ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
วันนี้อ้อยหวานเอาเรื่องการกราฟติ้งมาเล่าสู่กันฟังอีกแล้ว แต่จะเป็นคราวของต้นมะเขือเทศค่ะ
[“กราฟติ้ง” (Grafting) ความหมายของคำนี้แปลเป็นไทยครอบครุมตั้งแต่ การเสียบกิ่ง..ทาบกิ่ง..ติดตา]
กราฟติ้งมะเขือเทศนิยมใช้กันมากสำหรับในหมู่เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกต้นมะเขือเทศ 2 สายพันธ์ พันธ์แรกจะเป็นพันธ์ที่ใช้เป็นต้นตอ “รูทสต็อท” (Rootstock) ส่วนอีกพันธ์เป็นที่มะเขือเทศที่เราต้องการผล ”ไซออน” (scion)
การกราฟติ้งมะเขือเทศที่อ้อยหวานคุ้ยเขี่ยๆมามีอยู่หลายวิธี ให้เลือกตามพึงพอใจ
วิธีที่ 1 แบบใช้ท่อหรือหลอดหรือแบบญี่ปุ่น วิธีนี้ รูทสต็อท และ ไซออน จะต้องมีขนาดเดียวกัน
ท่อที่ใช้ในการกราฟติ้งจะต้องมีขนาดพอดีด้วยค่ะ
วิธีที่ 2 วิธีนี้อัตราความสำเร็จจะสูงกว่าวิธีอื่น เพราะรากของทั้ง 2 ต้นยังติดอยู่
แต่เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลาและความละเอียดมาก
วิธีที่ 3 ใช้วิธีเสียบยอด แต่ในรูปเป็นการเสียบยอดแตงโมบนฟักทอง
และวิธีสุดท้าย ใช้หุ่นยนต์กราฟติ้ง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
และอ้อยหวานคิดว่ามหัศจรรย์ที่สุด หุ่นยนต์ทำงานได้ปราณีตอย่างไม่น่าเชื่อ เห็นอย่างนี้แล้วมนุษย์อย่างเราๆต้องทำได้แน่นอน
ส่วนรูปข้างล่างเอามาให้ดูเล่น การกราฟติ้งประหลาดๆแบบนี้ มีคนลองทำอยู่เสมอๆแต่ผลสำเร็จต่ำมาก
มันฝรั่ง+มะเขือเทศ
มะเขือเทศ+มันฝรั่ง
หัวไชเท้า+ผักกาดขาว
หัวไชเท้า+กะหล่ำปลี
พริก+มะเขือยาว
ใครอยากลองทำบ้าง ขอเชิญเลยค่ะ เชิญใช้จินตนาการให้เต็มที่ แล้วอย่าลืม เอามาอวดกันบ้างนะคะ
ดูกราฟติ้งตอนแรกได้ที่นี่่ค่ะ
http://www.bansuanporpeang.com/node/26077 และ http://www.bansuanporpeang.com/node/26098
โปรดติดตามอ้อยหวานเล่าเรื่องการกราฟติ้ง ในตอนต่อไป
รายละเอียดดูได้ที่นี่ค่ะ
http://cals.arizona.edu/grafting/howto/tomatoes/selecting_tomato_rootstocks
http://therealgarden.com/2011/04/tomato-grafting-time-to-cut/
http://marmitelover.blogspot.ca/2012/04/how-to-graft-your-own-tomatoes-for_18.html
http://bloomingglenfarm.com/blog/on-the-farm/tomato-grafting
http://www.baike.com/wiki/%E8%BF%9C%E7%BC%98%E5%AB%81%E6%8E%A5’
http://www.lookatvietnam.com/2010/01/local-engineer-produces-2-in-1-tomato-potato-plant.html
I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
- บล็อกของ อ้อยหวาน
- อ่าน 26652 ครั้ง
ความเห็น
Sopha B'
20 มีนาคม, 2013 - 16:14
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
คนทำฝีมือ จริง ๆ ต้นไม้ยังอ่อนและก็ยังเล็กอยู่เลย
อ้อยหวาน
20 มีนาคม, 2013 - 19:50
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
เอ๊าะๆอย่างนี้แหละน้องภาผลสำเร็จจะสูงกว่าแก่ๆ ติดเร็วด้วย 1-2 อาทิตย์เอง
ขอเรียนรู้
20 มีนาคม, 2013 - 16:45
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ขอบคุณคุณอ้อยหวานสำหรับความรู้
ดีคิดว่าบ้านเราหากใครจะลองทำ เท่าที่ดีศึกษาความรู้การเกษตรมานิดหน่อย ในตระกูลมะเขือควรใช้ต้นมะเขือพวงเป็นต้นรากเพราะอายุยืนถึงสามปี
อยากเห็นพี่น้องบ้านสวนเราลองทำดูนะค่ะ
http://youtu.be/0wnLJ0op8Ug
อ้อยหวาน
20 มีนาคม, 2013 - 19:56
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ขอบคุณค่ะคุณดี
ทุกพื้นที่จะแตกต่างกันไปค่ะ เพราะฉนั้นต้องศึกษาหาความรู้กันก่อนที่จะทำ อย่างที่แฉะน้ำท่วมบ่อยๆก็ต้องหาต้นตอที่มีรากทนต่อน้ำท่วม หรือลองทำกราฟติ้งพันธ์นอกกับพื้นเมือง
แจ้ว
20 มีนาคม, 2013 - 19:57
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ได้ความรู้ ได้แนวคิด ยอดเยี่ยมเลย.....ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
20 มีนาคม, 2013 - 20:17
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ต้นยางพาราก็มีการกราฟติ้งนะค่ะคุณแจ้ว
อารีย์_กำแพงเพชร
21 มีนาคม, 2013 - 08:53
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ขอบคุณมากค่ะพี่อ้อยหวาน หนูชอบภาพแรกมากเลย เห็นเขาทำเหมือนง่าย แต่ทำเองดูเหมือนจะยากนะคะ อิอิ
แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง
อ้อยหวาน
22 มีนาคม, 2013 - 02:11
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ลองทำไปเรื่อยๆ อีกหน่อยก็คล่อง สนุกดีค่ะน้องอารีย์
คนบำนาญ
21 มีนาคม, 2013 - 11:16
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ชอบมาเลยค่ะอยากลองทำดูแต่กล้าๆกลัวๆ ว่าทั้งต้นคอยเสียบและต้นถูกเสียบจะไปทั้งคู่ เดี๋ยวมีเวลาจะขอลองต้นที่หาง่ายๆ ทำง่ายๆก่อนเนอะ ขอบคุณค่ะที่อุตส่าห์นำความรู้ดีๆมาฝาก
อ้อยหวาน
22 มีนาคม, 2013 - 02:13
Permalink
Re: ศิลปของการกราฟติ้ง ตอน 2
ลองดูนะคะ ที่ง่ายที่สุดคือ ต้นชวนชมค่ะ
หน้า