บ้านตาล บูรณาการขึ้นมาใหม่

หมวดหมู่ของบล็อก: 

อย่างที่เคยแบ่งปันเรื่อง "รำแดง ชุมชนแห่งการเรียนรู้" ในช่วงการเดินทาง ๕-๖ เดือนที่ผ่านและยังต้องขับเคลื่อนต่อไป



บ้านตาลหลังนี้ เป็นบ้านตัวอย่างการเรียนรู้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหรือภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่ชาวใต้เรียก "เริน" ซึ่งหยอยขอเรียกโดยส่วนตัวว่า "บ้านที่หายใจได้"



บ้านตาลที่เจ้าของบ้านอยู่กันมาประมาณ ๖๐ ปีแล้ว ก่อนทำการซ่อมแซมอย่างบูรณาการ ด้วยความเคารพและศรัทธาภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นฐานใจ จากนั้นระดมช่างพื้นบ้านรุ่นสุดท้าย(โชคดีที่ยังทันเวลา) ถอดองค์ความรู้ อาจารย์นักศึกษาจากเทคโนโลยีศรีวิชัย สงขลา ถอดแบบ ออกแบบซ่อมแซมของเก่า และเติมของใหม่ให้ "พอดี พองาม" เป็นธรรมดา ธรรมชาติ"



รำแดง มีไผ่ มีโหนด(ต้นตาล) หลักการซ่อมจึงใช้วัสดุท้องถิ่น และความปราณีตของช่างพื้นบ้าน ที่รู้จักทิศทางลม แดด ฝน บนถิ่นฐานบ้านเกิด บ้านที่ใช้ตีนเสาหล่อ(เสาปูน)ให้พ้นน้ำหลากในฤดูฝนชุกทางใต้ บ้านที่ใช้ตับตาล เป็นฝาและหลังคากระเบื้องดินเผาจะเย็นในหน้าร้อนจัด สัดส่วนบ้านลงตัว คุรุท่านหนึ่ง เรียก "สัดส่วนมนุษย์" บานหน้าต่างฝากระทุ้ง และที่ทำของเก่าที่หายไปขึ้นใหม่คือ "ฝาสอด"



ฝาสอด เขาจะตีโครงไม้ไผ่ทั้งลำซ้ายขวาขึ้นมาก่อน แล้วนำใบตาลที่แช่น้ำตากแห้งแล้ว มาสอดทีละใบๆให้แน่น จากนั้นไม้ไผ่ขัดทับกากบาทเป็นช่อง คนรุ่นเราดูแล้วต้องร้องว่ายากจัง แต่ดูชาวบ้านทำ ง่ายๆ แต่งามเหลือเกิน ความทนทานหลายคนอาจสงสัย แต่ส่วนตัวเชื่อไม่สงสัย มั่นใจในความอยู่แล้วสบายทั้งกายและใจ ไม่ต้องใช้พัดลม หรือแอร์ใดๆ เพราะเป็นบ้านที่หายใจได้



ฝาไม้ไผ่สานลายลูกแก้ว ใช้ไม้ไผ่ตีทับแข็งแรง ทนทานมาก ทุกอย่างทำใด้ดีให้สวยได้ ด้วยความตั้งใจและลงมือทำ แบบสบายๆ โครงการเรื้อบ้านหลังเก่าเดือนกันยาที่ผ่าน วันนี้ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอย่างมีชีวิตชีวา เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้คนทั้งภายนอกและภายในชุมชน 



ข้างในตัวบ้านนอนสบายเหมือนปรับอุณภูมิอัตโนมัติ พี่หยอยไปทำงานก็พักบ้านนี้จ้า



แม่ไฟในครัวใช้ถ่านจากลูกโหนด อยากชวนอาสาสมัครจากบ้านสวนไปช่วยทำเตาเผาถ่านให้พี่ต้อยเจ้าของบ้าน จะเป็นสิ่งดีงามที่เติมเต็มจากบ้านสวนอย่างบูรณาการเป็นรูปธรรมมาก พี่หยอยและทีมงานจะเปิดโครงการ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้ประมาณ กลางๆเดือนกุมภาพันธุ์ มีฐานบ้าน ฐานกินดีมีสุข ฐานอบต.รำแดง ฐานเคี่ยวตาลตับตาล ฐานจักสานใบตาล และการแสดงพื้นถิ่น พรุ่งนี้ต้องลงพื้นที่ไปเตรียมงานยาวถึงสิ้นเดือนนี้ จ้า แล้วจะส่งข่าววันเปิดที่แน่นอน เราจะได้ร่วมสนุกอย่างมีเนื้อหาสาระกันเหมือนเดิม 


