พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
วันนี้จะเขียนบันทึกแบบ อธิบายรูปภาพสั้น ๆ พอได้ใจความ สืบเนื่องจากบันทึกก่อนหน้านี้
ที่ทำหลุมพอเพียง คุณ "อ้อยหวาน" ตั้งชื่อให้ว่า "หลุมมีกิน" ผมจึงนำมากำหนดเป็นชื่อบันทึกนี้เสียเลย...
หลุมที่๑. หลุมนี้ผมแปรสภาพจากหลุมของกอไผ่ดำที่ขุดออกครั้งแรก ...
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยไข่ .. "ไม้ยืนต้น" รอบสี่มุม คือ..๑.ต้นชมพู่ ๒.ต้นสะเดา ๓.ต้นมะรุม และ ๔.ต้นป่าช้าร้าง
"ไม้รายวัน" หรือไม้ปัญญาอ่อน ประกอบด้วย ข่า ตะไคร้(แทนแฝก)มะเขือตอแหล(กรอบสีม่วงอ่อน) มะเขือส้มเทศลูกเล็ก พริก
ผักกาดกวางตุ้งขาว ผักชีลาวหรือผักชีใบเลื่อย
..
.
หลุมที่ ๒. หลุมนี้อยู่ทางใต้หลุมแรก ไผ่ตงขั้นระหว่างกลาง อยู่ใกล้ๆ กับกอไผ่ดำกอใหญ่ที่ยังคงรักษาความร่มเย็นเอาไว้อย่างดี
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยน้ำว้าเกษตร .. "ไม้ยืนต้น" รอบสี่มุมคือ ๑.ไม้สะเดา ๒.ไม้พฤกษ์(ซุด) ๓.ไม้มะรุม และ ๔.ไม้มะม่วง
"ไม้รายวัน" หรือไม้ที่ให้ผลผลิตเร็ว ประกอบด้วย ข่า ตะไคร้(รอบข้าง) สับปะรด ผักหวานบ้าน พริก มะเขือ ผักกาด ผักหอมแย้
..
.
หลุมที่ ๓. หลุมนี้อยู่ด้านที่ใต้ของหลุมแรก ติดกับหลุมที่ ๒.
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยหอมเขียว ๑ ต้น และกล้วยน้ำว้าเกษตร(ต้นเล็ก) ที่ได้รับแจกมาจากเกษตรอำเภอหนึ่งต้น(เพาะจากผ่าตา)
"ไม้ยืนต้น" รอบสี่มุม คือ ๑.ไม้สะเดา ๒.ไม้มะรุม ๓.ไม้มะม่วง ๔.ไม้พฤกษ์
"ไม้รายวัน" หรือไม้ที่ให้ผลผลิตเร็ว ประกอบด้วย มะละกอ ข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ ผักกาดหอม ผักกาดกวางตุ้งขาว ผักชี
..
.
หลุมที่ ๔. อยู่เหนือขึ้นมาทางสระน้ำ ใกล้ๆ กับต้นมะพร้าวทั้งสองต้น ฟลุมนี้ประกอบด้วย...
"ไม้พี่เลี้ยง" กล้วยน้ำว้าพื้นเมือง .."ไม้ยืนต้น" รอบสี่มุมคือ ๑.ไม้สะเดา ๒.ไม้มะม่วง ๓.ไม้มะรุม ๔. ไม้ขี้เหล็ก
"ไม้รายวัน" ที่ปลูกเสริมในหลุมประกอบด้วย.. ตะไคร้(ปลูกทดลองทั้งถี่และห่าง) พริก มะเขือ สับปะรด ผักกาดกวางตุ้งขาว
ผักกาดหอม หลุมนี้คลุมฟางบางมาก ทำไปข้างหน้าก็เลยลืมข้างหลังครับ
..
.
