ความคืบหน้าทำสวนยางให้เป็นป่ายาง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    สืบเนื่องจากบล็อกนี้ ที่เคยนำเสนอสวนยางพารารกๆ ของผม มาดูกันครับว่าปีนี้สวนยางพาราผมรกขนาดไหนแล้ว

     หลายท่านอาจจะมองว่ารกมากแล้ว แต่ยังไม่ถึงขนาดที่ผมพอใจ เพื่อนบ้านอาจมองว่าผมบ้า เพราะกี่ร้อยสวนยางก็มีสวนผมสวนเดียวที่รก หรือสมาชิกที่เข้ามาอ่านก็อาจบอกว่าผมบ้าแล้ว บ้าก็บ้าครับ ที่ผมบอกว่ายังไม่พอใจเพราะผมคิดว่าธรรมชาติยังเกื้อกูลกันเองไม่พอ มันต้องรกมากกว่านี้ หรือต้นไม้ยืนต้นที่งอกขึ้นเองต้องโตกว่านี้อีกคาดว่าอีกสองสามปีก็น่าจะเป็นที่พอใจของผม

   ถึงแม้จะปล่อยให้รก แต่ผมก็ถางเฉพาะทางเดินครับ เฉพาะทางเดินจริงๆ อีกด้านของต้นยางผมก็ไม่ถาง ถามว่างูมีมั๊ยมีครับ เคยเจอ เจอกันแล้วก็ต่างคนต่างไปผมไม่ได้กังวลเรื่องนั้น

   หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมผมต้องทำอย่างนี้ ผมว่าร้อยทั้งร้อยคนที่เข้ามาอ่านบอกว่าทำแบบนี้ต้นไม้อื่นหรือหญ้าแย่งอาหาร แต่ผมไม่คิดอย่างนั้นครับ ผมคิดว่า

  1. อนาคตเมื่อต้นไม้หรือธรรมชาติสามารถเกื้อกูลกันได้แล้วผมไม่ต้องใส่ปุ๋ย 
  2. เป็นแหล่งอาหารให้ทั้งผม และสัตว์ป่า
  3. ผมมีไม้ไว้ใช้สอย ไม่ว่าจะนำมาเผาถ่าน หรือทำบ้านเมื่อไม้ยืนต้นโตขึ้น
  4. อื่นๆ

    หลายร้อยสวนถางเตียน เพราะเราถูกฝังหัวไว้ว่า หญ้าหรือพืชอื่นแย่งอาหาร ต้องตัดให้เตียน เมื่อตัดเตียนแล้วต้องใส่ปุ๋ยเคมี (ถามว่าใครได้ประโยชน์) อายุการใช้งานสวนยางพารา 25-30 ปี ถ้าตลอด 30 ปีถางเตียนมันก็เตียนอยู่ตลอด ถ้าผมให้ต้นไม้ยืนต้นมันขึ้นและอยู่กันไป 30 ปี ถึงเวลาโค่นยางพารา ก็ไม่ได้มีแต่ยางพารา

    สิ่งที่ผมคิดอาจไม่ถูกต้องตามความเชื่อของนักวิชาการ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และกรณีปล่อยสวนยางรกเฉพาะยางใหญ่ที่เปิดกรีดแล้วเท่านั้น ยางเล็กก็ว่ากันไปตามกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

 แถมรูปนี้ฝีมือการกรีดยางของผมเอง

ความเห็น

:pointing: ขอแสดงคามเห็นด้วยคน พืชที่ปลูกรกรก มีพืชตระกูลถั่วบ้างท่าจะดี 


 รากถั่วผลิต Nitrogen จะได้ช่วยบำรุงดินจำครูสอนมามาตั้งแต่เรียน  ม. ต้น น่าจะไม่ผิดทฤษฏี


:pointing:

สนับสนุนแนวคิดของคุณโสทรอย่างยิ่ง ที่เกิดเหตุภัยแล้ง เกิดพายุ  น้ำท่วม เกิดภัยพิบัติแปลกๆทางภาคอิสานและทางภาคเหนือ ก็เพราะสาเหตุจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวล้วนๆ โดยเฉพาะการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันโดยไม่มีพืชไม้ยินต้นอื่นขึ้นเลยนั้น เพราะพืช 2 ชนิดนี้กินน้ำมาก หน้าแล้งทางอีสานร้อนอยู่แล้ว พอปลูกยางพาราก็ยิ่งแล้งและร้อนมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะเกิดพายุฤดูร้อนที่รุนแรง ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วมตามมา ถ้าหากเกษตรกรยังไม่เปลี่ยนแนวคิดเชื่อตามที่นักวิชาการแนะนำ น่าสงสารและเป็นห่วงประเทศไทย

หน้า