เพาะถั่วอายุยาว...ไว้ปรุงอาหาร
เพาะถั่วอายุยาว...ไว้ปรุงอาหาร
ด้วยความรู้ที่พอมีพอเข้าใจมาบ้าง คำว่าถั่วน่าจะคืออะไรที่มีลักษณะเป็นฝัก แต่ก็ได้ยินมาจากท่านผู้รู้น่ะค่ะ ท่านว่า มะค่าแต้ มะค่าโมง และกระบกก็จัดเป็นถั่วได้ด้วย ที่น่าทึ่งกว่านั้น คือ การเป็นถั่วอายุยาว ที่ว่าอายุยาวนั้นก็มาจากเป็นเมล็ดที่ได้เกิดจากไม้ยืนต้น
สมช.ท่านใด ที่มีความรู้เรื่องถั่วอายุยาว ช่วยกันเสริมข้อมูลจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก
เมื่อกล่าวถึง "ถั่ว" มักคิดในแง่ของโปรตีนกับไขมัน แต่โดยเด่นๆแล้ว มักหมายใจไปถึงโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นส่วนไขมันที่มีในถั่วอายุยาวก็จะเป็นไขมันที่แตกต่างจากไขมันจากถั่วอายุสั้น ซึ่งถั่วอายุสั้นจะเป็นถั่วที่ใช้เวลาในการสะสมธาตุอาหารไม่นานนัก เมื่อร่างกายได้โปรตีนมาอาจได้มาเฉพาะอย่าง แต่ในถั่วอายุยาวน่าจะมีโปรตีนที่นอกเหนือจากโปรตีนในถั่วอายุสั้นด้วย และยังเป็นเสบียงกรังที่สำคัญให้กับต้นใหม่ที่จะมีชีวิตยาวนาน นานเท่ากับอายุต้นไม้ ซึ่งบางต้นก็มีอายุได้เป็นร้อยๆปี ฉะนั้น ก็น่าสนใจนะคะ แม้ว่าจะไม่มีหลักทางวิทยาศาสตร์มายืนยันได้ในทุกเรื่อง แต่โดยตรรกะสามารถที่จะคิดย้อนกลับไปมาด้วยเหตุผลและที่สำคัญมีผู้ที่ปฏิบัติได้เป็นเครื่องยืนยัน
ถั่วอายุยาวที่ขอนำเสนอในวันนี้ ได้แก่
มะค่าแต้ (ล่างซ้าย) มะค่าโมง (บนซ้าย) และ เมล็ดกระบก(ขวา)
เริ่มเพาะด้วยการหาพื้นที่ที่แดดส่องถึง เป็นพื้นที่ดินได้ก็จะดี
ผู้เขียนบันทึกใช้ฝาตระกร้าพลาสติดที่มีช่องให้น้ำไหลซึมลงดินได้
วางเมล็ดที่ต้องการเพาะกองไว้ โรยกลบด้วยขี้เถ้าแกลบหนาๆ รดน้ำวันละครั้ง
จะเอาฟางคลุมไว้หรือไม่ก็ได้
ตามด้วยกาบกล้วยคลุมห่างๆอีกที
เพื่อลดการฟุ้งกระจายของขี้เถ้าแกลบเวลาที่แห้ง และไม่ให้น้ำที่รดกระแทกผิวหน้าจนขี้เถ้าแกลบกระจาย รดน้ำหนึ่งถึงสองสัปดาห์ เมล็ดมะค่าแต้ มะค่าโมง และกระบก จะทยอยกันงอก
คุ้ยเมล็ดที่งอกออกจากกองขี้เถ้าแกลบ
จากนั้น เอาเมล็ดใหม่ใส่ลงไป ตามจำนวนเมล็ดที่งอกออกมา เพื่อที่จะมีเมล็ดถั่วอายุยาวเหล่านี้งอกออกมาให้กินได้อีก นำขี้เถ้าแกลบกลบลงไปเช่นเดิม รดน้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ วันละครั้ง
เมล็ดมะค่าแต้เริ่มงอก
ซ้ายมือเมล็ดมะค่าโมง ขวามือเมล็ดมะค่าแต้ ทั้งสองชนิดเริ่มงอก
เมล็ดกระบกเริ่มงอก
เมล็ดที่ได้นำมาทำล้างขี้เถ้าแกลบออก
ล้างให้สะอาด เอาเปลือกออก
เมล็ดกระบกงอกที่ล้างสะอาดแล้ว
สามารถกินดิบได้ (บางท่านว่ากินมากจะเมา)
เมล็ดมะค่าแต้และมะค่าโมง ความว่า มีไซยาไนต์สูง
