีวิตอยู่กับงานทำนา เลี้ยงวัว หาปู หาหอยในนา ตลอดชีวิตในโลกของชาวนาอย่างแท้จริง ชาวนาผู้ยิ่งใหญ่ ชาวนามือใหม่อย่างเราต้องทบทวนตัวเอง
การทำมันปู แกะกระดองแล้วเขี่ยเอามันปูสีเหลืองๆในกระดองมารวมกัน หักก้ามปู แยกส่วนเนื้อปูออกมา
มันปูที่ได้ เป็นส่วนที่สำคัญพิเศษทำให้ มันปู เป็นอาหารพื้นบ้านเฉพาะถิ่น เฉพาะฤดูกาลช่วงเกี่ยวข้าวเท่านั้น หนึ่งปีก็กินมันหนึ่งครั้ง ในธรรมชาติมีของหมุนเวียน ของสดๆให้หากินเลี้ยงชีวิตมากมาย หากเราใช้ชีวิตสอดคล้องไปกับธรรมชาติ ไม่ฝ่าฝืนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ แสดงความเก่งกาจอย่างเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ซึ่งลงทุนสูงและต้องตามแก้ผลกระทบกันยาวนาน
ส่วนของเนื้อปู ทำให้สะอาดแล้วนำไปตำปั้นเอาน้ำเนื้อปู ซึ่งจะข้นเหนียวนิดๆ ค่ะ จากนั้นตำเครื่องแกงแบบแกงกะทิ แต่ให้หนักตะไคร้(แก้คาวค่ะ) แล้วเคี่ยวน้ำเนื้อปูกับเครื่องแกงให้งวด จนน้ำที่ผสมอยู่ระเหยไป
เกือบจะได้กินแล้วค่ะ สุดท้ายก็จะเติมส่วนมันปูลงไป หอมไปทั้งบ้าน หน้าตาเมนูมันปูหรูอย่างไร ขอให้ย้อนไปดูแจ้วบล็อค เรื่องมันปูช่วงงานกินดีมีสุขนะคะ
ส่วนตัวช่วงสงกรานต์หลีกเร้นความอึกทึกจอแจ ไปอยู่กับน้าเอียดกลางนา ทบทวนโลกของตัวเองที่พาหัวใจออกเดินทางพร้อมกล้อง สมุดบันทึกเรื่องราวธรรมชาติ ผู้คนธรรมดาๆ ส่งต่อให้คนรุ่นหลัง และเริ่มต้นทำนาปลูกผักกินเอง ว่ามีความสุขและมีพลังดีอยู่หรือ ยังไม่พอเพียงหรือ ก็ตอบตัวเองได้ชัดเจนว่า ใช่วิถีที่ลงตัวแล้ว นี้แหละตัวตนของเรา พอเพียงแล้วในช่วงปลายของชีวิต
ขอบคุณน้าเอียดและบ้านสวนพอเพียง
มีความสุขสบายกับยามเช้าของชีวิตทั่วกันค่ะ
- บล็อกของ ประไพ ทองเชิญ
- อ่าน 14317 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเล็ก..อุบล
21 เมษายน, 2011 - 06:37
Permalink
มันปู
เคยกินแกงทิ(แกงพร้าว) เขาทำแบบนี้แน่เลย ยังติดใจจนทุกวันนี้ หอมมากๆ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
ประไพ ทองเชิญ
21 เมษายน, 2011 - 15:37
Permalink
หมันแล้วป้าเล็กเหอ
มันปูทำสองแบบ แบบที่ว่า กับแบบที่ไม่ใส่เครื่องใส่แต่หัวหอมซอยกับเกลือไอ้นี้สุดยอด
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
21 เมษายน, 2011 - 06:39
Permalink
มันปู
คนเชียงใหม่ก็ชอบกินมันปูค่ะ พี่หยอย เขาทำจากปูนาเหมือนกัน แต่เป็นของแห้ง เก็บในกระปุกเหมือนกะปิ เอาไว้ทานได้นาน ใช้ตำน้ำพริกอแทนกะปิได้ค่ะ แต่แก้วไม่รู้กระบวนการทำมา ว่าใช้ต้มหรืออย่างไร เคยแต่ซื้อมาทาน
ไอรินลดา
21 เมษายน, 2011 - 07:13
Permalink
พี่ประไพค่ะ
ที่บ้านจ๋า แม่ทำมันปูและแกงมอบปูบ่อยๆ ค่ะ
แกงมอบปูใส่ใบยี่หร่า ก้ามปูก็ต้มใส่เกลือค่ะ อร่อยมาก
ดาวเรือง
21 เมษายน, 2011 - 07:22
Permalink
ปูตำส้มตำ น่ากินมาก....
มันเค้าแยะเหมือนกันนะคะ ทั้งๆที่ตัวเล็กนิดเดียวอ่ะ
Tui
21 เมษายน, 2011 - 07:33
Permalink
พี่หยอย น่า ทำทานมากๆ ขั้น
พี่หยอย น่า ทำทานมากๆ ขั้น ตอนการทำ ที่พี่เอามาละ ละ เอียด เลยครับ ขอขอบคุณ น้า เอียด ด้วยคนครับ ไม่มี โอกาศได้ทานปูน้า จะเอา ปูม้า มาทำ ครับ พี่ อ่านบล็อก พี่หยอย เรื่อง อาหาร นานไป ตั้งไปหาเตาอั้งโล่ มาติด บ้าน ไว้ มั้ง แล้ว ครับ
ป้าต่าย
21 เมษายน, 2011 - 08:02
Permalink
คุณหยอย
มันปูนึกว่ามาจากปูทะเล...ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเขาทำแบบนี้...เมื่อไหร่หนอจะได้มีชีวิตที่มีความสุขเหมือนคุณหยอยบ้าง...
คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก
ประไพ ทองเชิญ
21 เมษายน, 2011 - 15:32
Permalink
ป้าต่าย ที่รัก ฝึกอยู่ง่ายกินง่าย ทุกข์น้อยจริงๆค่ะ
ส่งความสุขมาให้แล้วนะคะ
เจ้โส
21 เมษายน, 2011 - 08:14
Permalink
สหายหยอย
เล่าความหลังกันหลาว.....ตอนเด็ก ๆ แม่ให้ไปหาปูหิ้วถังคนละลูกแป๊บเดียวได้ปูเต็มถัง มันปูคลุกข้าวร้อน ๆ ....ฮายหรอย อย่างแรงงงงงงงงง
garden_art1139@hotmail.com
ประไพ ทองเชิญ
21 เมษายน, 2011 - 15:29
Permalink
สหายโส ระลึกความหลังหล่าว
บล๊อคหน้าจะพาระลึกชาติเลย555555
เฮ อยากพบจังเสีย หนีลงใต้ไปพักร้อนตะ
หน้า