สมุนไพรรสหวาน = อ้อยแดง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                 หวานเป็นลม ... ขมเป็นยา ...

     วลีนี้ ถูกนำมาใช้ หลากหลายโอกาส ทั้งนี้ ทั้งนั้น สุแท้แต่จุดประสงค์ ... จนแทบฝังผู้ฟังว่า ... อะไรที่มีรสขม ๆ ก็ย่อม จะเป็นยา ... ส่วน อะไร ที่รสหวาน ก็จะสำแดงโทษลม เอาแก่ผู้บริโภค

        บล็อกนี้ ... มิได้ตั้งใจลบล้าง พังเพยวลี ที่อ้างข้างต้น ...

     ประสงค์ เพียงนำสมุนไพรบางตัวมาเสนอให้ได้รู้จักกันเท่านั้น ... แต่เผอิญ สมุนไพร ตัวนี้ เกิดมีรสหวาน ... ก็ให้คิดซะว่า เป็นข้อยกเว้น ก็แล้วกันเนาะ ... ฮึ ๆ ๆ

       “อ้อยแดง” ... คือสมุนไพร ที่จะนำมาให้ท่านได้ชมกันในวันนี้ ...

              เอ้า ... ล้อมวงเข้ามา ... เริ่มเปิดตัวละนะ

 

 

 

 

   นี่ ...  1 ใน 2 กอ ที่ปลูกไว้ ... “อ้อยแดง”

      เข้าไปดูใกล้ ๆ ... ดีกว่านะครับ จะได้เห็นกัน จะ ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         นี่ส่วนใบ ... สีสัน โดยรวมเป็นอย่างไร ดูเองนะครับ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   เอ้า ... ดูตรงที่ใกล้ ๆ เห็น สีสัน ส่วนยอด ไหมครับ ... สวยเนาะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     อะ ... ทีนี้ ลดมุมมองต่ำลง แล้ว ... มองไปที่ ลำต้น บ้าง

      สังเกต เห็นอะไรบ้างไหมครับ

 

 

 

 

 


 

 

 

      ครับ ... ใช่เลย ...

   ที่กาบใบ และ ลำต้น จะมีนวลขาวคล้ายแป้ง เกาะอยู่เยอะเลย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           เอ้า ... มองไปทางนั้น หน่อยซิครับ ...

     ที่เห็นนั่น ... เป็นอ้อยไว้เคี้ยวน้ำ ครับ ... หากอยากเทียบความแตกต่าง ก็ย้อนกลับขึ้นไปดูภาพต้น ๆ อีกครั้งก็แล้วกันครับ

 

 

 

 

     

     ส่วนที่จะนำไปเป็นสมุนไพร ... ก็ลำต้นนั่นแหละ ปอก กาบใบ และตัดยอดทิ้ง (รึจะนำไปขยายพันธุ์ก็ไม่ว่ากัน) ... ข้อ และตา ใช้หมด ไม่ต้องทิ้ง

           สรรพคุณ ของเขา :  ดั่งนี้

     - แก้ไข้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร แก้ ไอ ขับปัสสาวะแก้พิษตานซางในเด็ก

          พังเพยวลีที่ว่า “หวานเป็นลม ... ขมเป็นยา” ...

     เห็นจะต้องยกเว้น ไว้บ้าง ... สำหรับอ้อยแดง ... แม้จะไม่สมบูรณ์ก็เหอะ

    เนื่องจาก ... อ้อยแดง ยังไม่สามารถหนีห่าง สำนวนที่ว่า ไปได้ทั้งหมดหรอกครับ เพราะ หากเรานำเปลือกมาเคี้ยวดู (สำหรับผู้ที่ยังเหลือฟันให้เคี้ยว) ... รสขมก็ยังโผล่คุณสมบัติมาให้รู้ลิ้นแหละ

    แต่พังเพย “หวานเป็นลม ... ขมเป็นยา” ... นั้นไม่ตกยุค ตกสมัย ที่จะนำไป เตือนสติ ให้กำลังใจ คนที่ ทำสิ่งใดไม่ค่อยทน ... แล ... ชะงัดนักที่จะใช้เตือนสติ ให้ได้ใช้วิจารณญาณในการฟังความ ... จะได้ไม่หลงหวานลมปาก ... ด้วยหาก

ระเริงไปกับคำป้อยอ ... รังเกียจ เดินหนี คำตำหนิที่บริสุทธิ์

แล้วสักวัน ... จะต้องเป็นลม แหละ

 

ความเห็น

อ้อยแดง ที่เป็นพืชสมุนไพรนี้มีอีกชื่อคือ อ้อยดำ แต่รสออกขมนะครับ ไม่หวานเหมือนอ้อยควั่น

    ที่้เอามาขึ้นบล็อกให้ดู เป็นอ้อยที่ปลูกไว้สำหรับต้มยา โดยเฉพาะ ไม่นิยมทาน เพราะเปลือกออกรสขม

     ที่บ้านเรียกอ้อยชนิดนี้ว่า อ้อยแดง ...

