ระบบท่อ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ระบบท่อ ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าสู่แปลงปลูก ในการติดตั้งระบบน้ำ

       นการติดตั้งระบบน้ำ เพื่อที่จะให้น้ำมีแรงดันพอที่จะหมุนหัวมินิสริงเกลอร์ และไหลออกในปริมาณที่ต้องการ จำเป็นต้องแบ่งท่อเป็น 3 ขนาด คือ

       1. ท่อประธาน (Main pipe) เป็นท่อขนาดใหญ่ที่สุด ส่งน้ำในปริมาณที่พอเพียงทั้งแปลง

       2. ท่อรองประธาน(Sub-main pipe) เป็นท่อขนาดรองลงมา ส่งน้ำเพียงบางส่วนของแปลง

       3. ท่อย่อย(Lateral pipe) เป็นท่อขนาดเล็ก ส่งน้ำเฉพาะแถวของต้นไม้ ซึ่งมีต้นไม้ไม่กี่ต้น

ตัวอย่างภาพการต่อระบบท่อ

               ภาพที่ 1

แบ่งการให้น้ำเป็น 4 โซน แต่ละโซน มีประตูน้ำ คือ ที่1 , ที่2 , ที่ 3 และ ที่ 4

ดังนั้น  แต่ละโซน  ให้น้ำ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด 

**ท่อย่อย สีดำ ตามแถวพืช แต่ละเส้น ยาว  จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่าภาพที่ 2

                 ภาพที่ 2

     แบ่งเป็น 4 โซน แต่ละโซนรับผิดต้นไม้ 1/4 ของสวน แต่วางท่อรองประธาน ห่างกัน  ทำให้

ท่อย่อย แต่ละเส้นสั้นกว่า ภาพที่ 1 (นับจากท่อแยกไป)  จึงใช้ท่อขนาดเล็กกว่า ภาพที่ 1 ได้

ทั้ง ภาพที่ 1 และ 2  จำนวนแถวต้นไม้  ระยะแถว  ระยะต้น  เท่ากันทุกประการ

                                         ภาพที่ 3

พื้นที่แคบและยาว  ดังนั้นจึงวางท่อประธานและรองประไว้ข้างแปลง  ส่วนท่อย่อยวาง

ตามแนวที่แคบ  และแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน  ดังนั้นท่อรองประธานยาว จึงต้องใช้ท่อใหญ่กว่า 

ภาพที่ 4 

                                      ภาพที่ 4

แบ่งเป็น 4 โซน  ดังนั้นท่อรองประธานแต่ละช่วง สั้นกว่า  จึงใช้ท่อเล็กกว่าได้

 

 

การที่เราต้องแบ่งโซนให้เล็กๆ  เพราะ

  สมมตว่า  ภาพที่ 3  เปิดที่เดียวพร้อมกันทั้งแปลง นาน 20 นาที   ภาพที่4  เปิดน้ำให้ที่ละโซน ๆ ละ 20 นที รวม  80  นาที     การใช้งานจะมีลักษณะดังนี้

1.  การแบ่งโซนเล็กๆ  ใช้ปัมป์ขนาดเล็กลง  เช่น ภาพที่ 3  เราอาจใช้ปัมป์ ขนาดน้ำออก ชั่วโมงละ 1200 ลิตร   แต่ภาพที่ 4 เราใช้ปัมป์ขนาดนำ้ออก เพียง 300 ลิตร

2.  ใช้ท่อประธาน ท่อรองประธาน หรือท่อย่อย  ขนาดเล็กลงเช่นกัน

     จาก 2 ข้อ  ทำให้ประหยัดค่าปัมป์ และท่อ

3.  กรณีหน้าร้อน น้ำซึมขึ้นจากบ่อช้า เราใช้ตามภาพที่ 3  น้ำจะหมดบ่อก่อนเวลา 20 นาที  แต่ถ้าใช้าพที่ 4  ใช้น้ำน้อยกว่า  ดังนั้นเราสูบน้ำต่อกันไป 80 นาที  ตาน้ำไหลขึ้นมาทัน

