คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวจากวิธีการผลิตแบบต่างๆ
สืบ เนื่องมาจากน้ำมันมะพร้าวได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้บริโภคเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวว่าดีต่อสุขภาพ จึงมีความต้องการในตลาดมากขึ้น ผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวที่มีอยู่หลายวิธีการผลิต มีความต้องการเพิ่มยอดขายของตนเองจึงหันมาลดเครดิตผู้ผลิตรายอื่น ผลสุดท้ายการผลิตด้วยวิธีการหมัก ได้ตกเป็นเป้าโจมตี บริษัทแนชเจอรัลมายด์ ขอชี้แจงความจริงของการผลิตด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าใจและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้
ประเทศ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันมะพร้าวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ก่อนผลิตด้วยวิธีดั้งเดิมคือ การหมักแบบพื้นบ้าน Traditional Fermentation Process โดยตั้งทิ้งไว้ ใช้เวลาประมาณ 48-60 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำมันแยกตัว ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านไม่มีโรงเรือนผลิตที่มิดชิด สถานที่ผลิตไม่ค่อยได้มาตราฐานการผลิตอาหาร ที่สำคัญ ระบบกรองและไล่ความชื้นยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ เมื่อ มีความต้องการมากขึ้น นักธุรกิจจึงเข้ามาลงทุนสร้างโรงเรือนการผลิต และซื้อเครื่องจักรที่มีกำลังมอร์เตอร์สูงเข้ามาผลิตเพื่อให้ได้การผลิตที่ รวดเร็วจำนวนมากและควบคุมคุณภาพในการผลิตได้ง่ายขึ้น พร้อมกับคำโฆษณาที่ว่า คุณภาพดีกว่าวิธีการหมัก แต่เมื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพ ถึงผลของการรักษาสุขภาพและให้ประโยชน์กับร่างกายแล้ว ปรากฎว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีการหมัก มีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟีโนลิก (Phenolic Compounds) สูงกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่นๆ (ข้อมูลจาก: สารฟินอล-น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างไร โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา - ตุลาคม 2551) สารที่เป็นประโยชน์สูงที่ได้จากการหมักอีกชนิดหนึ่งคือเอนไซม์ ซึ่งทำหน้าที่ 1. ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิต หรือถ้าอันตรายเกิดขึ้นแล้ว ก็ป้องกันไม่ให้อันตรายนั้นลุกลามหรือร้ายแรงยิ่งขึ้น 2. ส่งเสริมหรือบำรุงให้ระบบต่างๆของชีวิต ทำงานได้ดีหรือง่ายขึ้น น้ำ เอนไซม์ หรือที่จริงแล้วก็คือน้ำหมักชีวภาพนั่นเอง ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และใช้รับประทานเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี (น้ำ NONI ก็เป็นตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก) แต่เอนไซม์จะสูญเสียไปถ้าผ่าน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ได้จากมอเตอร์กำลังสูง ดังนั้นวิธีการผลิตที่ต้องใช้เครื่องจักรกำลังสูงเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นวิธี เหวี่ยงแยก จะมีโอกาสสูญเสียเอนไซม์ได้ง่าย ส่วนวิธีการหมักจะยังคงเอนไซม์ไว้ในน้ำมันได้อย่างครบถ้วน การ ทำธุรกิจของแนชเจอรัลมายด์ มีพื้นฐานมาจากการเป็นผู้รักสุขภาพและศรัทธาในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกับน้ำมันมะพร้าวเริ่มจากการซื้อของที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด มารับประทานเพื่อสุขภาพ แต่เมื่อใช้ไปประมาณครึ่งขวดพบกับปัญหาน้ำมันมะพร้าวเหม็นหืนและมีเยื่อ โปรตีนตกตะกอนที่ก้นขวด แสดงให้เห็นว่าคุณภาพการผลิตยังไม่ดีพอ จึงทำให้สนใจหาน้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีมารับประทาน และลองซื้อหลายๆ ยี่ห้อมาเปรียบเทียบพร้อมทั้งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากต่างประเทศ
ข้อมูล ที่สรุปได้คือ การผลิตโดยวิธีธรรมชาติที่คงคุณค่าและให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ครบถ้วนมาก ที่สุด คือวิธีการหมัก แต่การหมักแบบพื้นบ้านยังมีข้อที่ต้องปรับปรุงอีกหลายอย่าง เราจึงพัฒนาในส่วนด้อยนั้นด้วยวิธี Modify Fermentation หรือการหมักแบบทันสมัย โดยจัดสภาพแวดล้อม(ห้องควบคุมอุณหภูมิ)ให้เหมาะสม ทำให้น้ำมันแยกตัวได้เร็ว จากเดิม 48-60 ชั่วโมง ก็ใช้เวลาเพียง 4-6 ชั่วโมง ขจัดความชื้นด้วยเครื่องสุญญากาศ และกรองสารปนเปื้อนด้วยเครื่องกรองจากประเทศอิตาลี เครื่องกรองชนิดนี้เป็นที่ยอมรับในมาตราฐานอุตสาหกรรมการทำ WINE อุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอางคุณภาพ โดยใช้แผ่นกรอง Fiber ขนาด 3 Micron (สามารถกรองเชื้อโรคได้) เนื่อง จาก LAB ในประเทศยังมีข้อจำกัดของการตรวจเช็คน้ำมันอยู่ เราจึงต้องหาวิธีที่สามารถตรวจศักยภาพของธรรมชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเลือกการถ่ายรูปแสง AURA ที่สถาบันพัฒนาพลังจิตของอาจารย์สถิตฐ์ธรรม เพ็ญสุขษ์ www.powerlifecenter.com ออ ร่า (AURA) คือการถ่ายภาพพลังงานที่วัตถุปล่อยออกมาโดยใช้เทคนิคของเกอร์เลี่ยน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพลังของ สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะพลังอำนาจของชีวิตเช่นใช้ในการตรวจโรค หรือคุณสมบัติบางประการของวัตถุหรือสสารโดยวิเคราะห์จากแถบสี (Spectrum) สีออร่าที่แผ่ออกจากวัตถุล้วนมีความหมายทั้งสิ้น เป็นการสื่อว่าวัตถุนั้นๆมีสภาพเป็นอย่างไร
การอ่านภาพแสงออร่าของน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีการ หมักแบบทันสมัย Modify Fermentation โดยอาจารย์สถิตฐ์ธรรม เพ็ญสุขษ์ ถ่ายเมื่อปี 2549 ใจความว่า "พลังการบำบัดรักษา นุ่มนวลดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพร่างกาย" ซึ่งต่างกับภาพถ่ายแสงออร่าของน้ำมันมะพร้าวที่ผลิต ด้วยวิธีอื่น บางชนิดให้พลังงานแข็งเกินไป บางชนิดมีสารโลหะหนักตกค้าง และบางชนิดให้พลังงานไม่สมดุล
|
กลิ่นของน้ำมันมะพร้าว น้ำมัน ธรรมชาติทุกชนิดมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเองเช่น กลิ่นน้ำมันงา กลิ่นน้ำมันมะกอก แต่น้ำมันธรรมชาติเหล่านี้ไม่ได้รับการส่งเสริมให้ทานเปล่าๆโดยไม่ประกอบ อาหาร ซึ่งต่างจากน้ำมันมะพร้าว ดังนั้นผู้บริโภคที่ยังไม่มีประสบการณ์ เมื่อรับประทานน้ำมันมะพร้าวแล้วได้กลิ่นน้ำมันมะพร้าวธรรมชาติจึงมักไม่ คุ้นเคย รับประทานยาก ทำให้เป็นประเด็นและอุปสรรคในการขาย ต่อ มาผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวที่ขายอยู่ในท้องตลาดหลายยี่ห้อได้ผลิตน้ำมันมะพร้าว ที่มีกลิ่นหอม (ด้วยการแต่งกลิ่นมะพร้าวน้ำหอม) ออกมาจำหน่ายโดยให้เหตุผลว่า เป็นการผลิตที่มีคุณภาพมากกว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตโดยการหมัก