ได้รับ FW.mail มา ลองพิจารณาว่าจริงมั๊ย แล้วเราจะปรับเปลี่ยนวิถีของคนไทยให้ดีขึ้นกว่านี้ได้ไหม
10 ประเด็นที่ทำให้คนไทยล้าหลัง ในมุมมองของ วิกรม กรมดิษฐ์
ที่มาภาพ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=271638
1. คนไทยรู้จักตัวตนของเราเองต่ำมาก กล่าว คือ รู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะมีสำนึกต่อสังคมส่วนรวมสูงมาก ของเราจะไม่คำนึงถึงส่วนรวม แต่จะเป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา จนทำให้เกิดวัฒนธรรมสืบทอดกันมายาวนาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจทุกระดับชั้น จนมีคำพูดว่า ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ทุกคนแสวงหาอำนาจเพื่อจะตักตวงเพราะความไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้จักประเทศของตัวเองเช่นนี้แล้วทำให้ประเทศชาติของเราล้าหลังไปเรื่อย ๆ
2. การศึกษาของไทยยังไม่ทันสมัย สอนให้คนเห็นแก่ตัวมากกว่า ขาดจิตสำนึกต่อสังคม แม้แต่ภาษา คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้เราขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ประเทศอื่น ๆ รู้จักคนไทยน้อยมาก เพราะคนไทยไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น เพราะคุณภาพการศึกษาของเราไม่ทันสมัย จะเห็นว่าคนมีฐานะ จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า
3. คนไทยมองอนาคตไม่เป็น เท่าที่สังเกตเห็นว่าคนไทยกว่า 70% ทำ งานแบบไร้อนาคต แบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวัน ๆ น้อยนักที่จะวางแผนให้ตัวเองอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีเป้าหมายที่ชัดเจนในอนาคต สะสมความสำเร็จไปอย่างเป็นลำดับ หรือเป็นเพราะไม่กล้าฝัน หรือไม่มีความฝันก็ไม่แน่ใจ และชอบพึ่งสิ่งงมงาย โชคชะตา พอใจทำงานแบบตำข้าวสารกรอกหม้อ ทำให้ประสิทธิภาพของเราไม่ทันกับการแข่งขันระดับโลก
4. คนไทยไม่ค่อยจะจริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การรับปากของเรามักทำแบบผักชีโรยหน้า หรือเกรงใจ แต่ทำได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จากประสบการณ์ทำธุรกิจกับชาวต่างชาติจะพบว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น ญี่ปุ่น หรือยุโรป คนเขาจะให้ความสำคัญกับสัญญาข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิต ในการเชื่อถือด้านนี้ลงไปเรื่อย ๆ
5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประเทศของเรากระจุกตัวความเจริญเฉพาะในเมืองใหญ่ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชน ในต่างประเทศ การสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ห่างไกล แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ สนับสนุนเขาก็ลงทุน การสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคจะเป็นประโยชน์ ทำให้เป็นการลดต้นทุนในการดำเนินการทางธุรกิจอย่างมาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็งและดำเนินอย่างไม่ต่อเนื่อง สังคมไทยชอบทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกปราบปรามไม่จริงจัง อาจได้ยินกรณีการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารก็ตาม
จะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง
