พืชผักในบ้านสวนพอเพียง : หมักหมก, หมากหมก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     ต้นไม้ชนิดนี้จะชื่อ หมักหมก หรือหมากหมก เท่าที่ค้นดูชื่อที่ถูกต้องเห็นจะเป็น "หมากหมก"  แต่ผมเรียก "หมักหมก" มาตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ประทับใจหมักหมกมาตั้งแต่เด็กคือ คือความอร่อยของแกงเลียงหมักหมก ซึ่งเอาผักเหมียงมาแลกก็ไม่ยอม จริงๆ ครับ เพราะถ้าเอาหมักหมกมาแกงเลียง จะอร่อยกว่าผักเหมียงเป็นไหนๆ  แต่หมักหมกไม่ได้ปลูกง่ายอย่างผักเหมียงนี่ซิครับ มันถึงหากินได้ยาก ไม่มีใครปลูกได้สำเร็จ ที่ได้กินอยู่ก็มันขึ้นเองตามธรรมชชาติ ผมพยายามที่จะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ก็ต้องผมแพ้ไปยกหนึ่งแล้ว ว่าจะลองใหม่อีกซักยก ถึงแม้ว่าจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้แต่มันเป็นพืชที่โตช้าเอามากถึงมากที่สุด

ดอกหมักหมก

ต้นหมักหมกในสวนซึ่งผมคาดว่าต้นนี้อายุน่าจะพอๆ กับผม หรือมากกว่าผม

อันนี้ใบแก่นะครับแบบนี้เอามาแกงเลียงไม่ได้

ลูกหมักหมกที่ยังไม่สุก

ลำต้นของหมักหมก

กิ่งหมักหมก

    พื้นที่บ้านผม 5 ไร่มีหมักหมกประมาณ 10 ต้นเห็นจะได้ ทั้งรักทั้งหวงเลยครับ เพราะปีหนึ่งจะได้กินแกงเลียงหมักหมกแค่ไม่กี่ครั้งเอง

เนื้อหาทางวิชาการที่ผมค้นหารมาได้จาก http://plugmet.orgfree.com/flora_i.htm

หมากหมก

OPILIACEAE :  Lepionurus sylvestris  Bl.
 
ชื่ออื่น  -  ผักพูม (ไชยา สุราษฎร์ธานี )

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 – 2 เมตร  ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม คล้ายต้นผักหวานบ้าน มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆ ละ 3 กิ่งๆ ละ 3 - 6
ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  รูปยาวรีปลายแหลม   หน้าใบเป็นมันลื่น ขอบใบเป็นหยักเล็ก
น้อย ใบกรอบเกรียม กว้างประมาณ 3 –7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำ
กิ่งระหว่างขั้วใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง     ผล  กลมรี
ยาวประมาณ 1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง   ช่อหนึ่งมี 3-5
 ผล  เมื่อสุกจะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

หมายเหตุ: ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา)  จะพบเห็นหมากหมกได้
ตามบริเวณ สายดม แนวเขตบ้าน   ปัจจุบันพบเห็นบ้าง  เฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

 

ความเห็น

ตามรูปที่ไชยาเรียกผักพูมสามง่าม เคยทดลองเพาะเมล็ดตามวิธีการปลูกผักหวานป่า สระบุรีได้ผลดีมาก เก็บเมล็ดแล้วอย่าทิ้งไว้หลายวันอัตราการงอก100%

ผักพูมสามง่าม(หมักหมก)กำลังสุกแดงเก็บได้ประมาณ50เม็ดจะทดลองปลูกใต้ต้นไม้โดยไม่เพาะเมล็ดในถุง ได้ผลอย่างไรจะแจ้งข่าว ผักพูมก็กำลังออกดอกประมาณเดือนมีนาคมคงมีเมล็ดให้ขยายพันธ์

ผมได้เมล็ดหมากหมกจากคุณแจ้ว 5-6 เมล็ด ตอนนี้กำลังเพาะอยู่ ได้ผลหรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะเก็บเมล็ดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนเพาะ และมีข้อสงสัยว่าลูกหมากหมกสุกกินได้หรือเปล่า เห็นสีแดงน่ากินจัง

ผมก็ส่งให้พี่สุรพลด้วยครับ ไม่รู้จะงอกหรือเปล่า ผมเคยเพาะงอกยากมาก

ลูกหมากหมกกินได้ค่ะ ใส่แกงส้มทั้งเม็ดแดง ๆ อย่างนี้แหละ อร่อยกรุบ ๆกรับ ๆ (ของดี)

ไม่เคยกินครับพี่แจ้ว ความรู้ใหม่นะเนี่ย

เนื้อความจากข้างบน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
    ราก(หัว) ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความกำหนัด  หรือใช้หัวตากให้แห้ง บดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง  ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว)  กินดิบ ๆ หรือต้มแก้ตานขโมย แก้โรคซางในเด็ก รักษาฝ้าในปาก   ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ 

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น.....

ที่บ้านชอบนำมา  แกงสมรม คือแกงผักพื้นบ้านหลาย ๆ อย่างปะปนกัน มีอะไรก็ใส่ อาจจะใส่ปลาย่างด้วย ถ้ามีเม็ดหมากหมกก็ยิ่งดี ไม่อยากเชื่อเลยน้องโสทรยังไม่ลิ้มลอง ต้องลอง ๆ

ที่ปัตตานีก็เรียก "หมากหมก" เหมือนกันครับ

ที่รั้วข้างบ้านก็มีอยู่เหมือนกัน ลูกกำลังสุกแดงอยู่พอดีเลย ชาวบ้านเราไม่เห็นคุณค่าเลย

ยังมีต้นไม้พื้นบ้านอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น ลูกแ_ดลิง  ลูกโท๊ะ ลูกเหม็ดชุน ลูกเล็บยิ้ว ฯ

ออก Laughing จะบ้านนอกไปหน่อยนะ

เป๋าดี

ชอบความเป็นบ้านนอกครับ อยากเห็นหน้าตา เจ้าต้น"แ_ดลิง" และต้นอื่นๆที่ว่ามา ถ่ายรูปมาอวดบ้างนะ

ถ่ายรูปลูกต่างๆมาให้ดูหน่อยนะครับ เคยได้ยินแต่ชื่อไม่เคยเห็นหน้าตา

พี่เป๋าตุง ลูกแ_ดลิง หน้าตาเป็นไง มีรูปให้ดูมาย

 

 

"ขอบคุณน้ำใจที่แบ่งปัน ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง"

หน้า