เหลียงเปลี่ยนยอดเป็นสะตอ
สะตอพันธุ์ดีมักมีระบบรากไม่ค่อยเเข็งแรง ให้เพาะต้นเหลียงทำตอก่อนแล้วบำรุงเลี้ยงกล้าต้นเหลียงจนโตพอสมควร แล้วจึงเปลี่ยนยอดเป็นสะตอพันธุ์ดีตามที่ต้องการ ด้วยวิธีการเสียบยอดหรือเสียบข้างตามปกติ เมื่อยอดสะตอโตขึ้นจะให้ฝักดกดีและออกเป็นทะวาย ทั้งนี้เหลียงเป็นพืชตระกูลเดียวกับสะตอ แต่พิเศษกว่าตรงที่มีระบบรากที่แข็งแรงและหาอาหารกินเก่งกว่า ................. ขอเสริมอีกนิดว่าสำหรับไม้ผลทุกชนิดถ้าเราอยากจะให้ต้นเติบโตเร็วและเเข็งแรงรากหาอาหารเก่ง หลังจากที่เรานำกิ่งพันธุ์ดีลงปลูกในแปลงจริง ให้เรานำเมล็ดของมันหรือตะกลูเดียวกันมาเพาะข้าง ๆ ต้นกิ่งพันธุ์ที่เราปลูก ซักสองสามเม็ดจะทำคล้าย ๆ กับสัญลักษณ์เบนซ์ก็ได้ เลี้ยงต้นกล้าที่เพาะให้ดี พอลำต้นขนาดได้เท่าตะเกียบก็ตัดกลางลำต้น ( กะเอาว่าให้โน้มเข้าหาลำต้นแม่พันธุ์ดีได้ ) ตัดเป็นรูปปากฉลามแล้วผลิกไปปาดอีกซีกเฉพาะด้านบนเล็กน้อยแล้วไปเปิดเปลือกต้นแม่คล้ายกับตัวยู แล้วนำลำต้นพันธุ์โนเนมมาเสียบที่ต้นแม่ พันด้วยพลาสติก ( มีขายตามร้านการเกษตร )และหาเชือกฟางมาผูกประคองที่ลำต้นกล้าเข้าหาลำต้นแม่ อีกเปราะเพื่อเวลาลมพัดจะได้ไม่โยกมากเดี๋ยวเนื้อเยื่อจะติดยาก เขาเรียกว่าการเสริมราก การจะติดดีหรือไม่อยู่ที่ความชำนาญและการฝึกฝน แต่ถ้าทำได้ขอบอกว่าสุดยอด ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากหนังสือเกษตรใหม่ เขียนโดย พ.ท.วีระ ใจหนักแน่น
- บล็อกของ อิมรอน
- อ่าน 9648 ครั้ง
ความเห็น
อิมรอน
28 สิงหาคม, 2010 - 22:05
Permalink
อืม...ผมน่าจะพิมพ์ผิดน่ะ
อืม...ผมน่าจะพิมพ์ผิดน่ะ มันน่าจะต้นเหรียงที่พี่ ๆ บอกมากกว่าพอดีผมคัดมาจากหนังสือ ส่วนที่รสชาติประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นต้นสะเดาพื้นบ้านเปลี่ยนยอดมาเป็นสะเดามัน มะม่วงเปรี้ยวเสียบยอดมาเป็นมะม่วงมัน...ขนุน...ชมพู...กระท้อน...ลำใย รสชาติก็ไม่เพี้ยนนะแต่กับต้นเหรียงไม่มีประสบณ์การคับ
Axaravut
31 กรกฎาคม, 2016 - 09:20
Permalink
Re: เหลียงเปลี่ยนยอดเป็นสะตอ
... น่าจะ"เหรียง" นะครับ ต้นคล้ายๆกัน ... ส่วน "เหลียง" เอาไว้ทานยอดมั้งครับ ...
หน้า