ทำให้ผู้บริโภคบางรายเกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากมีกลิ่นหอมทำให้รู้สึกว่ารับประทานง่ายกว่า ข้อ เท็จจริงก็คือ การทำน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ทำมาจากมะพร้าวน้ำหอม และกลิ่นของน้ำมะพร้าวไม่สามารถถ่ายทอดลงไปที่น้ำมันได้ น้ำมันมะพร้าวผลิตมาจากน้ำกะทิ ซึ่งคงจะไม่มีใครเคยได้กลิ่นกะทิน้ำหอมเป็นแน่ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำอาหารหรือขนมที่ใช้สารแต่งกลิ่นจะทราบได้ทันทีว่า เป็นกลิ่นน้ำหอมสังเคราะห์ที่ไว้ใช้ผสมในอาหารนั่นเอง จึงทำให้ดูขัดแย้งเรื่องสุขภาพอยู่ในตัว เนื่องจาก
1. | น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็น ได้รับศรัทธาจากผู้บริโภคว่าเป็นการผลิตที่ถนอมคุณค่าของธรรมชาติไว้มากที่ สุด ซึ่งผู้บริโภคควรได้รับมาตราฐานนี้อย่างแท้จริง |
2. | ส่วนประกอบที่ระบุที่ฉลากโภชนาการระบุว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 100% สิ่งนี้เป็นจริงหรือไม่ |
3. | ความหมายของมาตราฐาน ORGANIC นั้นหมายถึงปราศจากสารเคมีทั้งสิ้น ตั้งแต่ดินที่เพาะปลูกไปจนถึงน้ำมันมะพร้าวที่บรรจุขวด การใส่น้ำหอมเคมีลงไป จะเป็นการนำส่งสินค้าที่ไม่ใช่ ORGANIC ที่แท้จริงให้กับผู้บริโภคหรือไม่ |
4. | เป็นการจงใจหรือส่งเสริมให้ผู้บริโภค เข้าใจในมาตราฐานคุณภาพของ Cold pressed VCO หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นอย่างผิดๆหรือไม่ |
ด้วยความปรารถนาดี บจก.แนชเจอรัลมายด์
จาก
http://www.naturalmind.co.th/?ContentID=ContentID-080310182911552
- บล็อกของ 9wut
- อ่าน 5635 ครั้ง
ความเห็น
ลุงพูน
17 กันยายน, 2010 - 04:30
Permalink
คุณ 9wut
อันนี้เป็นข้อมูลจากผู้ผลิตขาย แต่ก็ได้ทราบข้อดีข้อเสียของกรรมวิธีการผลิตแบบต่างๆ
chai
17 กันยายน, 2010 - 05:06
Permalink
9วัด
ขอบคุณขอมูลดีๆครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
9wut
17 กันยายน, 2010 - 08:17
Permalink
พี่ chai ครับ
ผมชื่อวุฒิครับพี่ ส่วน 9wut = นายวุฒิ(9=nine) ครับ
ตอนไปงานพบปะครั้งที่แล้วก็โดนพี่ๆทักแบบนี้เหมือนกัน ^^
วิธีลงรูปประจำตัว |การใช้งานเว็บบ้านสวน |การแทรกรูป |การแทรก VDO
ตองอู
17 กันยายน, 2010 - 08:25
Permalink
9wut..
ตามมาอ่านต่อค่ะ..^_^..
MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com
9wut
17 กันยายน, 2010 - 08:54
Permalink
เมื่อคืนเน็ตเดี้ยงไปก่อน
เมื่อคืนเน็ตเดี้ยงไปก่อน เลยไม่ได้โพสต่อ เดี๋ยวจะหามาเพิ่ม
วิธีลงรูปประจำตัว |การใช้งานเว็บบ้านสวน |การแทรกรูป |การแทรก VDO
ดงดม
17 กันยายน, 2010 - 08:49
Permalink
วุฒิ
เยี่ยมเลย ข้อมูลแน่นมาก พี่ว่าจะลองทำดูสักสองโลก่อน
มนต้นกล้า
17 กันยายน, 2010 - 10:29
Permalink
9 วัด อิอิ
ลองทำน้ำมันมะพร้าวบ้างยัง
ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
17 กันยายน, 2010 - 13:49
Permalink
เห็นด้วยกับลุงพูนค่ะ
ข้อมูลที่นำเสนอของบริษัท เป็นข้อมูลเพียงด้านใดด้านหนึ่ง อยากให้วุฒิลองสืบค้นดูข้อมูลอื่น เปรียบเทียบ
แดง อุบล
17 กันยายน, 2010 - 15:08
Permalink
ข้อมูล
ขอบคุณค่ะ
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
tantawan-ตะวัน
17 กันยายน, 2010 - 15:09
Permalink
ปวดตา
อ่านแล้วปวดตามากๆ ขอบคุณนะ
หน้า