     คราวนี้ มาพูดถึงขนาดท่อประธาน และรองประธาน

     **ท่อขนาดเล็กกว่า  ในความยาวเท่ากัน  จึงเกิดแรงดันน้ำสูญเสียมากกว่าท่อขนาดใหญ่  จึงทำให้ แรงดันน้ำปลายท่อไม่พอให้มินิสปริงเกลอร์หมุนได้

    **ฉะนั้นอย่าลดขนาดท่อประธาน  เช่น  จาก 2 นิ้ว เหลือ 1.5 นิ้ว  เหลือ 1 นิ้ว และปลายสุดเหลือ 3/4 นิ้ว  ควรใช้ขนาด 2 นิ้ว ตลอด  แรงดันน้ำจะลดลงน้อยกว่า

ภาพที่ 5  แสดงความดันสูญเสียในท่อยาว 100 เมตร

ตามภาพ  สมมตว่า  ต้องการน้ำออก  ชั่วโมงละ 2 ลบ.เมตร  ใช้ท่อยาว 100 เมตร ถ้า

1.  ใช้ท่อ 1/2 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 40 เมตร  น้ำไม่มีแรง

2.  ใช้ท่อ 3/4 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 10 เมตร  น้ำเหลือแรงดันน้อย

3.  ใช้ท่อ 1 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 3.5 เมตร   แรงดันน้ำเหลือมากพอ

4.  ใช้ท่อ 1 1/4 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 0.7 เมตร

5.  ใช้ท่อ 1 1/2 นิ้ว  แรงดันปลายท่อลดลง 0.35 เมตร

ตามตาราง  จะเห็นว่า  การใช้ท่อขนาดเล็ก  จะเกิดแรงเสียดทานในท่อมาก  ทำให้น้ำที่ออกมามีแรงดันน้ำเหลือน้อย  ไม่พอให้หัวมินิสปริงเกลอรืหมุนได้ นะครับ

**ฉะนั้นจากความคิดที่ว่า  ท่อยิ่งรีดให้เล็กลง น้ำยิ่งออกแรง เป็นความเข้าใจผิด  แต่ถ้าเราใช้ ท่อ 1.5 นิ้ว ยาว 100 เมตร  แล้วรีดปลายท่อให้มีขนาดเล็ก 1/2 นิ้ว  ยาวเพียง 2-3 นิ้ว  น้ำพุ่งแรงแน่**


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ความเห็น

ขอบคุณมากนะครับ

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

กูรู ชัด ๆ  ฟันธง

  เอาเนื้อหาที่เคยสอนนักศึกษาและอบรมชาวบ้าน  มาให้ชาวบ้านสวนฯ  ทราบต่อๆ กันครับ

ได้แนวคิดการวางท่อ และเปลี่ยนแนวคิดว่าท่อเล็กน้ำจะแรงครับ

สวนจินตนาการ

นำจินตนาการ มาผสานให้เป็นจริง

ไปทำสวนใหญ่..อาจต้องมาเรียนรู้การวางระบบท่อิ..แบบนี้..ขอบคุณครับ

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

จีบไว้ก่อน เวลาไปทำสวน ต้องวางระบบท่อ จะได้เชิญไปให้คำแนะนำ

  ยินดีอย่างยิ่ง  จองคิว ก็ได้นะครับ

คุณตั้มทำสวนปลูกอะไรหยู่หล่ะคะ

ขอจีบด้วยคน ทางบ้านป้าหน่อย

(อิสาน)หน้าแล้ง เอาการอยู่

เรื่องนี้จำเป็นทีเดียว ไว้หลังจากขุดสระ

ได้น้ำแล้วจะมารบกวน

ขอคำปรึกษาด้วยคนค่ะ

ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง

ป้าหน่อยครับ  ยินดีให้คำปรึกษา ชาวบ้านสวนทั่วประเทศ ครับ

หน้า