ผักสวนครัวนอกรั้วบ้าน (ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ความเห็น

น้องใหม่เหมือนกันครับ  มีอะไรก็มาแบ่งปันกันครับ

ขอบพระคุณและยินดีครับ

ขอบคุณครับ ยังไมค่อยชำนาญในการใช้งานครับน้อง

สวนผักเปิด มีผักพื้นเมืองหลายชนิดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในที่รกร้าง รวมทั้งสวนนี้ ถ้าเจ้าของที่ไม่รวมตัวกันก่อสร้างกำแพงประมาณหลาน ๆ กำแพงเมืองจีนมากั้นไว้ รับรองผักในสวนนี้เก็บได้ทั้งชาติ ปลอดสารพิษ 100% ลงทุนเพียงรองเท้าบู้ทยาง 1 คู่ กับมีด 1 เล่ม ขอเพียงพิจารณาดูว่าผักชนิดไหนที่หายากและใกล้สูญพันธ์ ก็ขุดมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อได้พันธุ์เพิ่มขึ้นมาก ๆ ก็พาเขาไปคืนสู่ธรรมชาติดั่งเดิม ผมจะเรียกชื่อตามภาษาท้องถิ่น จ.นครศรีฯ และวิธีการนำมาปรุงเป็นอาหาร ก็จะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นหลัก 

ต้นตีนนกทูง (นครศรีฯ) ผักชนิดนี้เดิมชอบขึ้นในสวนยางพารา,สวนผลไม้ แต่หลัง ๆ ไม่ค่อยมีใครจะสนใจนำมาประกอบอาหาร จึงไม่ได้อนุรักษ์เอาไว้ ประกอบกับชาวสวนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาฆ่าหญ้าในสวน ต้นตีนนกทูงจึงทำท่าว่าจะสูญพันธุ์ (เฉพาะ จ.นครศรีฯ) ส่วนที่นำปรุงอาหาร ใช้ก้านใบอ่อนที่ใบยังม้วนอยู่ (ประมาณนี้ ใ )ใส่รวมกับผักชนิดอื่นมาแกงเลียงเคย (กะปิ) ใส่ปลาย่าง ชอบเค็ม ๆ ก็ใช้เกลืออย่าใช้น้ำปลา ถ้าจะทานแบบเปรียว ๆ นิด ๆ ก็ใส่ยอดมะขาม หรือยอดส้มเม่าโพโล (ตรัง) ยอดตีนนกทูงให้ทำให้น้ำแกงมีสีแดงนิด ๆ   

ต้นลำเพ็ง (นครศรีฯ) ลำเท็ง (อเชียรใหญ๋ นครศรีฯ) ผักชนิดนี้เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว (ที่อ.เชียรใหญ่  นครศรีฯ ข้างบ้านผม) เคยสร้างชื่ออันลือลั่นชนิดทีว่าคนไข้มากันทั่วประเทศ ครังนั้นต้นลำเพ็งที่น่าสงสารได้ตกเป็นเครื่องมือของนักต้มตุ๋นที่หลอกใช้เด็กไร้เดียงสาเป็นเครื่องมือ หลอกลวงชาวบ้าน สร้างตำนาน "หมอลำเพ็ง" รักษาคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคอุปทานหายเกือบทุกราย ส่วนโรคอื่น ๆ ถ้าไปรักษาต่อที่โรงพยาลก็หายมั่งตายมั่ง ถ้าทานแต่ยาหมอลำเพ็งอย่างเดียวก็ไปสู่ที่ชอบทุกราย ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร ใช้ยอดอ่อน ที่ใบอ่อนยังเป็นสีแดง ๆ ใส่รวมกับผักอื่น ๆ แกงเลียงเคย (กะปิ) ใส่ปลาย่างหรือกุ้งแห้ง ถ้าชอบแบบเปรี้ยว ๆ ก็ใส่ยอดมะขาม,ยอดส้มป่อย ยอดลำเพ็งจะทำให้น้ำแกงมีสีแดง ต้นลำเพ็งชอบขึ้นที่ชื้นแฉะ ซึ่งตัวทากก็ชอบอาศัยที่แบบนี้เหมือนกัน การจะไปเก็บยอดต้องไปตอนสาย ๆ หน่อย รอให้น้ำค้างแห้ง อย่าไปเก็บตอนเช้ามืด เกรงใจตัวทาก     

แกงเลียง หรอยอย่างแรง:uhuhuh:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

แม่ชอบกิน  แต่ป้าเล็กจำไม่ได้แล้ว  ปลูกไว้สักต้น2ต้น  ก็น่าจะดีนะ

ป้าเล็ก มีต้นพันธุ์แล้วหม้ายล่ะ

ต้นหมากหมก (นครศรีฯ) ผักชนิดนี้ปลูกง่ายแต่โตช้า หรือไม่โตเลย ชอบขึ้นเองตามธรรมชาติใต้ร่มไม้ใหญ่ในที่แห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำ ผมยังสงสัยขนาดหนักว่า "ต้นหมากหมก" กับ "ต้นผักพูม" (อ.ไชยา สุราษฎร์ฯ) เป็นผักชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะต้นผักพูมเจ้าตำหรับก็แถว ๆ อ.ไชยา,.อ.ท่าชนะ แต่ผมมี เพื่อนอยู่ 3 คน ที่อยู่แถวนั้นมาที่บ้าน ผมให้ดูต้นหมากหมก เพื่อนคนแรกบอกว่าต้น พันนี้ หมันเลย นี่แหละต้นผักพูม แต่เพื่อนคนที่ 2 แย้งขึ้นมาว่า ไม่ใช่ แล้วชี้ไปที่ต้นผักหวานป่า พร้อมกับพูดอย่างมั่นใจว่า นั่น ต้น      ผักพูม มันต้น พันนั้น ชัวร์ เพื่อนคนที่ 3 ยกมือขึ้นบ้ายบาย พร้อมกับพูดแบบน่าเชื่อถือว่า ไม่ใช่ทั้ง 2 ต้น เคยเก็บกินประจำ ต้นผักพูม พันนู้ ผมก็เลยไล่ให้กลับไปตกลงกันให้ได้ก่อนว่า ตกลงต้นผักพูม มันต้น พันนี้ หรือพันนั้น หรือว่าพันนู้ ใครที่รู้จริง ช่วยลงภาพถ่ายชัด ๆ ให้ดูที ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร ใบอ่อนเกือบจะแก่(ใบเพหลาด นครศรีฯ), ยอดอ่อน ใส่แกงเลียงรวมกับผักอื่น ๆ หรือจะแกงยอดหมากหมกอย่างเดียวก็ย่อมได้ เนื่องจากใบมีความกว้างและยาวพอสมควร ไม่ต้องพึ่งผักอื่น ๆ จะแกงเลียงเคย (กะปิ) ใส่ปลาย่างหรือไม่ใส่ก็ไม่ขัดข้อง ต้มกะทิ (ใส่กะปิ) ก็สุดแสนอร่อย ผมลองผัดน้ำมันรวมกับผักหวานบ้าน,ใบย่านาง,ใบตำลึง รสชาดก็ไม่เลวเหมือนกัน  

หน้า