วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
เช่นเดิมเหมือนทุก ๆ วันที่ผมเดินรอบ ๆ นาทุกครั้งที่มานามาสวน หลังจากที่ให้อาหารปลาที่สวนเสร็จก็ต้องมาเดินชมนาข้าวเพื่อดูน้ำ ดูผักที่ปลูกไว้เสมอนอกจากว่ามีความเร่งรีบที่ต้องกลับบ้านก่อนก็ไม่ได้แวะมาที่นาข้าว หลังจากการดำนามา 2 เดือนกว่าแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ทำอะไรนอกจากตัดหญ้าคันนา และดูน้ำให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะอยู่เสมอ ๆ ซึ่งปีนี้สบายหน่อยได้ท่อควบคุมระดับน้ำที่นาช่วยเบาแรงในการควบคุมน้ำที่นาข้าวได้เยอะมาก ๆ เลยครับ ไปดูกันครับว่าวันนี้เจออะไรกับนา 2 ไร่ของผมบ้างครับ
มาดูการวิเคราะห์..การทำนาปีนี้ของผมกันครับ..
ก่อนที่จะถึงนาของผมระหว่างทางแวะไปที่นาป้าน้องโฟกัส ปีนี้นาผมกับนาป้าน้องโฟกัสใช้ต้นกล้าข้าว กข.6 จากแปลงกล้าเดียวกัน ดำนาวันเดียวกัน แต่วิธีการต่างกันตอนนี้นาของป้าน้องโฟกัสเจอกับโรค อะไรก็ไม่ทราบ (เหมือนปีที่แล้วที่ผมก็เจอเช่นกัน ) ใบข้าวไหม้ หยิก งอ จำนวน 2 แปลง แต่ด้วยเหตุและผลของการทำนาที่ต่างกันซึ่งต่างตั้งแต่วิธีคิดแล้วก็คือ
1.นาป้าน้องโฟกัสใช้สารเคมี ต่างจากนาของผมไม่ใช้สารเคมี
ระยะแรก หลังดำนาเสร็จ 10 วัน นาป้าน้องโฟกัสใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ต่างจากผมไม่ใช้ปล่อยไปตามธรรมชาติ
ระยะที่สอง หลังจากข้าวอายุได้ 15 วัน นาป้าน้องโฟกัสปูกินข้าว แต่นาผมมีปูเช่นกันกลับมีหญ้าที่นาข้าวและบริเวณคันนา ปูไม่กินข้าว
ระยะที่สาม ซึ่งตอนนี้ข้าวอายุได้ 1 เดือน กับ 20 วัน ข้าวแตกกอมากและเขียวดี นาป้าน้องโฟกัสเจอปัญหาโรคในนาข้าวดั่งภาพด้านบน 2 ภาพ แต่นาของผมกลับไม่เป็นอะไรเลย จากการวิเคราะห์และสังเกตของผมในระยะเวลาที่ผ่านมา เดือนกว่า ๆ พบว่า ในนาผมมีแมลงต่าง ๆ อาศัยอยู่จำนวนมาก ด้วยความสงสัยว่าแมลงเหล่านั้นมันมีผลดีผลเสียอย่างไร เย็นนี้จึงเสียเวลากับการเดินถ่ายภาพแมลงในนาข้าวของตนเองไปดูกันครับว่ามีแมลงอะไรบ้างในนาข้าวของผม
ตัวที่ 1 ตั๊กแตนข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ Hieroglyphus banian (Fabricius) เจ้าตัวนี้เจอบ่อยมาก ๆ ครับมีอยู่ทั่วไปรอบ ๆ นาข้าว อ่านดูแล้วมีผลเสียตัวเต็มวัยและตัวอ่อนกัดกินใบข้าวทำให้ใบขาดแหว่ง ถ้ามีการทำลายมากจะกัดกินจนกระทั่งไม่ได้เก็บเกี่ยว แต่ในทางกลับกันที่คันนามีหญ้าอยู่เยอะมาก ๆ เอาง่าย ๆ อาหารมีอยู่เยอะเลยไม่เป็นผลเสียต่อนาข้าวแต่อย่างใด
ตัวที่ 2 ผีเสื้ออะไรไม่ทราบดู ๆ แล้วน่าจะมีผลเสียต่อนาข้าวเช่นกัน....
