เล่าสู่กันฟัง “ผลไม้ตระกูลแอนโนนา” (Annona) ตอน 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 มาอีกแล้วค่ะ วันนี้อ้อยหวานพาผลไม้ตระกูลแอนโนนา (Annona) มาเล่าสู่กันฟัง

 

เริ่มต้นจากตู้เลี้ยงปลาเก่าของอ้อยหวาน ซึ่งโดนเปลี่ยนหน้าที่มาเลี้ยงลูกต้นไม้แทน ดูจากบล็อกเก่าที่นี่ค่ะ http://www.bansuanporpeang.com/node/25500

กระถางเบียดกันแน่นเอี้ยดเลย ในตู้มีต้นกล้าของผลไม้หลายชนิดที่อ้อยหวานเพาะจากเมล็ด และหนึ่งกระถางในนั้นคือ เชอริโมย่า การบ้านจากคุณครูนัท

 

 กระถางนี้มีอยู่ 5 ต้น อีกวันสองวันจะต้องแยกกระถางแล้วค่ะ

 

ด้วยความที่บ้าเห่อมาก ดูเช้าดูเย็น แทบจะนั่งนับใบกันทีเดียว แล้วก็เกิดสงสัยใคร่รู้ (ตามนิสัยของอ้อยหวาน) ว่าลูกต้นไม้แสนรักนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร หลังจากที่ได้ขุดคุ้ย เสาะหาอยู่พักใหญ่ ได้รายละเอียดมาพอสมควร เลยได้เอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ เชอริโมย่าเป็นหนึ่งในผลไม้ตระกูลแอนโนนา (Annona) และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับน้อยหน่าค่ะ

ผลไม้ตระกูลแอนโนนา (Annona) พี่น้องในตระกูลนี้มีอยู่ประมาณ 110 ชนิด อ้อยหวานจะนำมาเล่าเพียงบางชนิดเท่านั้น และจะขอผ่านน้อยหน่าและน้อยโหน่ง เพราะเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว

 

 ขอเริ่มที่ เชอริโมย่า (Cherimoya,Custard Apple, Annona cherimola) มีถิ่นกำเนิดในทางเหนือของเทือกเขาแอนดีส ทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นสูงประมาณ 15-20 ฟุต

 

ดอกมีสีเขียวและเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ที่แปลกคือภายในดอกเดียวจะเป็นทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแต่คนละเวลากัน คือดอกจะบานนานประมาณสองวัน 36 ชั่วโมงแรกจะเป็นดอกตัวเมีย ต่อมาเขาจะแปลงเพศเป็นดอกตัวผู้ ดังนั้นถ้าอยากกินลูกก็ต้องช่วยเขาผสมเกสร

 

เนื้อสีขาวครีมของลูกเชอริโมย่าจะมีรสชาติหวานคล้ายๆกล้วย วานิลลา สับปะรดและมะม่วง รวมกัน ใช้ในสลัด เครื่องดื่ม ขนมและไอศครีม

อ้อยหวานไม่เคยทานเชอริโมย่า แต่ไปอ่านคำยืนยันว่าหวานอร่อยจากปากคำของคุณนัทได้ที่นี่

http://www.bansuanporpeang.com/node/24778 

ขอบคุณค่ะคุณนัท

ขยายพันธ์จากเมล็ด ใช้เวลา 21-40  วัน หรือจากการการตอนกิ่ง

เมล็ดของเชอริโมย่ามีพิษ อย่ารับประทาน

 

รายละเอียดดูได้ที่นี่ค่ะ

http://www.crfg.org/pubs/ff/cherimoya.html

http://www.easybloom.com/plantlibrary/plant/cherimoya

 

 

พี่น้องของเชอริโมย่าในตระกูลแอนโนนาลูกต่อมาคือ ทุเรียนเทศ (Soursop,  Graviola, Annona muricata) ถิ่นกำเนิด ทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน ลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร


 

ทุเรียนเทศถือว่าเป็นผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลแอนโนนา ลูกยาวประมาณ 20-30 ซม. น้ำหนัก 4-5 กิโลกรัม ทุเรียนเทศบางพันธุ์มีผลใหญ่หนักถึง 7 กิโลกรัม

 

ในเปอร์โตริโกจะมีการแบ่งชนิดพันธุ์ของทุเรียนเทศออกเป็น 3 หมวดหมู่คือ หวาน จืด และเปรี้ยว หรือแบ่งตามรูปร่างของผลทุเรียนเทศอีกเป็นรูปกลม รูปหัวใจ รูปยาวป้อม ต่อจากนั้นยังแบ่งตามลักษณะของเนื้อสุกคือ พันธุ์เนื้อนุ่มและฉ่ำ  และพันธุ์เนื้อแน่นแข็ง

ในเอลซัลวาดอร์ ทุเรียนเทศปลูกกันมากอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หวาน (guanaba azucaron) ใช้กินดิบและใช้ทำเครื่องดื่ม  อีกพันธุ์หนึ่งคือ พันธุ์เปรี้ยว (guanaba acida) ใช้ทำเครื่องดื่มเท่านั้น  

 ขยายพันธ์จากเมล็ด ใช้เวลา 15-30 วัน

ลักษณะเด่นของทุเรียนเทศไม่ใช่ที่เนื้อหวานทานอร่อยเช่นเชอริโมย่า แต่เป็นประโยชน์ทางยารักษาโรคค่ะ ทุกส่วนของต้นทุเรียนเทศใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคในทวีปอเมริกาใต้ มาตั้งแต่สมัยโบราณ ผลและน้ำผลไม้ใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้ไข้ เพิ่มนมให้มารดาหลังคลอด รักษาโรคท้องเสียและโรคบิด

