สมช.ขอจัดให้ครับการทำเตา
ผมลงรูปให้ดูเลยนะหลายๆเตาที่ทำมาผสมผสานกัน (ถ่ายที่บ้านชะอี้ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี)
1.หาพื้นที่ที่จะทำเตาแล้วเจาะด้านท้ายถังให้ได้ขนาด4นิ้วสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้
2.แล้ววางถังดังรูปโดยใช้อิฐแดงวางลองด้านหน้าเตาให้สูง เมื่อได้ที่แล้วก็เอาดินลองใต้ถังให้แน่น
3.ด้านท้ายถังให้ใช้อิฐแดงวางซ้อนกันตามแบบที่ตัดเป็นรูปตัวยูแล้วใช้ดินยาให้สนิทวางท่อใยหินแล้วปิดด้วยดินตามรูป
4.เสร็จแล้วก็เริ่มก่ออิฐบล๊อกให้รอบเพื่อเป็นที่เก็บทราย
รูปนี้จะเห็นด้านท้ายเตาที่เป็นที่ออกของควัน ส่วนใบตองที่เห็นใช้ปิดกันฝนเฉย(ถ่ายที่บ้านห้วยเสือ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี)
5.เสร็จเรียบร้อยตัวเตาทิ้งไว้1ถึง2วันให้ปูนแห้งแล้วใส่ทรายลงไปจนเต็ม
6.หน้าเตา ตัดฝาถังให้ได้ขนาดเท่าอิฐบล๊อก
7.เมื่อวางฟืนที่จะเผาเสร็จแล้วก็ปิดแล้วตั้งหน้าเตาโดยใช้อิฐบล๊อกห้าก้อนตามรูปแล้วยาด้วยดินเหนียว
โดยใช้เหล็กขนาดยาว10นิ้ววางขวางในถังตามข้อเป็นคานแล้วฟืนขนาดไม่เกิน4นิ้วยาว70ซม.วางจนเต็มถ้าจะเผาผลไม้ก็วางผลไม้ไว้ด้านบน ส่วนฟืนที่ไม่ได้ขนาด70ซม.ก็เอามาวางตั้งหน้าเตา(เหมือนในรูป)
เสร็จเรียบร้อยก็เผาตามเวลาก็จะได้ถ่านที่เป็นคาร์บอน100เปอร็เซ็นต์(สองเตานี้ถ่ายที่นครนายก)
ส่วนเตานี้ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านทุ่งนางครวญ(มูลนิธิสืบนาคะเสถียร)ที่ผมเป็นวิทยากรให้ครับ
- บล็อกของ วัชรินทร์
- อ่าน 13648 ครั้ง
ความเห็น
วิศิษฐ์
13 พฤษภาคม, 2011 - 18:52
Permalink
คุณวชรินทร์
ได้ความรู้ดีมากๆเลยครับ...คิดจะทำเหมือนกัน..ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ..
เม mopa
13 พฤษภาคม, 2011 - 19:42
Permalink
เอ..คุณวัชรินทร์ค่ะ ทำเเบบนี้
เอ..คุณวัชรินทร์ค่ะ ทำเเบบนี้ เเล้วถังมันจะมีอายุการใช้งานได้นานเเค่ไหนค่ะ มันจะผุไหมถ้าโดนเผาหลายๆครั้ง :confused:
สนใจเเต่ก็อดสงสัยไม่ได้ เป็นเเมวขึ้สงสัยไปเเล้ว :uhuhuh:
วัชรินทร์
13 พฤษภาคม, 2011 - 19:49
Permalink
ใช้งาน
ใช้งานได้70-80ครั้งครับแต่ต้องไม่โดนความชื้นสะสมนะครับ ถังสมัยนี้บางมากครับตอนแรกที่ผมทำเผาได้150ครั้งครับ
sothorn
13 พฤษภาคม, 2011 - 19:48
Permalink
เตาเผาถ่านแบบของผม
http://www.bansuanporpeang.com/node/613
แบบนี้เน้นง่ายสำหรับการใส่ฟืน
แต่เรื่องความร้อนที่ได้อาจสู้ของพี่วัชรินทร์ไม่ได้
แต่ก็เผามาเยอะแล้วก็ได้ถ่านคุณภาพดีอยู่ครับ
วัชรินทร์
13 พฤษภาคม, 2011 - 19:56
Permalink
คุณโส
การเผาผมก็ใช้สูตรอาจารย์ยักษ์นะครับไม่เคยเปลี่ยนเพราะทำแล้วได้ผลดีทั้งสองอย่างครับส่วนรูปร่างเตาก็แล้วแต่สถานที่ที่มีวัสดุครับ
sothorn
13 พฤษภาคม, 2011 - 20:04
Permalink
พี่วัชรินทร์
ครับก็สูตรเดียวกันครับ แต่นำมาประยุกต์ตรงที่ไม่อยากใส่ฟืนด้านหน้าเตา ต้องถอดหน้าเตาเข้าออก เป็นผลมาจากความขี้เกียจของผมเองส่วนหนึ่ง และลูกศิษย์ อ.ยักษ์ ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสงแนะนำมาส่วนหนึ่ง แต่ส่วนตัวก็ยังเชื่อว่าแบบเปิดฝาหน้า น่าจะให้ความร้อนดีกว่า ยิ่งพี่วัชรินทร์ใส่ทราย และขอบข้างหนาขนาดนั้น ผมว่าได้ความร้อนสูงมาก และได้ถ่านที่บริสุทธิ์กว่าแบบของผม
วัชรินทร์
13 พฤษภาคม, 2011 - 20:03
Permalink
หลายรูปแบบ
ส่วนเตานี้ของศูนย์การศึกษาเขาชะงุ้มครับ
เจ้โส
13 พฤษภาคม, 2011 - 20:18
Permalink
อย่าลืม
อย่าลืมเก็บน้ำส้มควันไม้นะ ไว้ฉีดเพลี้ยตอนปลูกผัก
garden_art1139@hotmail.com
ประไพ ทองเชิญ
13 พฤษภาคม, 2011 - 20:43
Permalink
เตาเผาถ่านแบบเคลื่อนย้ายได้ ทำที่เขาเจียก พัทลุง
ไปพบเตาเผาถ่านเอาน้ำส้มควันไม้แบบนี้ ที่คีรีวง เห็นแล้วเผาถ่านไม่ยากเกินไปและย้ายไปตรงไหนก็ได้ ถามถึงที่มา พี่เขาบอกว่าชาวบ้านที่พัทลุง ทำเอง จุดใต้ตำตอเลย สืบๆได้ความว่าทำอยู่แถวเขาเจียก ราคา ๒๕๐๐ บาท พี่วัชรินทร์ มีความเห็นอย่างไร จะสั่งซื้อแล้วนะเนี่ย
sothorn
14 พฤษภาคม, 2011 - 03:47
Permalink
เก็บน้ำส้มควันไม้ง่าย
ส่วนตัวคิดว่าความร้อน หรืออุณหภูมิที่ได้ ไม่น่าจะสูงเท่าแบบนอน
ส่วนคุณภาพถ่านที่ได้ ไม่แน่ใจว่าเท่าแบบนอนหรือไม่
แต่แบบนี้เก็บน้ำส้มควันไม้ง่าย เคลื่อนย้ายไปเผาที่ไหนก็ได้ ก็น่าลองอยู่พี่หยอย ซื้อเลย
หน้า