ตัวที่ 3 แมงมุมตาหกเหลี่ยม O. javanus Throll
แมงมุมตาหกเหลี่ยมเป็นตัวห้ำกินแมลงศัตรูข้าว เช่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนขยอกและแมลงศัตรูข้าวอื่นๆ ชอบอยู่บริเวณที่ค่อนข้างแห้ง มีนิสัยว่องไว วิ่งหรือกระโดดบริเวณใบข้าว หรือตามคันนา หากินเหยื่อตามโคนกอข้าวในเวลากลางวัน พบทั่วไปในนาข้าวตั้งแต่ข้าวยังเล็กจนถึงเก็บเกี่ยว มีปริมาณมากพอสมควร อาศัยอยู่ตามส่วนบนและส่วนล่างของต้นข้าว สามารถกระโดดตะครุบจับเหยื่อได้ เจ้าตัวนี้เยอะที่สุด มองไปที่ไหนก็มีเต็มไปหมดครับ
ตัวที่ 4 ด้วงเต่า C. transversalis Fabricius ตัวโตกว่า M. discolor (Fabricius) ขนาดยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร มีสีเหลืองส้ม และมีลายสีดำที่ปีก อกด้านบนสีดำและมีจุดสีเหลือง 2 จุด ขอบปีกและขาสีดำ ทิเบียและทาร์ไซสีเหลืองส้มมี 3 ปล้อง ด้วงเต่าเป็นตัวห้ำทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น ไข่ของหนอนห่อใบข้าวและหนอนกอ หนอนและดักแด้หนอนผีเสื้อกินใบ
วันนี้คันนาโดนปูเจ้ากรรมเจาะเช่นเคย เจ้าตัวนี้ก็มีประโยชน์ครับ
ตัวที่ 5 แมงมุมเขี้ยวยาว Tetragnatha sp. ในนาข้าวมี 6 ชนิด แต่ละชนิดมีขนาดยาวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 6-19 มิลลิเมตร เพศเมียตัวยาวกว่าเพศผู้ ส่วนขาและลำตัวยาวกว่าแมงมุมชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด เป็นแมงมุมที่พบมากที่สุดในนาข้าว ตามปกติจะเกาะทาบไปตามใบข้าว และชักใยขึงระหว่างต้นข้าวในแนวราบในเวลาพลบค่ำเพื่อดักจับแมลงที่บินไปมาในนาข้าว เมื่อเหยื่อบินมาติดใยมันจะวิ่งมาจับเหยื่อกิน คือ เพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น บางครั้งพบผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวติดใยแมงมุม ในนาข้าว สามารถพบแมงมุมชนิดนี้ตั้งแต่ข้าวยังเล็กจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เจ้าตัวนี้ก็เห็นเช่นกันในนาข้าว มีประโยชน์เช่นกันครับ
ตัวที่ 6 แมลงปอบ้าน N. tullia tullia (Drury) เป็นตัวห้ำของผีเสื้อหนอนกอข้าวและตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูข้าวอื่นๆ พบทั่วไปในนาข้าว บินอยู่ส่วนบนของต้นข้าว โฉบจับเหยื่อกินเป็นอาหาร เริ่มพบตั้งแต่ข้าวยังเล็ก พวกนี้บินอยู่เยอะเลยครับบนนาข้าวผม
ตัวที่ 7 แมลงปอเข็ม Agriocnemis แมลงปอเข็มเป็นตัวห้ำกินผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว และแมลงศัตรูข้าวอื่น พบทั่วไปในนาข้าว ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ตามปรกติจะบินอยู่ตามบริเวณส่วนกลางกอข้าวเพื่อค้นหาเหยื่อ ขณะผสมพันธุ์สามารถบินเคลื่อนย้ายหนีศัตรูได้ มีเยอะครับเดินไปทางไหนก็เห็น
ตัวที่ 8 ด้วงดิน
- ด้วงดินเป็นแมลงตัวห้ำที่แข็งแรงและว่องไว ทั้งตัวหนอนซึ่งมีสีดำเป็นมัน
และตัวเต็มวัยซึ่งมีสีน้ำตาลแดงจะกินหนอนห่อใบข้าว
- ด้วงดินจะพบได้ในใบข้าวที่ถูกห่อไว้โดยหนอนห่อใบ ตัวอ่อนของด้วงดินเข้าดักแด้ในดินตามคันนา
ข้าว นาสวน หรือในดินท้องนาข้าวไร่ มันกินหนอนห่อใบได้วันละ 3-5 ตัว ตัว เต็มวัยของด้วงดินนอกจากจะกินหนอนห่อใบ แล้วยังกินเพลี้ยกระโดดอีกด้วย
มีของดีอีกแล้วครับ..อิอิอิ..
วันนี้ก็มีผักให้เก็บมากินเช่นเคยครับ..มีเยอะจนไม่ต้องบรรยายครับ..อิอิอิ..