เมล็ดบดใช้เป็นยาขับพยาธิ ยากำจัดเหา  เปลือก ใบและรากใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคเครียดและโรคประสาท

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของทุเรียนเทศคือ ใช้รักษาโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี ค.ศ 1940 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารที่มีชื่อว่า Annonaceous acetogenins ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบใน ใบ ลำต้น เปลือกและเมล็ดของทุเรียนเทศ

จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 3 กลุ่ม ยืนยันว่าสาร Annonaceous acetogenins นี้สามารถต้านและทำลายเซลล์มะเร็งทุกชนิด (โดยไม่ทำอันตรายเซลล์ที่มีสุขภาพดี)

นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  รักษาโรคความดันโลหิตสูง เอสมา

 

ใบทุเรียนเทศมีความเชื่อกันว่าจะสามารถช่วยลดเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับยาเคมีบำบัด (chemotherapy) และอาจจะดีกว่าตรงที่ชาทุเรียนเทศจะทำลายเฉพาะเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง แต่ไม่ทำลายเซลล์ปกติ

 

วิธีทำชาใบทุเรียนเทศสดสำหรับโรคมะเร็ง

ใบทุเรียนเทศสด

1. ใส่ใบแก่ของทุเรียนเทศ 10 ใบ ในน้ำต้มเดือด 3 ถ้วย

2. ต้มจนน้ำแห้งเหลือเพียง 1 ถ้วย

ให้ผู้ป่วยดื่มวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งถ้วย

 

ใบทุเรียนเทศแห้ง ไม่ควรเก็บไว้เกิน 30 วัน

1. ตัดหรือฉีกใบทุเรียนเทศแห้งเป็นชิ้นเล็ก ใส่ไว้ในแก้วกาแฟ

2. เทน้ำเดือด ใส่ในแก้วให้เต็มแก้ว

3. ปิดฝาทิ้งไว้ 30 นาที - 1 ชั่วโมง สามารถดื่มอุ่นหรือเย็น เติมรสหวานด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง

อย่างไรก็ดีอ้อยหวานคิดว่าควรปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนค่ะ

 

รายละเอียดดูได้ที่นี่ค่ะ

 

http://www.rain-tree.com/reports/graviola-techreport.pdf

http://eol.org/pages/1054863/overview

http://www.hort.purdue.edu/newcrop/morton/soursop.html

http://healingherbsofthecaribbean.blogspot.ca/2012/09/the-soursop-tree-graviola_23.html

http://infonewssoftware.blogspot.ca/2011/02/cancer-treatment-with-soursop-leaf.html

http://www.etsy.com/listing/104283171/60-guyabano-soursop-graviola-dried

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุขค่ะ

 

 ขอบคุณค่ะ

 อ้อยหวาน

 

ความเห็น

เหมียวรักและคลั่งใคล้พรรณไม้ในวงศ์ANNONACEAEมากมายเลยค่ะ....

เก็บไว้หลายชนิดใช่ไหมคะ มีโอกาสจะไปขอดู

ปลูกเก็บไว้เป็นพิเศษเลยค่ะ แต่ก็เน้นที่ไม้ดอก แล้วก็เป็นวงศ์ที่มีในไทยค่ะ...

น้อยโหน่งแถวบ้านใจ เขาเยียกว่า บ้าราสา(ลูกจะออกไปทางสีชมพูเป็นชอบพวกค้างคาวมากๆ คนเลยอด)หรอยหวาน้อยหน่านะใจว่า

sudjai_waitong@hotmail.com
     0805401058

น้อยโหน่งไม่ใช่เชอริโมย่านะน้องใจ แต่เป็นพี่น้องกัน

น้อยโหน่ง

เชอร์ริโมย่าต้องช่วผสมพํนธ์ให้ โอ ! แย่จัง อินเนียร์ไม่ค่อยได้สนใจปลูกที่ผสมพันธ์เอง เมื่อก่อนปลูกเสาวรสออกดอกมาสวยดีเห็นไม่เป็ลูกซักทีถอนเลย (จั่งซี่มันต้องถอน) ตอนนี้เพาะเมล็ดเชอร์ริโมย่าของคุณนัทอยู่ เอาไงดี แต่รู้สึกได้ในบล๊อกนี้ว่าคุณอ้อยขยันหาข้อมูลทีเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆให้ได้รับรู้ ขอบคุณมากๆเลย

ผมปลูกน้อยหน่าที่บ้าน ออกลูกมาหวานชื่นใจจริงๆ ไม่ต้องผสมให้ปลูกมาหลายปีพอสมควรยังออกลูกมาให้กินอยู่เรื่อยๆเมื่อถึงฤดูกาลครับ

ลูกเขาหวานอร่อยนะค่ะ เพาะไว้แจกก็ได้ค่ะ

ลูกใหญ่มากเลยค่ะพี่อ้อยหวาน

ทุเรียนเทศมีหลายพันธ์และหลายขนาดค่ะน้องสมจิต

ชอบมากครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๅครับ

ตอนนี้กำลังลองปลูกทุเรียนเทศ ไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือไม่

แล้วจะรายงานให้ทราบครับ

หน้า