สมุนไพรรอบบ้าน
วันนี้นำภาพสวย ๆ มาฝากค่ะ
ผลสุก
ใกล้จะขยายพันธุ์ได้แล้ว
ผลอ่อน
เป็นต้นอะไร พอเห็นใบก็คงนึกออกแล้วนะคะ วันนี้เห็นลูกมีสีแดง เป็นพวงสวยมาก ก็เลยเก็บภาพมาฝากค่ะ เพราะเคยอ่านบล๊อกของน้องโสทรเคยมีรูปต้นย่านางมาฝากแล้ว
ย่านางหรือแถวบ้านเรียกว่า "ย่านนาง" สรรพคุณทางยามีมากมาย เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่า แต่เดี่ยวนี้หายากเหมือนกันนะ บางที่จะแกง ขี้เหล็กซักทีก็ต้องซื้อ "ย่านาง" ด้วย แต่ที่บ้านยังไม่ถึงกับต้องซื้ออย่างมากก็ต้องขอเพื่อนบ้านที่นำมาปลูกไว้บริเวณบ้าน เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ และเริ่มจะหายาก เนื่องจากเมื่อก่อนมีป่ายางเยอะ ระหว่างร่องยางก็มีพืชอื่นขึ้นเต็ม แต่เดี่ยวนี้ระหว่างร่องยางจะโล่งเตียนซะแล้ว
สรรพคุณอย่างอื่นก็ไม่ค่อยทราบหรอกค่ะ รู้แต่ว่าแกงขี้เหล็กต้องใส่ "ย่านนาง" ถึงจะเป็นของแท้
สมาชิกท่านใดมีความรู้ก็แนะนำเข้ามานะคะว่าเป็นยาอะไรได้บ้าง ในท้องถิ่นของท่านเรียกว่าอะไร เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านที่ยังไม่รู้จัก หรือไม่รู้ว่าสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง
- บล็อกของ แจ้ว
- อ่าน 25064 ครั้ง
ความเห็น
แจ้ว
23 มกราคม, 2010 - 11:17
Permalink
พี่กลอยเข้าห้องสนทนาหน่อยค่ะ
พี่กลอยเข้าไปคุยกันในห้องสนทนาได้ค่ะ เลือกเมนูด้านบนตัวสุดท้าย ใกล้ ไ วีดีโอค่ะ
บ่าว
23 มกราคม, 2010 - 12:36
Permalink
ใบย่านาง
ใบย่านาง
ชื่อ : ใบย่านาง
ชื่อสามัญ : Bai-ya-nang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra Diels
วงศ์ : MENISOERMACEAE
ทำความรู้จักกับใบย่านาง
หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็ เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย
ใครบางคนว่ากลิ่นใบย่านางนั้นหอมแต่บางคนก็ว่าฉุนทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่ากลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่ แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม – ภาษาอีสาน) เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร
น้ำคั้นสีเขียวคล้ำหรือเกือบดำของใบย่านางคือเครื่องปรุงรสปรุงกลิ่นที่สามารถสยบกลิ่นเปรี้ยวของหน่อไม้ แต่ถึงแม้ใครต่อใครจะชอบอาหารอีสานอย่างซุบหน่อไม้ก็ใช่ว่าจะรู้จักใบย่านาง บางคนไม่ทราบว่าน้ำที่ปนมากับซุบหน่อไม้สีคล้ำ ๆ นั้นละคือน้ำใบย่านาง เพราะใบย่านางไม่ใช่พืชผักที่แพร่หลายมากนัก มักกินกันแต่ตามต่างจังหวัดบางที่บางแห่ง เมืองกรุงนั้นหารับประทานสดนั้นยากอยู่เหมือนกัน จึงควรทำความรู้จักกันไว้ เพราะย่านางคือตัวการที่ทำให้อาหารอร่อยแบบลึกลับเหมือนน้ำคั้นสีคล้ำที่แค่เพียงดูก็ไม่รู้เลยว่าจะทำให้อร่อยได้อย่างไร
ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี
การปลูกและดูแลรักษา
เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
คุณค่าทางอาหารของใบย่านาง
มาดูกันว่าคนไทยในภาคต่าง ๆ เขากินใบย่านางกันอย่างไรกันบ้าง
นอกจากจะใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลมกล่อมของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้แล้ว ยอดอ่อนของเถาย่านางยังสามารถนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่นได้ด้วย หรืออย่างชาวอีสานก็นิยมนำใบ และยอดอ่อนใส่รวมกับแกงขนุน แกงอีลอก อ่อมและหมกต่าง ๆ
ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน ซึ่งเพื่อนชาวใต้ของผู้เขียนบอกว่ารสชาติเถาย่านางในแกงดังกล่าวนั้นหวานอร่อย ในแกงขี้เหล็ก น้ำคั้นจากใบก็ใช้เติมลงไปด้วย เพื่อลดความขมของใบขี้เหล็ก
ประโยชน์ของใบย่านาง
นอกจากจะเป็นอาหารและเครื่องปรุงรส ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน
คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย
แถมวิธีใช้เถาย่านางเพื่อลดไข้ ใช้ดังนี้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือต้มกับสมุนไพรอีก 4 ชนิด ตามการแนะนำของสถาบันการแพทย์แผนไทย คือรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่ออุทุมพร รากคนทา รากชิงขี่ จะให้ผลในการลดไข้ได้ดียิ่งขึ้น
คราวนี้ใครที่ยังไม่รู้ว่าเบื้องหลังสีคล้ำและความอร่อยของซุบหน่อไม้และแกงพื้นบ้านทั้งหลาย คืออะไรตอนนี้คงตอบกันได้แล้ว
จันทร์เจ้า
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 12:42
Permalink
คุณแจ้ว(ย่านาง)
คุณแจ้วย่านางใช้เมล็ด หรือว่าต้น ขยายพันธุ์ คะ ที่บ้านมีอยู่ 1 ต้น ทำท่าจะตายแล้ว(เพราะไม่สนใจ)พอมาเห็นของคุณแจ้วแล้วก็รีบรดน้ำให้เกือบทุกวันเลยค่ะ ตอนนี้เริ่มฟื้นตัวแล้ว อยากขยายพันธุ์ค่ะ แนะนำหน่อยนะ
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
แจ้ว
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 13:11
Permalink
ย่านาง
ปลูกติดแล้วมักจะไม่ค่อยตายนะคะ มันจะมีหัวน่ะ แต่ถ้ามีลูกก็เพาะได้ค่ะ งอกยากเหมือนกัน ประมาณ 2 เดือนแล้วของแจ้วเริ่มออกมาแค่ 4 ใบ ตอนนี้เม็ดที่บ้านหมดแล้ว เพิ่งส่งไปให้สมาชิกบ้านสวนที่อยุ่ กทม.เมื่อวานนี้เอง เดี่ยวจะหาเพิ่มไว้พวงเขียว ๆ ยังมีอยู่รอสุกแดงนะ แต่เห็นเค้าบอกว่าเอาเถาย์น่ะมาปักชำหรือว่าแบบโน้มเถาย์มาฝังดินน่าจะได้ผลเหมือนกัน
จันทร์เจ้า
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 18:57
Permalink
ขอบคุณค่ะคุณแจ้ว
มีหัวด้วยเหรอ ไม่เคยรู้เลย แล้วลูกนี่ไม่ต้องพูดถึง พึ่งจะเคยเห็นครั้งแรกก็ของคุณแจ้วนี่แหละค่ะ ถ้างั้นขอขยายพันธุ์แบบเอาเถาว์ลงถุงดีกว่านะ ขอบคุณค่ะ