วันนี้ 1 ชั่วโมงก่อนค่ำ เดินรอบ ๆ นาถ่ายภาพแมลงที่อยู่ในนาข้าวเกิดข้อสงสัยเลยกลับบ้านมาเปิดเน็ตดูจึงรู้ว่าแต่ละตัวมันชื่อว่าอะไร มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์ ผมก็ตั้งชื่อให้มันดูเท่ห์ ๆไปงัน ๆ แหละครับเพราะการทำวิจัยจริง ๆ คงไม่ได้ทำแบบผม แต่สิ่งที่ผมทำนั้นก็เป็นการรวบรวมข้อมูลออกมาเป็นบล็อกให้เพื่อน ๆ สมาชิกได้อ่านมาตั้งแต่ต้น ซึ่งการทำเกษตรปีนี้แต่งต่างจากปีที่แล้วมาก ๆ (ซึ่งผมจะเปรียบเทียบการทำนา 2 ปีให้ดูในบล็อกต่อไป) ปีนี้การทำนาถือว่าง่าย สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่วุ่นวายกับโรคและแมลงในนาข้าว
การที่ธรรมชาติมีสมดุลย นาข้าง ๆ ใช้สารเคมีแมลงดี ๆ และร้ายก็ตายไปเช่นกันแต่การที่ผมทำนาแบบคนขี้เกียจปล่อยให้ธรรมชาติดูแลกันเอง เมื่อทุกอย่างเกิดความสมดุลทำให้การทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษนั้นง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะครับ คนเราทำลายสมดุลยของธรรมชาติไปเยอะ โรคและแมลงก็มาจากการที่เราไปทำลายสมดุยลนั้นเสียไป เหมือนกับ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ฉันไดก็ฉันนั้นเมื่อเราทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติก็หวนกลับมาทำลายเราเช่นกันครับ
นี้แหละ การวิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์ ตามแบบของผมใครจะเลียนแบบก็ได้นะครับ..ฮ่า ๆๆๆๆๆๆ.....ติดตามดูต่อไปว่าผลจะเป็นเช่นไรครับ..กว่าจะถึงเกี่ยวข้าวคงมีอีกหลายบล็อกนะครับ.....บ้าเขียนบล็อกจริง ๆ เลยเรา..ฮ่า ๆๆๆๆ
จะพอเพียง..........เพื่อเพียงพอ.....ให้ได้ในสักวัน..
......ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง.....
- บล็อกของ วิศิษฐ์
- อ่าน 10199 ครั้ง
ความเห็น
วิศิษฐ์
6 กันยายน, 2011 - 09:41
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
จะพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับย่าตอน ขอบคุณนะครับสำหรับกำลังใจที่มีให้หลานคนนี้เสมอครับ
ป้าเล็ก..อุบล
6 กันยายน, 2011 - 08:42
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
อือ..ทำป้ายต่ะ บอกนั่นบอกนี่ แปลงผัก ถั่ว แตง บอกวันปลูก ต่อไปก็ทำโซนให้คนเข้าชมได้สบายๆ ได้ประโยชน์ ได้บุญ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
วิศิษฐ์
6 กันยายน, 2011 - 09:42
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
คงยังไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ
แผน รณรงค์
6 กันยายน, 2011 - 13:09
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
แล้วรางวัลแห่งความสำเร็จ มันก็เริ่มให้เรา..ได้เก็บเกี่ยวและชื่นชม ภูมิใจกับหตุการณ์ และเรื่องราวได้เรื่อยๆตามระยะเวลา...ที่หมุนไป อย่างนี้ ต้องโหวต
ตามรอยพ่อคิด ด้วยวิถีชีวิต ที่เพียงพอ
วิศิษฐ์
8 กันยายน, 2011 - 09:01
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
ขอบคุณครับ...การทำงานต้องใช้การสังเกตแก้ไขตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพราะบางทีธรรมชาติก็มาแบบไม่บอกกล่าวกันก่อนนะครับ
ป้าลัด
7 กันยายน, 2011 - 09:05
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
ชื่นชมค่ะ และเป็นกำลังใจให้ค่ะ :admire:
วิศิษฐ์
8 กันยายน, 2011 - 09:03
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
ขอบคุณครับ
saensak
8 กันยายน, 2011 - 10:16
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
ประทับใจ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
วิศิษฐ์
8 กันยายน, 2011 - 20:31
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
ยินดีครับ
อ้วน
9 กันยายน, 2011 - 09:58
Permalink
Re: วิเคราะห์..วิจัย ..นาข้าว...เพื่อแนวทางเกษตรอินทรีย์
มาถูกทางแล้วครับ ลุงสิท ธรรมชาติมีการป้องกัน กันเอง นาข้าวบางที่เน้นใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไปให้ใบเขียวสวยงาม แต่กับนาเกษตรอินทรีย์ใบอาจจะเหลืองไปหน่อย แต่ข้อเท็จจริงก็เห็นได้ว่าเวลารวงข้าวสุก ก็เหลืองหมด เน้นที่รวงข้าว ผลผลิตที่ออกมาได้ปริมาณมากกว่า และมีคุณภาพ ไม่ได้เน้นที่สีของใบเขียวสวย นักวิชาการที่ประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่..ช่างสังเกตทั้งสิ้น สัง้กตเห็นความเปลี่ยนแปลงแล้วนำมาปรับปรุงต่อยอดความรู้ต่อไป..เช่นเดียวกับลุงสิท ที่ได้ลงมือทำและเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงนี่แหละครับ ...ขอชื่นชมครับ ..
ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง
หน้า