หลุมที่ ๕. หลุมนี้ขยับเข้ามาด้านในอีกหน่อย อยู่ใกล้ๆ กับที่ปลูกผักสวนครัวและแนวตะไคร้เดิม หลุมนี้ปรับแต่งตามบริบท
ของพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ไปบ้างแล้ว ประกอบด้วย
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยหอมเขียว ไปขอแบ่งซื้อจากเพื่อนบ้านที่หมู่บ้านของพี่หนานมารวมกันทั้งหมด ๗ ต้น
"ไม้ยืนต้น" ในหลุมประกอบด้วย ๑.ไม้ขนุน ๒.ไม้ชะมวง ๓.ไม้ติ้ว(พี่สาวนำมาฝากจากอุบล) ๔. ส้มโอ
"ไม้รายวัน" สับปะรด พริกขี้หนูขาว มะเขือกรอบ ผักกาดหอม ตะไคร้(ปลูกห่างๆ)
..
.
หลุมที่ ๖. "ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยหอมเขียว .. "ไม้ยืนต้น" ประกอบด้วย ๑.ไม้สะเดา ๒.ไม้มะรุม ๓.ไม้ขนุน ๔.ไม้พฤกษ์
"ไม้รายวัน" ประกอบด้วย สับปะรด พริก มะเขือ ทานตะวัน(มีดอกไม้ด้วย) ผักกาดหอม ผักกาดกวางตุ้ง(พึ่งหว่าน) ผักชี
ต้นหอม(หอมแบ่ง) ตะไคร้ ลืมไม่ได้เลยครับ
..
.
หลุมที่ ๗. หลุมนี้ ปรับแต่งหลุมแทรกเข้าระหว่างแนวตะไคร้เดิม หลุมนี้ประกอบด้วย
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยน้ำว้าเกษตร .. "ไม้ยืนต้น" ประกอบด้วย ๑.ไม้ลำไย ๒.ไม้มะรุม ๓.ไม้พฤกษ์ และ ๔.ไม้เพกา
"ไม้รายวัน" หรือไม้อายุสั้นในหลุมประกอบด้วย ตะไคร้ สับปะรด คะน้า มะเขือเทศ(เน้นมาก) พริก ผักกาดหอม หอมแย้
..
.
หลุมที่ ๘. หลุมนี้ ก็เป็นการปรับแต่งจากแนวตะไคร้เดิม ประกอบด้วย
"ไม้พี่เลี้ยง" (ไม่รู้ใครเป็นพี่เลี้ยงใครล่ะงานนี้) กล้วยไข่ ...
"ไม้ยืนต้น" ประกอบด้วย ๑.ไม้ยางนา ๒.ไม้สะเดา ๓.ไม้มะรุม และ ๔.ไม้ติ้ว(แบ่งออกมาจากหลุมที่บ้านหลุมละ ๓ ต้น)
"ไม้รายวัน" ในหลุมประกอบด้วย มะละกอ พริก ตะไคร้ มะเขือเทศ ผักกาด ผักชี
..
.
หลุมที่ ๙. หลุมนี้ก็เป็นการปรับแต่งแนวตะไคร้เดิม เป็นหลุมเพื่อที่จะได้ทำการรดน้ำได้ง่าย ได้หลายอย่างพร้อมๆ กัน
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยไข่ กล้วยไข่ต้นนี้สเลนเดอร์มาก ผมจึงทำการตัดออกครึ่งลำต้น หวังให้แตกยอดออกมาใหม่
ให้ดูอวบอ้วนสวยงามกว่าเดิมครับ
"ไม้ยืนต้น" ประกอบด้วย ๑.ไม้ยางนา ๒.ไม้มะรุม ๓. ไม้เพกา
"ไม้รายวัน" ประกอบด้วย มะละกอ สับปะรด พริก ผักกาด ผักชี(พึ่งหว่านเมล็ด)
..
.
