ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
อ้อยหวานมีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังอีกแล้วค่ะ วันนี้มาเล่าเรื่อง...กลิ่นทุเรียน
เราคนไทยคงจะคุ้นเคยกับกลิ่นของทุเรียน แบบพอนึกถึงปั๊ปสัญญาในสมองสั่งการทันทีว่ากลิ่นทุเรียนเป็นยังไง คนชอบก็น้ำลายสอเต็มปาก แต่คนไม่ชอบก็แทบจะอ๊วก ส่วนตัวอ้อยหวานเองถ้าตัวเองกินเองก็ว่ามันหอม แต่ถ้าคนอื่นกินและตัวเองไม่ได้กินแล้วได้เรื่องเลยค่ะ เหม็นจนทนไม่ได้…ต้องรีบไปซื้อมากิน..ฮา…
เรื่องถอดรหัสกลิ่นทุเรียนมีอยู่ว่า...มีทีมนักวิจัยจากประเทศเยอรมัน ได้ทำการวิจัยสารประกอบในกลิ่นของทุเรียนไทย การถอดรหัสกลิ่นทุเรียนเริ่มต้นจาก ทุเรียนหมอนทองถูกส่งตรงจากเมืองไทยไปยังห้องแล็ปที่เยอรมัน
เนื้อทุเรียนหมอนทองถูกแกะใส่เครื่องทดลองที่สามารถแยกกลิ่น (mass spectrometer and gas chromatograph)
จากการวิจัยพบว่ากลิ่นทุเรียนมีส่วนผสมของกลิ่นถึง 50 กลิ่น ตั้งแต่กลิ่นผลไม้, กลิ่นตัวสกั้ง, กลิ่นโลหะ, กลิ่นยาง, กลิ่นไหม้, กลิ่นหอมคั่ว, กลิ่นกระเทียม, กลิ่นหอม, กลิ่นชีส, กลิ่นน้ำผึ้ง, กลิ่นเนื้อย่าง, กลิ่นยีสต์, กลิ่นปลาหมึกแห้งเป็นต้น
หลอมรวมเป็นกลิ่นพิเศษที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร กลิ่นทุเรียน
ทีนี้มาถึงเรื่องตรงกันข้ามจากข้างต้น “ทุเรียนไร้กลิ่น” คัดลอกจากหนังสือพิมพ์ The New York Time ฉบับเดือนมีนาคม 2007
มีนักวิจัยชาวไทย นายทรงพล สมศรี (Songpol Somsri )ได้ทำการวิจัยเพาะพันธ์ทุเรียนไร้กลิ่นขึ้นโดยให้ชื่อว่า จันทบุรีเลขที่ 1 (Chantaburi No. 1) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์หมอนทองและพันธุ์ชะนี
นอกจากนั้นนายทรงพล สมศรี ยังได้ทำการวิจัยเพาะพันธ์ทุเรียน จันทบุรีเลขที่ 3 ขึ้น เพื่อเอาใจคนชอบกลิ่นทุเรียน ลักษณะพิเศษของ ทุเรียนจันทบุรีเลขที่ 3 คือ ทุเรียนจะมีกลิ่นหลังจากเด็ดจากต้นได้ 3 วัน เพื่อสะดวกในการขนส่ง
“ทุเรียนไร้กลิ่น” ยังจะใช้ชื่อว่าทุเรียนได้หรือไม่??? หรือต้องตั้งชื่อใหม่ว่า “ (ดัน) ทุรัง” นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถมารถของมนุษย์ ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดนจริงๆ
อ้อยหวานหวังว่าคงจะไม่มีใครค้นคิดทุเรียนไร้หนาม อืม..หรือว่ามีคนทำแล้ว???
ไหนๆก็เขียนเรื่องทุเรียน ก็อยากเขียนให้หมดเปลือกความรู้เรื่องทุเรียนของอ้อยหวานเลย
ทุเรียนป่า “durian hutan” ของประเทศอินโดนีเซีย ทานได้ มีเนื้อสีแดง เนื้อบางและค่อนข้างแข็งกว่าทุเรียนทั่วไป
ผลทุเรียนป่า “durian hutan” ภาพจาก National Geographic
ต้นทุเรียนป่า “durian hutan” ภาพจาก National Geographic
น้ำทุเรียนเข้มข้นผสมกับน้ำมังคุดและมะละกอ อ้อยหวานไม่เคยลองค่ะ ไม่แน่ใจว่ามีขายวางขายที่แคนนาดาหรือเมืองไทยหรือไม่ แต่มีขายทางอินเตอเน็ท บริษัท Neways นี้อยู่ที่อเมริกา
แต่เห็นมีโฆษณาภาษาญี่ปุ่น
ภาษาฮังการี ภาษารัสเซีย และมีโฆษณาขายของเวปไซด์ที่ออสเตรเลียด้วย วางขายในแนวอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารเสริม
เขาบอกว่า..น้ำทุเรียนเข้มข้นนี้ไร้กลิ่นทุเรียนค่ะ มีคุณสมบัติเพียบ ดังนี้
เนื้อทุเรียนมีส่วนประกอบของไขมันโอเลอิก (oleic fats ) วิตามินอี สารประกอบกำมะถันอินทรีย์ (Organic sulfur compounds) และโปรตีนอ่อน (soft proteins)
ไขมันโอเลอิกและวิตามินอี มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidants) สูง ช่วยต่อต้านริ้วรอยและเสริมสร้างชั้นผิวหนัง
โปรตีนในทุเรียน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
สารประกอบกำมะถันอินทรีย์ (Organic sulfur compounds) ทำความสะอาดอวัยวะภายในร่างกาย อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
http://www.healthy-communications.com/durian.htm
ทุเรียนที่วางขายในเมืองอ็อตตาวา จะมาแบบแช่แข็งทั้งลูก ดูรายละเอียดจากบล็อกเก่าของอ้อยหวานได้ที่นี่
http://www.bansuanporpeang.com/node/24891
นอกจากนั้นก็มาแบบแกะเนื้อใส่กล่องแช่แข็ง ไอติม ไอศครีม และลูกอม