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
wilai
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 15:20
Permalink
ย่านางก็โกอินเตอร์แล้วค่ะ
คนทางเหนือย่านางเขายิยมเด็ดกินแต่ยอดอ่อน ใส่แกงหน่อไม้
เมื่อก่อนก็ออกตามริมรั้ว มีให้เห็นอยู่แต่เดี๋ยวนี้ชักหายากเพราะ
เปลี่ยนเป็นรั้วคอนกรีตไปเกือบหมดแล้ว เลยนิยมคั้นใบแก่เอาน้ำตามคนอีสาน
เพราะว่าได้รสชาติกว่า ที่ต่างประเทศเขาก็ตัดทั้งเถายาวพอประมาณ
แล้วม้วนๆ ไส่ถุงพลาสติกห่ออย่างดีไปขายให้คนไทยคนลาว หาซื้อยากมาก
ว่างๆจะถ่ายรูปพืชผักผลไม้ไทยโกอินเตอร์มาให้ชมกันค่ะ ว่าทำไมถึงอิจฉา
อาหารมื้อที่ต้อนรับพี่สุรพลอย่างแรงง
แจ้ว
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 15:36
Permalink
ย่านาง
แถวบ้านเริ่มมีการนำมาปลูกในบริเวณบ้านแล้วค่ะ เพราะจะไปหาตามป่าก็เริ่มหายากขึ้น ตอนนี้จึงบอกเพื่อนบ้านว่าให้หามาเก็บมาปลูกไว้บริเวณบ้าน ส่วนมากนำมาทำแกงขี้เหล็ก และแกงเลียงยอดอ่อน เป็นพืชที่อยากให้ทุกบ้านมีไว้มาก ๆ เลยค่ะอย่างที่ทำโครงการปลูกผักพื้นบ้านร่วมกับชาวบ้าน 10 ครัวเรือน จะให้เค้ามีย่านางไว้ในครอบครองค่ะ เผื่อเวลามีตลาดจะขายก็สามารถไปเก็บที่บ้านทั้ง 10 หลังนี้แหละ ได้บ้านละ 5 บาท สิบบาทก็ไม่เป็นไร สะสมไว้
kero
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 15:35
Permalink
แถวบ้านมีเยอะ
ฟังพี่ ๆ เล่ากันมาย่านางมีค่ามากเลยแถวบ้านกบขึ้นเป็นวัชพืชกันเลยที่เดียวขึ้นตามไร่ตามสวนเยอะมาก เข้าใจว่าที่ภาคใต้คงหายาก เดี๋ยวกบเจอที่ไหนเหมาะ ๆ จะขุดมาชำไว้เผื่อสมาชิกที่สนใจนะค่ะ
นายปืน
5 กุมภาพันธ์, 2010 - 15:56
Permalink
ย่านาง...
ย่านาง มี 2 ชนิดนะครับ คือ ย่านางเขียว ส่วนมากใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร ที่ต้องใส่ในแกงต่างๆนั้น ผมเชื่อว่า เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมานานแล้วเพื่อปรับสมดุลในอาหารที่ปรุง เพื่อจะไม่ให้อาหารนั้นมีฤทธิ์ร้อนเกินไป 2. ย่านางแดง ต้นนี้จะให้ฤทธิ์ทางยาดีกว่าชนิดแรก ชนิดนี้เพาะง่ายกว่า ชาวบ้านนิยมนำมาเป็นส่วนผสมยาแก้อาการแพ้ต่างๆนะครับ ตอนนี้ที่บ้านมีทั้ง 2 ชนิดครับ แต่ชนิดหลังเพิ่งเพาะได้ต้นเดียวเอง ใครอยากได้คงต้องรอก่อนนะครับ ขอเวลาหาเมล็ดให้นะครับ
เมื่อจิตสงบ...ก็จะเห็นซึ่งปัญญา
แจ้ว
23 มีนาคม, 2010 - 20:11
Permalink
กำลังอ่าน
กำลังอ่านเรื่องย่านางแดงของ คุณอรหันต์ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น เอ้าเค้านี่เอง โทรมาบอกว่า ลาพักร้อน ไปบ้านแม่ยาย ไม่ได้เข้าบ้านสวนฯเลย ฝากความคิดถึง ถึง ทุก ๆ คน
ช่างน่าสงสารมาก ดูซิน้องโสทรว่าสมาชิกแต่ละท่านเค้าติดเวบกันขนาดไหน ...
หน้า