หลุมที่ ๑๐.และหลุมพิเศษ หลุมนี้อยู่ใกล้ๆ กอไผ่ดำ เพราะต้องอาศัยร่มของไผ่ในช่วงบ่ายให้ร่มเงาบ้าง
หลุมนี้
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยไข่ หุ่นสเลนเดอร์บอบบางเช่นกัน ...
"ไม้ยืนต้น" ปลูกมะรุม ขนุน ขี้เหล็ก(เพิ่มเติม) หลุมนี้ และพิเศษ
เพราะต้องการเน้นปลูกผักกาดหอม เอาไว้รับทาน
อื่น ๆ ก็มี สับปะรด พริก ต้นหอม เท่านั้นเองครับ
..
.
หลุมที่ ๑๑. หลุมนี้พึ่งขุดเมื่อวานตอนบ่ายนี้่เอง(26/2/2560) บริเวณนี้ดินแข็งมาก รู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดที่ต้นแขนเลยทีเดียว
หลุมนี้ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาดูกัน..
"ไม้พี่เลี้ยง" คือ กล้วยหอมทอง ต้นหรือหน่อเล็ก ๆ ครับ ขุดมาจากบริเวณที่ปลูกกล้วยของสวนของเรา
ด้านหน้าหรือปากทางเข้าสวนครับ
"ไม้ยืนต้น" ประกอบด้วย ๑.ไม้สะเดา ๒.ไม้มะรุม ๓.ไม้ทับทิม ๔.ผักหวานป่า(ผมถือเป็นไม้ยืนต้นเพราะอายุยืน)
"ไม้รายวัน" ประกอบด้วย ผักหวานบ้าน และผักเหลียง ตั้งใจขุดเพราะต้องการย้ายผักเหลียง
จากที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของที่พัก
ให้มาอยู่ในหลุมเดียวกัน เพราะเห็นว่าออกอาการไปไม่รอดแล้ว (มีบางต้นที่แห้งตายให้เห็นแล้ว)
หลุมที่ ๑๑. มองห่างออกมาอีกนิด จะเห็นว่ารอบๆ หลุมนั้น มีต้นมะละกออยู่ถึงสี่ต้น การทำหลุมนี้
จึงถือเป็นการแบ่งปันน้ำให้กับต้นไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด โดยเฉพาะมะละกอและถั่วฝักยาวครับ
หลุมนี้ยังไม่สมบูรณ์ ยังขาดพืชรายวันอีกหลายชนิด ที่รอนำมาหว่าน นำมาลงหลุมปลูกกัน
..
.
หลุมพอเพียง สี่หลุมที่อยู่ใกล้ๆ บริเวณรั้วที่ทำครั้งแรก มองเห็นได้หลายหลุมพร้อม ๆ กัน
เมื่อรวมหลุมที่ขุดและปรับแต่งทั้งหมดแล้ว ณ ปัจจุบัน(12/3/2560) ก็จะได้ ๑๔ หลุมพอดี
ช่วงนี้ก็คงจะพอหรือพักไว้ก่อน เพราะห่วงเรื่องของน้ำ กลัวว่าน้ำในสระจะไม่พอใช้
หากขุดเพิ่มมากไปกว่านี้ครับ
..
.
หลุมพิเศษหรือ หลุมมีกิน อีกหลายหลุมที่กำลังทดลองทำกันอยู่ หลุมที่เห็นนี้คือ "หลุมผักบุ้งจีน" ครับ
..
.
หลุมนี้คือ หลุมจิปาถะ ประกอบไปด้วย สะระแหน่ไทย ผักหูเสือ มะเขือเทศ ต้นหอม(หอมแบ่ง) พริก ผักไผ่ ทานตะวัน
หญ้าหรือปอเทือง(ทดลองปลูกกลัวไม่ขึ้น เพราะเจ้าของเขาเก็บไว้นานแล้ว)
..
.
