บทเรียนการเลี้ยงเชื้อราด้วยข้าวสุก
ต่อเนื่องจากความพยายามกำจัดปลวกด้วยเชื้อ Metarhizium วันนี้มาติดตามผลการเลี้ยงเชื้อรารอบที่ 2 จากผลการทดลองพบว่าการเลี้ยงเชื้อรารอบนี้จะแฉะน้อยกว่าการเลี้ยงครั้งแรก และมีสปอร์สีขาว/เขียว ออกมามากกว่าครั้งแรก (ดูรูปข้างบน) โดยเฉพาะถุงที่อยู่มุมขวาบนที่อยู่ริมๆ ของแผ่นบังแดด เมื่อทดลองสลับตำแหน่งของทั้ง 4 ถุงเมื่อวานนี้ก็พบว่าถุงที่ย้ายมาอยู่มุมบนขวาก็จะมีสปอร์สีขาวมากขึ้นเช่นกัน เมื่อสังเกตุจากสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างระหว่างการเลี้ยงเชื้อ 2 ครั้ง น่าจะสรุปเทคนิคได้ดังนี้ :
1. ควรใช้น้ำในการหุงน้อยกว่าปกติข้าวจะได้ไม่แฉะจนเกินไป เพราะถ้าแฉะมากจะเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมสำหรับการสร้างสปอร์ของเชื้อรา และแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
2. ไม่ควรหุงจนสุก ควรปิดไฟก่อนให้ข้าวเป็นลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบจะเป็นสภาพที่เชื้อราเจริญดีกว่าข้าวสุกเต็มที่ซึ่งจะนิ่มกว่า
3. ถุงที่อยู่ตรงริมๆ ที่โดนแสงจะถูกกระตุ้นให้สร้างสปอร์ของเชื้อราได้ดีกว่า ตำแหน่งที่ไม่ค่อยโดนแสง แต่ต้องระวังเรื่องความร้อน เพราะถ้าโดนแสงอาทิตย์ตรงๆ จนอุณหภูมิสูงเกินไปเชื้อราก็จะตายได้
4. ท่าทางใช้ข้าวกล้องจะดีกว่าข้าวขาว แต่อันไม่ได้ทดลองเพราะไม่มีข้าวขาวที่บ้าน
เพื่อนๆ บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมผมถึงอยากให้เชื้อราสร้างสปอร์ ตามวิชาวิทยาศาสตร์ที่เราเรียนมาตอนเด็กๆ เชื้อราจะมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ มีทั้งการขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ การแตกหักของเส้นใย และการสร้างสปอร์ แต่การสร้างสปอร์จะเป็นวิธีที่ขยายจำนวนได้มากกว่าวิธีอื่นๆ ดังนั้นถ้าเราต้องการเชื้อราเพิ่มมากๆ เราจึงอยากจะให้มันสร้างสปอร์เยอะๆ
บางท่านอาจจะสงสัยว่าเชื้อรา Metarhizium ได้อย่างไร เมื่อสปอร์ของเชื้อราตกหรือติดกับผิวของแมลงที่มีโครงสร้างเป็นข้อปล้อง เช่น ปลวก มด เพลี้ย และด้วงบางชนิด เมื่อประกอบกับสภาพแวดล้อมมีความชื้นที่เหมาะสม สปอร์จะงอกเส้นใยแทงทะลุผ่านผนังลำตัวเข้าไปในลำตัวแมลง จากนั้นเข้าไปในทางเดินโลหิตขยายจำนวนในเลือด สร้างเส้นใยเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แมลงตาย แล้วเชื้อราจะสร้างกลไกการแพร่เชื้อสู่ภายนอก ทำให้เกิดการระบาดติดต่อไปสู่แมลงตัวอื่น ๆ ต่อไป ลักษณะแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
- แมลงจะเคลื่อนไหวช้า
- เบื่ออาหาร
- ซากแมลงถูกปกคลุมด้วยเชื้อรา
- ซากแมลงแข็งเหมือนมัมมี่ (Mumified)
ส่วนวิธีการใช้งานเชื้อราที่ขยายจำนวนแล้วนั้น ผมทดลองด้วยการใช้ผสมน้ำ 20 ลิตรต่อข้าวที่เลี้ยงไว้ 1 ถุง ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีปลวก/จอมปลวก หรือฉีดพ่นหรือราดลงดินในแปลงปลูกพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ หรือใช้ราดรดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนต้นในสวนผลไม้ อาทิตย์ที่แล้วเป็นการฉีดเชื้อราครั้งแรกโดยฉีดไปทั้งรังมด และจอมปลวก และจะติดตามผล พร้อมทั้งฉีดซ้ำในวันหยุดที่จะถึงนี้อีกครั้ง แล้วจะมารายงานนะครับว่าได้ผลบ้างหรือเปล่า
หมายเหตุ ความที่ขยายเชื้อเอง สปอร์เชื้อราที่ซื้อมาเป็นหัวเชื้อในการขยายยังใช้ไม่ถึง 1 ใน 5 ของถุงด้วยซ้ำไป สงสัยว่าจะขยายเชื้อราจนฉีดทั้งสวนได้แน่ๆ
- บล็อกของ teerapan
- อ่าน 14158 ครั้ง
ความเห็น
จันทร์ปราง
18 สิงหาคม, 2011 - 10:04
Permalink
Re: บทเรียนการเลี้ยงเชื้อราด้วยข้าวสุก
เคยอ่านเจอว่าเมล็ดธัญพืช เช่นข้าวโพด ข้าวฟ่าง ก็ใช้ได้ดีนะคะสำหรับเลี้ยงเชื้อพวกนี้ หรือข้าวเปลือกนำมาแช่น้ำก่อนแล้วนำไปนึ่งให้เมล็ดข้าวแตกนิดหน่อย ก็ใช้ได้ดีค่ะ
teerapan
18 สิงหาคม, 2011 - 13:22
Permalink
Re: บทเรียนการเลี้ยงเชื้อราด้วยข้าวสุก
ขอบคุณครับ สูตรแรกที่เจอเลยคือใช้ข้าวโพดครับ แต่ที่คอนโดมีเครื่องมือแค่หม้อหุงข้าว และเตาไมโครเวฟเท่านั้น :sigh:
ไม่มีเตาแก๊ส หรืออุปกรณ์อะไรที่ใช้นึ่งได้เลยครับ เลยคิดว่าหุงข้าวนี่ล่ะ work สุด :cheer2:
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison
สมบุญ
21 กุมภาพันธ์, 2016 - 21:15
Permalink
Re: บทเรียนการเลี้ยงเชื้อราด้วยข้าวสุก
กำลังหาข้อมูลอยู่พอดีมีประโยชน์มากเลย. อยากทราบปริมาณเชื้อที่ใช้ กับปริมาณข้าวที่ใช้ ด้วยน่ะค่ะ
หน้า