      ส่วนอ้อยเคี้ยว หรือ อ้อยควั่น จะเรียกตามสีผิวเปลือกที่เห็น คือ อ้อยขี้ผึ้ง (สีออกเหลือง) กับอ้อยดำ ซึ่งเรียกอ้อยที่สีผิวเปลือกออกแดงเลือดหมู ค่อนดำ ... ดำกว่าอ้อยแดงมากเลยครับ ... ทั้งลำก็โตกว่ามาก

    ส่วนภาพหลังสุด ลำจะออกน้ำตาล อมแดงนิด ๆ ผมก็เพิ่งเคยเห็น เลยเอามาปลูกไว้ ... หลาย ๆ คน มาขอไปเข้าขบวนขันหมาก ... บอกว่า "อ้อยขาว" ... ดู ๆ ก็ไม่ทราบว่าขาวตรงไหน ... คงขาวเนื้อในกระมัง

    ก็เป็นเรื่องปรกติ ที่พืชพันธุ์ จะถูกเรียกขาน ต่างกันไปตามแต่ละพื้นถิ่น

       ขอบคุณครับ ที่ช่วยเติมเต็มข้อมูล ให้คนอ่าน ได้ทราบหลาย ๆ ด้าน

กอนี้อยู่ที่บ้านแม่ สทิงพระ มันชื่ออ้อยไรนะลุง ผมไม่ถนัดชื่อมัน 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

    ต้องขออภัยยิ่ง ... ตาลุงไม่ปกติ อย่างที่ทราบ ๆ กัน จึงมองไม่ชัด

      ถึงมองชัด ก็อาจ บอกผิด นะ ... เพราะแต่ละที่ เรียกไม่เหมือนกัน ... เอาเป็นว่า ให้ข้อมูล "อ้อยแดง สมุนไพร" เพิ่มเติมก็แล้วกัน

      สีสัน ต้น ใบ บอกไว้แล้ว ... จะขออนุญาตเพิ่มเติม ขนาอของลำต้น

   โดยปกติ ขนาดความยาว (บางครั้งเขาขี้เกียจยืน ก็โอนสัญชาติ เป็นอิสระเอน) ของลำต้น อยู่ที่ประมาณ 1- 2.5 เมตร แต่เอาแน่นอนไม่ได้ครับ

    แต่ที่เห็นชัด คือ เขาเป็นอ้อยที่มีลำต้นขนาดเล็กครับ ... ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น อ้อยแดงสมุนไพร จะประมาณ 2 - 2.5 เซนติเมตร ครับ ...

    ดังนั้นจากรูป ดูเหมือน จะเป็นอ้อยลำใหญ่ ... ไม่น่าจะใช่ อ้อยแดงที่นำมาให้ดูในบล็อกนะครับ

เห็นเค๊าปลูกในวัดแถวบ้านเป็นดงเลยลุง เพิ่งเข้าใจว่าเข้ายานี่เอง

ต้องไปขอมาปลูกไว้สักกอแล้ว

พอเพียงแล้วจะเพียงพอ

   วิถีหนึ่ง ... ที่บ่งความชาญฉลาดของบรรพบุรุษเรา คือ ...

     วันยกเสาเอก .... สิ่งที่ผูกติดไว้บนปลายเสาเอก คือ ... ต้นกล้วย .. ต้นอ้อย และต้นมะพร้าว

     ผมเคยตั้งคำถามตัวเอง ว่า "ทำ ... ทำไม ?"

       แล้วได้คำตอบ จากที่ท่านสั่งไว้ว่า ยกเสาเอกแล้ว อย่าเกิน 7 วัน ... ให้เอาต้นไม้ปลายเสา ไปปลูก ซะ จะได้เกิดมงคล

    ฮึ ๆ ๆ ... แน่ละซิ ... หากทำตามนั้น สิ่งมงคลเกิดแน่ ๆ ... ก็ต้นไม้ปลายเสา ล้วนไม้โตไว ... ให้ผลเร็ว

    เห็นผลต้นแรก คือ อ้อย ... ตามมาด้วยกล้วย ... และก็มะพร้าว

      บ้านปลูกเสร็จ ไม่นานก็มีพืชผลให้ ได้เก็บกินตามมา

               บรรพบุรุษเรา ฉลาด แมะ ?

    เอาอย่างท่าน ... ช้าอยู่ใย ... ไปขอมาปลูกไว้เหอะ

ว่าจะมาฟังคำหวานนะลุง

 การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ

   ถึงกับลุง กะตะ ฟังได้ ... แต

     ยาลืม "กาลามสูตร"

กำลังจะหามาปลูกค่ะ  ที่โรงเรียนเวลาบวงสรวงเจ้าที่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ  อ้อยดำ  คิดจะเอามาปลูกต่อ  แต่ไม่ทันเขาสักทีมีแต่คนอยากได้ค่ะ

    หาเอาจาก ที่ไหนก็ได้ ครับ ไม่ต้องรอ เดนเจ้าที่ หรอกครับ

      ปลูกไว ... ก็ให้ผลเร็วแหละ

หน้า