7. สังคมไทยชอบอิจฉาตาร้อน ไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษและชอบเลี่ยงเป็นศรีธนญชัย เมื่อจนตรอกในวงการเราจะพบกระแสของคนประเภทนี้ปะปนมากขึ้น จะเพราะเป็นเพราะสังคมเรายอมรับหรือยกย่องคนที่มีอำนาจ มีเงิน แต่ไม่มีใครรู้ภูมิหลังโดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจเอาตัวรอดหน้าตาเฉย คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้ายเสียอีก เพราะทำความเสียหายต่อบ้านเมืองมากกว่า และจะเป็นประเภทดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ทำให้คนดีไม่กล้าจะเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว
8. เอ็นจีโอบ้านเราค้านลูกเดียว ทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนา เพราะเอ็นจีโอบางกลุ่มที่อิงผลประโยชน์อยู่ ถ้าจะพูดกันแบบมีเหตุผล ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เอ็นจีโอดี ๆ ก็มีแต่บ้านเรามีน้อย กรณีน้ำท่วมเพราะไม่มีเขื่อนรองรับเพียงพอ พอเกิดน้ำท่วม พวกที่ค้านจะแสดงความรับผิดชอบด้วยหรือเปล่า บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริง ๆ ไม่ได้พูดกัน
9. คนไทยอาจจะไม่พร้อมในเวทีโลก เพราะไม่ถนัดภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาตัวเองทำให้โลกภายนอกไม่รู้จักคนไทยเท่าที่ควร และการจัดการตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลก ของเราขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดี ทำให้เราสู้ประเทศเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้
10. คนไทยเลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบันเด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกัน เป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเองต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเอง ขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเองและเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม คุณวิกรมแสดงความเห็นว่าการอบรมเยาวชนมาจาก 3 ทาง หนึ่งภายในครอบครัว สองจากโรงเรียนและสามจากสังคม หรือสื่อสารมวลชน
ความเห็น
วรพจน์ เอียดจันทร์
11 สิงหาคม, 2011 - 20:34
Permalink
ก็ต้องยอมรับ
คุณ วิกรม กรมดิษฐ์ มองสังคมไทยได้ค่อนข้างทะลุถึงแก่นแท้ สามารถเห็นและนึกภาพในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องมองให้ไกลตัวหรอก เอาแค่หนังและละครแต่ละเรื่องที่สร้างออกมาให้ดูกะละกัน ทุกเรื่องแทบจะว่าได้ มีครบทั้ง 10 ข้อ เลย กี่ปี ๆ ก็ยังคงมี ไม่ไปไหนเลย ต่างกัน กับหนังในประเทศพัฒนาแล้ว เค้าจินตนาการบวกกับวิทยาการ จำลองเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างน่าคิด เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยต้องเป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ
การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ
อติสัย
11 สิงหาคม, 2011 - 20:54
Permalink
คุณตั้ม
เห็นด้วยทุกข้อครับ สำหรับข้อ2 ข้อ 10 เราเป็นผู้ปกครองพอจะทำได้เอง แต่หลายๆประเด็นต้องอาศัยผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นผู้ริเริ่มทำนะครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
Sopha B'
11 สิงหาคม, 2011 - 20:58
Permalink
พี่ตั้ม
เคยอ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง โดนใจทุกข้อ แล้วก็ชอบวิกรมด้วย
ชาวสวนป่า
11 สิงหาคม, 2011 - 21:21
Permalink
เห็นด้วยทุกข้อครับ
