เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
ต่อจากแนะนำเพอร์มาคัลเจอร์ในตอนที่แล้ว ในบล๊อกนี้เรามาลองเรียนรู้การเลือกรูปแบบในการใช้พื้นที่ปลูกพืชตามหลักเพอร์มาคัลเจอร์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภูมิทัศน์แล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่ และการใช้แรงงาน รวมทั้งเพิ่มที่อยู่ของสัตว์ตามธรรมชาติ คืนสมดุลให้กับธรรมชาติ ตัวอย่าง เช่น เราต้องการพื้นที่เพาะปลูกขนาด 50 ตารางฟุต หน้าตาสวนของเราอาจจะเป็นแบบนี้
รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 40 ตารางฟุต
รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 10 ตารางฟุต
รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 6 ตารางฟุต
เราจะเห็นว่าทั้งสามรูปแบบสามารถปลูกพืชได้ขนาด 50 ตารางฟุตเท่ากัน แต่จะเสียพื้นที่ทางเดินแตกต่างกันทำให้เราต้องใช้พื้นที่จริงๆ มากน้อยต่างกัน มาถึงตอนนี้เพื่อนสมาชิกบางท่านอาจคิดว่าทำไมไม่ปลูกให้เต็มพื้นที่เลยล่ะครับ มีประสิทธิภาพสูงสุด ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานกับพืชคือ เราจะต้องมีทางเดินเพื่อเข้าไปดูแลพืชผัก และถ้าเราทำให้พื้นที่ปลูกพืชติดกันจนกว้างเกินไป จนทำให้เอื้อมเข้าไปดูแลต้นไม้ไม่สะดวก (ระยะแนะนำคือ 3 ฟุต ไม่เกิน 4 ฟุต ถ้าคนทำสวนตัวเตี้ยก็จะต้องปรับลดระยะลงมานะครับ) และถ้าเราต้องไปย่ำบนแปลงผักจะทำให้ดินแน่น ไม่เป็นผลดีต่อพืช ส่วนความยาวแปลงไม่ควรเกิน 12 ฟุต จะได้ไม่ต้องเดินอ้อมโดยไม่ย่ำดินบนแปลงไกลเกินไป
นอกจากนั้นควรจะเลือกปลูกผักผสมผสานทั้งพันธุ์พืช และสีของพืช เพื่อลดการแย่งอาหาร และลดปัญหาเรื่องแมลง (เราจะกลับมาพูดถึงเรื่องการปลูกพืชผสมผสานอีกครั้งในภายหลัง) รวมทั้งเลือกปลูกพืชที่ต้องการการดูแลน้อยไว้ด้านใน ให้พืชที่ต้องการการดูแลมากไว้ด้านนอก ตัวอย่างเช่น เลือกผักกะหล่ำขนาดใหญ่ และเก็บเกี่ยวไม่บ่อยไว้ด้านนอก พืชขนาดเล็กเก็บเกี่ยวบ่อย อย่างมะเขือเทศไว้ด้านใน
อาศัยหลักคิดเช่นนี้ เพื่อนสมาชิกยังสามารถจินตนาการรูปแบบการจัดแปลงผักของเราได้อีกมากมาย เช่น สวนแบบ mandala
หรือเพื่อนสมาชิกอาจจะไปประยุกต์ใช้กับการปลูกต้นไม้ในไร่ เช่น ด้วยระยะห่างระหว่างต้นเท่ากันในพื้นที่เท่ากัน ถ้าเราปลูกแบบสับหว่างเป็นฟันปลา หรือปลูกเป็นแถวโค้งจะทำให้สามารถปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากขึ้น
ชักสนุกยังครับ? อย่าหยุดจินตนาการของพวกเราเพียงแค่ 2 มิติ เราอาจจะใช้มิติของแนวดิ่งเพิ่มเติม เช่น การจัดสวนเป็นรูปสปริงก้นหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 1 เมตร จะได้พื้นที่ปลูกพืชยาวมากกว่า 9 เมตร แต่เราก็สามารถใช้ mini-springer ขนาด 2 เมตรรดน้ำทั้งหมดนี้ได้อย่างสบายๆ แถมเรายังปลูกพืชที่ต้องการน้ำหลากหลายได้มากขึ้น โดยปลูกพืชที่ชอบน้ำมาก (ตัวอย่าง เช่น watercress) อยู่ด้านล่าง พืชที่ชอบน้ำน้อยอยู่ด้านบน เป็นต้น
เพื่อนสมาชิกหลายท่านอาจจะมีจินตนาการมากกว่านี้อีก อยากให้เราเรียนรู้หลักคิดเหล่านี้มาปรับใช้ในการออกแบบการใช้พื้นที่ในบ้าน/สวน ของเรา คำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ การทำงานบำรุงรักษา การรดน้ำ การผสมผสานกันของพืชที่ปลูก แมลง และสัตว์ต่างๆ ในสวน และสุดท้ายอย่าลืมเรื่องความสวยงามนะครับ แล้วติดตามตอนต่อไปของเพอร์มาคัลเจอร์นะครับ
เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com
- บล็อกของ teerapan
- อ่าน 16125 ครั้ง
ความเห็น
เบญ
8 ธันวาคม, 2011 - 14:58
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่ยังไม่เคยมาโพสท์เลย
แต่มีความสนใจในเรื่อง permaculture อยู่ แต่ยังไม่ได้ศึกษาจริงจัง บทความนี้ดีจังเลย จะได้เริ่มศึกษาซะที
ถ้าจะเรียนรู้เพิ่มเติมนี่ควรจะเริ่มจากอะไรคะ
teerapan
8 ธันวาคม, 2011 - 15:14
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
:shy: ผมก็เพิ่งอ่านเรื่องนี้ มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษนะครับ มีขายตั้งหลายเล่ม แต่ของที่ Bill Mollison เขียนเองดูแล้วน่าจะเป็นแนวคิดต้นแบบ เพราะเขาเป็นคนแรกที่พูดเรื่องนี้ออกอากาศทางวิทยุ ของผู้แต่งคนอื่นๆ ก็จะมีส่วนที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากมันเป็นปรัชญา และตัวอย่างที่ผู้เขียนแต่ละท่านมาแบ่งปันก็จะมาจากลักษณะภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ไม่น่าจะมีอะไรถูกผิดเท่าไหร่อ่านไปเรื่อยๆ ล่ะ อันไหนพอเอามาประยุต์ได้ก็เอามาปรับใช้
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison
เบญ
8 ธันวาคม, 2011 - 15:59
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
ที่เห็นมีฝรั่งมาเปิดคอร์สสอนในเมืองไทยก็มีที่ punya project อ.แม่แตงค่ะ สอนเป็นภาษาอังกฤษ (มีแต่ฝรั่งมาเรียน) ก็กะว่าจะเริ่มศึกษาจริงจังค่ะ :)
Aree
8 ธันวาคม, 2011 - 15:20
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
น่าสนุกค่ะแต่ตอนนี้แค่กระถางจะยังไม่มีที่ตั้งเลย (คนเมืองก็งี้)
teerapan
8 ธันวาคม, 2011 - 16:01
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
:uhuhuh: เจอปัญหาเหมือนกัน รอเอาไปประยุกต์ใช้ที่บ้านคุณแม่ที่ ตจว. ซิครับ
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison
sblue12
8 ธันวาคม, 2011 - 15:57
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
"ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ถ้าเราไม่หยุดเดิน"
teerapan
8 ธันวาคม, 2011 - 16:23
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
ไม่มีอะไรถูกผิดครับ ต้องดูให้เหมาะสม เพราะการจัดแปลงผักรูปเกือกม้า หรือรูป mandala อาจไม่เหมาะสมกับการเก็บผักเชิงพาณิชย์แบบเดิมๆ อาจจะต้องประยุกต์ให้คล้ายๆ กับรูปข้างล่าง
แต่ถ้าเป็นการทำสวนครัวเล็กๆ สำหรับทานเองในครอบครัว ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไรรูปแบบไหนก็ได้
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison
สาวภูธร
8 ธันวาคม, 2011 - 16:10
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
:good-job: :good-job:
teerapan
8 ธันวาคม, 2011 - 16:23
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
:embarrassed:
“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison
eve_chanida
8 ธันวาคม, 2011 - 19:03
Permalink
Re: เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
รับไว้พิจารณาค่ะ แต่ที่บ้านได้รดน้ำทุกวันก็ถือว่าต้นไม้โชคดีแล้ว :uhuhuh:
""
หน้า