"ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป เป็นอะไรกันแน่นะ" ตอน อ้วนลงพุง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

"ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป เป็นอะไรกันแน่นะตอน อ้วนลงพุง


 


หมู่นี้ อ้วน...


ค่ะ อ้วนในตำราท่านผู้รู้ ว่าไว้มีสองอย่าง แล้วอ้วนแบบไหน คะ


     ท่านว่ามีอ้วนกลางลำตัวหรือที่เรียกว่าอ้วนลงพุง อ้วนพุงหม้อ อ้วนยางอะไหล่ ถ้าเมืองไทยน่าจะเรียกว่าอ้วนห่วงยาง ฝรั่งว่าอ้วนเหมือนผลแอเปิ้ล แต่ถ้าอ้วนทั้งตัว รวมแขนขา หรือ อ้วนมากที่ก้น เรียก ลักษณะนี้ว่าคล้ายลูกแพร์(จะเหมือนลูกอะไรของไทยได้บ้างนะ)


      ก็ถ้าอย่างนั้น....แล้วอ้วนแบบไหนมีข้อเสียมากกว่ากัน....


คำตอบคือแบบแรก เหตุผลพอฟังได้หรือเปล่า ลองฟังกันดูนะคะ


 


ลักษณะอ้วนกลางตัวหรืออ้วนลงพุงนี้ เป็นภาวะอ้วนที่เริ่มจากการดื้อต่ออินซูลิน หมายความว่า แม้จะกินอาหารเท่าเดิม เหมือนเดิม ก็ทำให้อ้วนได้ 


นั่นเป็นเพราะว่าการที่ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมาเปลี่ยนแคลอรี่ให้เป็นไขมัน แม้ว่าจะกินอาหารไม่มีไขมันหรือไขมันน้อย อย่างเช่น ขนมปัง ข้าว แป้ง ร่างกายจึงสะสมเป็นความอ้วน(อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สั่งให้เซลล์สะสมอาหาร)


และการอ้วนลงพุงนี้ ก็เป็นการสะสมไขมันภายในช่องท้องซึ่งเป็นการสะสมได้ง่ายกว่าสะโพก แขน ขา ที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ  ภาวะดื้อต่ออินซูลิน นี้  ฝรั่งเรียก ซินโดรมเอกซ์ (น่าจะหมายถึงแกนเอกซ์ –x เวลาเรียนวิชาที่เขียนกราฟ มีแกนเอกซ์ –x แกนวาย-y    แกน xอยู่ใน แนวนอน และตามคุณตั้มว่าไว้ตอนที่ประชาสัมพันธ์เรื่องเสื้อบ้านสวนตัวงามน่ะค่ะ) โดยซินโดรมเอ็กซ์เป็นภาวะก่อนเกิดเป็นเบาหวาน นี่แหละเป็นตัวทำให้เกิดโรคอ้วน ทั้งนี้ ยังเป็นภาวะที่ทำให้มีอินซูลินในเลือดสูง หากมีปัจจัยที่เสริมการเกิดซินโดรมเอกซ์มากขึ้น ยิ่งส่งผลต่ออวัยวะและระบบอื่นๆ กระทบต่อหลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจบางชนิดและภาวะอัมพฤตอัมพาต ตลอดจนการเสื่อมสภาพของร่างกายมากขึ้น


ส่วนดัชนีบ่งชี้ซินโดรมเอ็กซ์-ภาวการณ์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ(แลป)


พบว่า   อัตราส่วนของไตรกลีเซอร์ไรด์ : เอชดีแอล มีค่า มากกว่า 2


 


ท่านผู้รู้ ยังเน้นประเด็นสำคัญไว้นะคะ ว่า “เมื่อเริ่มเกิดซินโดรมเอกซ์ เราควรแก้ไขโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(วิถีชีวิต) อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดที่จะตามมา แต่เป็นที่น่าเสียดาย คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง อาจเพราะไม่รู้ ถึงแม้รู้ก็ยากที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม รอพึ่งยาและหมอที่ใช้ยา”(จาก หนังสือ”รู้สู้โรค” โมเลกุลเพื่อชีวิต ชีวิตเพื่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน)


 


มาเถอะค่ะ รีบใส่ใจสุขภาพกันก่อนนะคะ ก่อนรอพึงยาและหมอ(ที่ใช้ยา)


 


โอกาสข้างหน้าคุยกันใหม่ว่า "ปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน" จะมีอะไรได้บ้าง เพื่อจะได้ช่วยกันคิดหาวิธีการว่าทำอย่างไรจึงเป็นการใส่ใจสุขภาพลดภาวะดื้อต่ออินซูลินกัน นะคะ


 


 


ข้อมูลประกอบการเขียนบล็อก


จาก หนังสือ”รู้สู้โรค” โมเลกุลเพื่อชีวิต ชีวิตเพื่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน

ความเห็น

แวะมาอ่านข้อมูลดีครับ

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาชม ไม่มีภาพอ้วนลงพุง คุณชัยหาภาพเก่ง เอามาแสดงแบ่งกันชม หรือ ภาพอ้วนแบบลูกแพร์ จะดีมากเชียวค่ะ จะได้เข้าใจง่ายๆ ขอแบบนายแบบไม่ต้องเห็นหน้านะคะ ถ้าเห็นหน้า...ไม่ดีกระมัง ไปละเมิดสิทธิ์

ขอบคุณค่ะจะได้ระวังตัวกลัวอ้วนแบบแรก


คงน่าเกลียดพิลึก แล้วจะจัดอยู่แบบไหนดีนี่


เอาแบบไม่มีโรค ดีกว่านะค่ะ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

เห็นด้วยค่ะ คุณเล็ก เอาแบบไม่มีโรคทั้งในวันนี้และวันข้างหน้าโน่นเลยค่ะ เป็นแนวร่วมกันที่จะมีสุขภาพดี


จะได้ช่วยกันปลูกต้นไม้ต่อในบ้านสวนได้นานๆ...

มาตามอ่านค่ะพี่

 

คุณแก้วอ่านแล้ว


ถ้ามีผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ(แลป)


ลองคำนวณดูดรรชนี ซินโดรมเอกซ์ด้วยนะคะ อย่าให้เกินสองเชียว ...เพื่อสุขภาพที่ดี น่ะค่ะ

แก้วไม่เกิน2 ไม่มีทางเกินค่ะ


ถ้าแก้วปล่อยให้ตัวเองเกิน...ก็แย่แล้ว..อิอิ

 

เยี่ยมเลยค่ะ คุณแก้ว


...อย่างนี้อายุต้องเกินร้อย...


 

อ่านเสร็จก้มลงมองพุงตัวเองทันที...โชคดีที่แขม่วทัน..555++

MSN/MAIL/HI5 : Tongau_oomsin[at]hotmail[dot]com

คุณอู...วิธีการที่คุณอูทำ(แขม่วพุง) 


ทำให้อดคิดถึงไม่ได้ ที่ผู้รู้แนะนำว่าให้เอาหลังยันฝาไว้น่ะค่ะ


แล้วยืดตัวตรง ให้ศีรษะ ไหล่สองข้าง หลัง ก้น ส้นเท้า ชิด แนบติดผนัง  พร้อมกับแขม่วพุงไว้ นอกจากลดพุงแล้ว ยังช่วยให้แนวลำตัวได้รูปสวย ไหล่ไม่ห่อ  หลังไม่งอ เดินไม่ศีรษะพุ่งไปข้างหน้า  เอ...แต่ไม่แน่ใจว่าจะช่วยลดขนาดห่วงยางได้หรือเปล่านะคะ...

หน้า