นี่ก็อีกหลายหลุมครับ เป็นผักกาดหัว ซึ่งคนข้างๆ ทดลองปลูก ซึ่งไม่ได้เน้นเพื่อการค้า แต่เน้นให้มีกิน
ตอนนี้มีผลผลิตให้ได้ชื่นชมและนำไปประกอบอาหารอยู่เรื่อย ๆ แล้วครับ
...
"หลุมมีกิน" หรือ หลุมพอเพียง ทั้งหมดดังกล่าวมา หากพวกเราดูแลรดน้ำ เอาใจใส่อยู่สม่ำเสมอ
ก็คงจะมีอาหารเอาไว้รับประทานในครัวเรือน อย่างไม่ลำบากอย่างแน่นอน(คิดไว้อย่างนั้น)
ที่สำคัญหลุมต้นไม้พืชผักเหล่านี้ เราปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีหรือสารฆ่าแมลงใดๆ เลย
นี้ถือ เป็นหลักการสำคัญอย่างยิ่งยวดเลยครับ
...
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม ขอบคุณบ้านสวนพอเพียงมากครับผม
"พี่หนาน"
27/2/2560
- บล็อกของ พี่หนาน
- อ่าน 8327 ครั้ง
ความเห็น
kandee
3 มีนาคม, 2017 - 10:21
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
พี่หนาน ช่างมีหลุมมีกินมากมาย ยอดเยี่ยมค่ะใครๆเห็นก้อรีบไปทำหลุมของตัวเอง เอ้ยหลุมมีกินของตัวเองกันเงียบเรยค่ะ555
ความสุข..อยู่ที่ใจ
พี่หนาน
13 มีนาคม, 2017 - 15:18
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
ขอบคุณน้องกาน..มากครับ ที่ให้คำชม ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
อยากให้มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรแบบง่ายๆ อย่างนี้เผยแพร่ออกมามากๆ จังครับ
เพราะเราสามารถปฏิบัติตามได้อย่างสะดวก ไม่ลำบากในการทำด้วย
เสิน
7 มีนาคม, 2017 - 12:19
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
ได้กินแน่นอน ปลูกที่จะกิน กินที่ได้ปลูก... ไปขอแบ่งผักบ้านพี่หนานกันเถอะ
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
พี่หนาน
13 มีนาคม, 2017 - 15:20
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
ขอบคุณครับคุณเสิน ...ยินดียิ่งแล้ว อ้ายแก้วมาเยือน หากมาจริงๆ ก็ยินดีต้อนรับครับพี่
ตอนนี้มีผักหลายอย่างเริ่มออกผลผลิตให้ได้เก็บกินเรื่อยๆ แล้วครับ
ตอบช้าหน่อยไม่ว่ากันนะครับ
ริมสวนยาง
7 มีนาคม, 2017 - 12:48
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
พึ่งพาอาศัย กัน น่ารัก จริงๆ ... เจ้าของ เก็บ ปรุงอาหาร ได้ หลากหลาย พอๆกัน
พี่หนาน
13 มีนาคม, 2017 - 15:23
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
สวัสดีครับพี่บัว..ริม ครับ พึ่งพาอาศัยกันได้ดี โดยเฉพาะร่มเงานะครับ อาจจะแย่งอาหารกันหน่อย แต่ก็สวยงามดี
เนื่องจากว่าเราให้น้ำได้พร้อมเพียงกัน ทำให้เกิดการประหยัดน้ำได้อย่างมาก
ขอบคุณที่ติดตาม ให้กำลังใจ ให้คำชี้แนะด้วยดีเสมอมานะครับผม
พี่หนาน
13 มีนาคม, 2017 - 15:25
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
เปรียบเทียบหลุมมีกิน ตอนปลูกและปัจจุบันให้เห็นกันครับ...
พี่หนาน
12 กุมภาพันธ์, 2018 - 15:38
Permalink
Re: พัฒนาการ "หลุมมีกิน"
ภาพประกอบมันหายไปไหนหมดครับ?