เช้านี้ขอลาเพียงเท่านี้ ไปดูสวนสมรมก่อนเดินสายเสียหน่อย คิดถึงพี่น้องทุกๆคน 


ท้ายสุดบล๊อคนี้ฉลองเป็นสมาชิกบ้านสวนพอเพียงครบรอบ ๑ ปี ให้ตัวเอง ขอรับ


    

ความเห็น

มีงานตลอด แต่ไม่เคยยุ่งเลยจ้า ทำไปตามสบายๆ ง่ายๆ เงียบๆ แต่ชัดเจนจ้า

สวยจนตะลึง :admire:

Laughingป้าอ้อย

คนงาม เฮิ๊กๆๆๆฮะๆๆๆ คิดถึงที่สุด อยู่แม่ริมคงหนาวมาก ฝากไปเยี่ยมบ้านดินพี่อดุลที่สันทรายให้ด้วยนะ จะตะลึงอีกล่ะ

ตะลึงความงามของบ้าน ตะลึงความเก่งของพี่หยอยไงล่ะจ๊ะ

แม่ริมหนาวค่ะ สำหรับคนต่างถิ่นที่เพิ่งย้ายมาจากแถบกทม.อย่างป้าโนยิ่งหนาวกว่าชาวบ้านเค้า ณ เวลานี้ เที่ยง สิบห้านาที ไม่มีแดดเลย ยิ่งหนาวสะท้านทรวง


อยากไปตะลึงที่สันทรายจังเลย แต่ป้าโนไม่เคยก้าวล่วงพ้นธรณีประตูบ้านเลยจ้ะ วุ่นวายแต่อยู่ในบ้านนี่แหละแป๊บเดียวค่ำละ งานพืชสวนโลกที่คนเค้ามากันตรึมน่ะ ยังไม่เคยไปเลยนะคะเนี่ย

ก็ถือว่าเป็นคนแปลกคนนึง ต้องรักษาประวัติตัวเองไว้หน่อย ประเดี๋ยวจะกลายเป็นคนธรรมดาไป หุ หุ หุ


Laughingป้าอ้อย

บ้านรำแดงตอนผมอยู่ใต้ผมมาเที่ยวประจำเลยครับ เพราะมีเพื่อนซี้อยู่ที่นี่ สภาพบ้านแบบนี้มีเยอะมากในช่วงนั้น แต่ปัจจุบันผมไม่แน่นอนใจเพราะล่วงเลยมากว่าสามสิบกว่าปีแล้วครับ บ้านเพื่อนผมไม้ใช้ไม้โหนดครับ และหลังคามุงเบื้องดินฝาก็แบบของคุณหยอยนี่แหละ แต่ผมไม่รู้หรอกว่าเขาเรียกว่าบ้านตาล เพิ่งจะรู้วันนี้เอง

จะได้ช่วยสื่อสารให้ พี่เข้ารำแดงอยู่บ่อยๆครับ ดีใจแทนครับ กลับไปเยี่ยมบ้านเพื่อนอีกครั้งนะครับ

ดีใจที่ได้เห็นภูมิปัญญาถิ่นใต้ของเรายังอยู่ให้ลูกหลานของเรา และคนรุ่นหลังอย่างผมได้เห็นครับ

บอกตามตรงว่าไม่เคยเห็นมาก่อน และเพิ่งทราบว่าบ้านตาลก็มีด้วย ต้องบอกว่าคนรุ่นก่อนช่างรู้จักอยู่กับธรรมชาติ และเข้าใจใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสมจริงๆ

คนรุ่นหลังน่าจะเอาเยี่ยงเอาอย่างเป็นอย่างยิ่ง โลกเราจะได้น่าอยู่ขึ้นกว่าทุกวันนี้

จะรอติดตามความต่อเนื่องของโครงการนี้นะครับ

 

ปล.ไม่ไผ่ที่ใช้ทำฝาที่ว่า "ไม้ไผ่ตีทับแข็งแรง ทนทานมาก" ใช้ไม่ใผ่ชนิดไหนครับผม

ยินดีเป็นที่สุดครับ ไม้ไผ่ที่ใช้ชาวบ้าน เรียกไผ่บ้าน รู้สึกจะมีหนามเยอะ เรื่องพันธุ์ ชนิดจะถามมาให้ชัดเจนอีกครั้งครับ


โครงการก็หวังเช่นนั้นครับ

อนุรักษ์  ไว้ให้ถึงรุ่นต่อๆไป

หน้า