อ้อยหวานมีไอติมและไอศครีมทุเรียนติดบ้านอยู่เสมอค่ะ กินอยู่คนเดียว อร่อยคนเดียว แก้ขัดได้พอประมาณ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://www.weirduniverse.net/blog/comments/what_makes_durian_stinky/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23088286
http://www.sciencedaily.com/releases/2012/11/121128112206.htm
http://earthsky.org/earth/worlds-stinkiest-fruit-durian-is-a-chemical-cacophony
http://www.weirduniverse.net/blog/comments/what_makes_durian_stinky/
http://www.nytimes.com/2007/03/30/world/asia/30iht-durian.1.5082196.html?pagewanted=all&_r=0
ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุขค่ะ
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
- บล็อกของ อ้อยหวาน
- เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 13418 ครั้ง
ความเห็น
สมจิต
18 มกราคม, 2013 - 08:40
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
เอาของชอบมายั่วแต่เช้าเลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลค่ะ
อ้อยหวาน
18 มกราคม, 2013 - 19:54
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
พี่เขียนไป กลืนน้ำลายไป ต้องกินไอติมแท่งแก้อยาก
sujiraporn
18 มกราคม, 2013 - 08:50
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
ได้ความรู้เพียบเลย แต่อยากกินทุเรียนตะหงิด ๆ ขึ้นมาเชียว
อ้อยหวาน
18 มกราคม, 2013 - 19:56
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
กินเผื่อด้วยนะค่ะ เอาอย่างไม่สุกมาก
ทราย
18 มกราคม, 2013 - 09:07
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
นักวิจัยเค้าเก่งนะคะ ถอดรหัสกลิ่นทุเรียนได้
ทุเรียนหมอนทองมีถึง 50 กลิ่นแล้วถ้าเป็นทุเรียนบ้านที่กลิ่นแรงกว่าหมอนทองจะมีกลิ่นเกินกว่า 50 กลิ่นมั๊ยน้อ
ส่วนทุเรียนไร้หนามบ้านเราเคยมีคนทำแล้วค่ะ แต่นานมากแล้วและไม่เป็นที่นิยมกัน ทุเรียนไร้หนามก็เลยหายไป
อ้อยหวาน
18 มกราคม, 2013 - 20:00
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
ทุเรียนไร้หนามนี่หน้าตาเป็นยังไง จะกลมเกลี้ยงแบบแตงโมหรือเปล่าคะ
ที่จริงกลิ่นที่เขาแกะออกมาเกือบ 200 กลิ่นค่ะ แต่เขาไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร
ศิรินันท์
18 มกราคม, 2013 - 09:36
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
ตามกลิ่นทุเรียน พี่ อ้อยหวาน ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
https://www.facebook.com/Sirinanpraewa
อ้อยหวาน
18 มกราคม, 2013 - 20:02
Permalink
Re: ถอดรหัสกลิ่น…ทุเรียน
แล้วอย่าลืมกินเผื่อนะน้องนันท์
paloo
18 มกราคม, 2013 - 09:58
Permalink
Re: ความพอดี ... ธรรมชาติ
"รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" ... พังเพยสะกิดให้ผู้ได้ยิน ได้ฟัง ตระหนักต่อการใฝ่รู้ ...
รู้มากสักเพียงใด ก็ใช่ว่า จะต้องเอาขึ้นบ่า แบกหาม ...
รู้มาก ก็ได้ประโยชน์จากรู้มาก หากใช้เป็น เพราะรู้คุณ รู้โทษ จากสิ่งที่เราได้ยิน ได้เห็น เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าควรหลีกเร้น หรือเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์
แต่ ... แม้นจะรู้มาก ... หากไม่รู้จักใช้ประโยชน์จากรู้ ... ก็กลายเป็น "รู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" ไปซะงั้นแหละ
ขอบคุณมาก ๆ ที่เอารู้มาให้ มั่นใจว่าสักวัน ต้องได้ใช้ประโยชน์ จากรู้ครั้งนี้ ...
ธรรมมชาติ มีความ "ถูกต้อง ลงตัว" อยู่แล้ว ... จีง มั่นใจว่า ลุงคงไม่เอาความรู้ที่ได้นี้ ไป สนับสนุนใคร ให้คิดบังคับ ดัดแปลงธรรมชาติให้ผิดเพี้ยน จากความพอดี เพื่อความ "ถูกใจ" แต่จะนำไปศึกษา เรียนรู้ ว่า
"จะอยู่กับธรรมชาติ อย่างไร จึงจะพอดี"
อ้อยหวาน
18 มกราคม, 2013 - 20:14
Permalink
Re: ความพอดี ... ธรรมชาติ
มนุษย์เรามีการแก้ไขดัดแปลงมาตลอดเวลาตั้งแต่โลกได้มีมนุษย์ขึ้น ดังที่เราได้เห็นในปัจจุบัน มีน้อยสิ่งนักหรือเกือบไม่มีเลยที่รอดผ่านมือมนุษย์มา มีทั้งด้านบวกและด้านลบ และในทุกๆการเปลี่ยนแปลง มนุษย์เองก็ต้องเปลี่ยนให้ทันโลกด้วย ทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดมาจากฝีมือของมนุษย์เอง
.....ความรู้จะช่วยให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าไม่รู้ค่ะ
หน้า