แน่นอนที่สุด มันเป็นสัจจะธรรมของประเทศด้อยพัฒนาครับ ดูเหมือนมันจะเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คนในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาจะมีจิตสำนึก เขาจะคิดว่าประเทศก็คือบ้านของเขา รักทุกสิ่งที่เป็นของสาธารณะเหมือนของเขาเอง แต่คนในประเทศด้อยพัฒนาจะมองแต่สิ่งที่จะเอามาเป็นประโยชน์ของตัวเอง คนที่มีอำนาจจะครอบงำถึงจิตใจของเด็กตั้งแต่เริ่มใช้สื่อเป็น,ดูทีวีเป็น ทำให้แต่ละคนที่เติบโตมาถูกปลูกฝังเงื่อนไขบางอย่าง เกิดเป็นค่านิยมที่ทำลายตัวเองแต่กลับส่งเสริมให้ผู้มีอำนาจมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เช่น กระแสบริโภคนิยม ความเชื่อ ความศรัทธา โดยขาดเหตุผล ผมว่าจริงๆ แล้วประเทศด้อยพัฒนาไม่ใช่ผู้สร้างวัฒนธรรม แต่เป็นผู้ที่ทำได้เพียงแค่นำเอาขยะวัฒนธรรมของประเทศที่เจริญกว่ามาใช้ เช่น โรคติดเกมส์ ยาเสพติด ฯลฯ
jo korakod
11 สิงหาคม, 2011 - 22:07
Permalink
คุณตั้ม
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ
ชอบคุณวิกรมเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว
เคยอ่านเรื่อง ผมจะเป็นคนดี
ได้อะไรเยอะเลยค่ะ
facebook https://www.facebook.com/ninkmax
Slowlife
11 สิงหาคม, 2011 - 22:42
Permalink
เห็นด้วยเป็นบางข้อนะคะ
Slowlife ก็ไม่ได้มีประสบการณ์อะไรมากมายหรอกนะคะ เมืองนอกก็ไปแค่ผ่านๆ แต่ว่า บางอย่างก็ไม่เห็นด้วย
อย่างข้อที่ 1 จริงอยู่ชาติที่เจริญแล้ว เขาจะมีสำนึกต่อสังคมส่วนรวมสูงมาก ของเราจะไม่คำนึงถึงส่วนรวม Slowlife ว่ามนุษย์เห็นแก่ตัวทุกคนแหละค่ะ ชาติที่เจริญเค้าก็มีสำนึกต่อสังคมประเทศของเขาเท่านั้น เขาก็ไม่ได้คำนึงถึงอะไรที่มันใหญ่เช่น โลกใบนี้ ซึ่งไม่ได้มีประเทศเจริญแล้วอย่างเดียว ความเจริญที่ไหลบ่าเข้ามา คิดว่ามาจากประเทศไหน กระแสบริโภคนิยมที่ทำให้คนเห็นแก่ตัว มือใครยาว สาวได้สาวเอา มาจากไหนกัน ยิ่งชาติไหนเจริญมากๆ ยิ่งเอาเปรียบประเทศอื่น เพราะเขารักเฉพาะชาติเขา ไม่ได้รักโลกใบนี้ จริงๆ แล้วถ้าจะให้ถูกต้องว่าประเทศไทยไม่ชาตินิยม
เรื่องภาษา ญี่ปุ่นหรือจีน ก็ชาตินิยมภาษาตัวเองนี่คะ เห็นญี่ปุ่นเจริญ จีนก็ไม่น้อยหน้า จนเดียวนี้โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทย ถ้าจะให้ world class ต้องมีภาษาที่สาม
การส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกเป็นสิ่งที่ดี ให้ช่วยเหลือตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่เหรียญไม่ได้มีด้านเดียว ถามตัวเองก่อนถ้าใครเป็นพ่อแม่คน ว่าอยากให้ลูกตัวเอง เป็นเหมือนเด็กฝรั่งจริงหรือเปล่า รับได้หรือเปล่า ถ้าลูกจะเถียงพ่อแม่ และทำตามแนวคิดของตัวเอง หรือว่า ออกจากบ้านไปหาเลี้ยงตัวเอง ตอนแก่ๆ พ่อแม่ก็อยู่กันสองคน กลับมาหาพ่อแม่ทีก็รอคริสมาสอะไรแบบนี้
ถ้าจะให้ดี โจทย์คือทำยังไงให้เด็กเรามีนิสัยแบบผสมผสาน เชื่อมั่น กล้าแสดงออก (อย่างถูกทาง) แต่อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ
คุณวิกรมฯ นี่ เขียนหนังสือ ดูแกทำรายการ ก็ว่าเก่ง แต่บางอย่างก็คิดต่างนะคะ
บางทีการไม่เห็นด้วยกับใครๆ เขาก็ว่าเรากบฎ บางอย่างก็เลยต้องคิดในใจค่ะ
บ้านสวนพชร:เมื่อมนุษย์เงินเดือนอยากทำสวน
guys ka
12 สิงหาคม, 2011 - 00:16
Permalink
ดีจัง
:good-job:
.................
ต้นกล้าน้อย
12 สิงหาคม, 2011 - 14:11
Permalink
พี่ตั้ม
:dreaming: ผมก็ว่านะคนไทยยังต้องปรับกันอีกเยอะ แต่ถ้ามีคุณธรรมก็ยังดีครับ
satjang
13 สิงหาคม, 2011 - 20:55
Permalink
พี่ตั้ม
....ช่างเสาะหามาแบ่งปัน แต่น้องว่าความเป็นไทย ๆ นี่แหละทำให้เรายิ้มได้มากกว่าบางชาติ อิอิ
...2553 ปีที่ 1 ที่เริ่มเดินตามรอยพ่อ...
สายพิน
14 สิงหาคม, 2011 - 06:38
Permalink
คุณตั้ม
คุณตั้ม ข้อสิบนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ หากว่ามีโอกาสได้เริ่มต้นที่เรื่องใกล้ตัวอย่างนี้ เห็นว่าจะช่วยกันให้พัฒนาก้าวหน้าได้มาก
หน้า