เวลาจะปรุงเป็นอาหารให้ผ่านความร้อนด้วยการต้มในน้ำเดือดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาปรุงเป็นอาหารอื่น เรื่องที่สำคัญคือ หากเริ่มต้นที่จะบริโภคถั่วอายุยาวนี้ให้เริ่มต้นบริโภคแต่น้อย เนื่องจากระบบย่อยในร่างกายยังไม่คุ้นเคย จะทำให้ท้องอืดมากได้ มะค่าแต้และมะค่าโมง หากกินจนชำนาญก็ตาม ควรไม่เกินวันละสองถึงสามเมล็ด
...นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของอาหารโปรตีนและไขมันจากพืช...ผู้เขียนบันทึก เคยนำมาปรุงเป็นแหนมถั่วอายุยาว ล่าสุด ทดลองทำน้ำซี่อิ๊วจากเมล็ดมะค่าแต้และมะค่าโมง ด้วยการต้มน้ำเกลือลงไปแช่ (ภายหลังผ่านการทำให้สุกแล้ว)
ใส่ขวด ปิดฝาไว้
กะเก็บไว้สักเดือนเพื่อให้อยู่ในสภาพของซี่อิ๊วถั่วอายุยาว
...ได้ผลอย่างไรจะส่งข่าวในภายหลังนะคะ
เนื้อหาในวันนี้ ผู้เขียนบันทึกขอขอบพระคุณคุณไพโรจน์ อรรคสีวร ซึ่งแม้ว่าระยะสิบกว่าปีหลังนี้จะแทบไม่ได้พบกันเลย แต่ท่านก็ยังเป็นทั้งมิตรเป็นทั้งญาติในทางธรรม มาโดยตลอด ทั้งนี้ท่านยังกรุณาให้ความรู้ตลอดจนเป็นต้นแบบอาหารสุขภาพแนวธรรมชาติบำบัดนี้ด้วย
เพื่อน สมช.บ้านสวนฯ สามารถนำไปประกอบอาหารได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อนำไปสู่การมีต้นทุนสุขภาพดี
- บล็อกของ สายพิน
- อ่าน 12586 ครั้ง
ความเห็น
ครูนุ้ย
26 พฤศจิกายน, 2010 - 20:38
Permalink
ขอบคุณค่ะ
สำหรับข้อมูลดีๆ จะลองทำดูบ้างค่ะ
สายพิน
27 พฤศจิกายน, 2010 - 18:24
Permalink
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณคุณครูนุ้ยที่แวะเยี่ยมชมและให้กำลังใจนะคะ แล้วจะนำมาฝากอีกนะคะ
chai
26 พฤศจิกายน, 2010 - 20:47
Permalink
พี่สายพิน
เมล็ดกระบกกินได้ทั้งสุกและดิบครับ แต่กินดิบเยอะจะท้องอึดได้
ส่วนที่สุกคือคั่วมาแล้วกินเยอะๆก็จะเวียนหัวได้ครับ
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
สายพิน
27 พฤศจิกายน, 2010 - 18:22
Permalink
หนุ่มชัย
ขอบคุณความรู้เรื่องเมล็ดกระบกและมะค่าโมงนะคะ จะได้กินได้อย่างพอดี
ดงดม
26 พฤศจิกายน, 2010 - 21:26
Permalink
คุณสายพิน
การแปรรูบอาหารแบบนี้ แปลกดีไม่เคยเห็นใครทำ
สายพิน
27 พฤศจิกายน, 2010 - 18:20
Permalink
แปรรูป
เคยเห็นจากในทีวีค่ะ คุณดงดม เลยนำมาดัดแปลงนิดหน่อย แต่วิธีการแปรรูปเป็นซี่อิ๊วเขาก็ทำ เลยเลียนแบบเขาด้วยค่ะ
ข้าวเหม่า
26 พฤศจิกายน, 2010 - 21:38
Permalink
เมล็ดกระบกเหมือนจะเคยกินตอนเด
เมล็ดกระบกเหมือนจะเคยกินตอนเด็ก ๆ เลยค่ะ
สายพิน
27 พฤศจิกายน, 2010 - 18:09
Permalink
รสดีนะคะ
เมล็ดกระบกรสดีนะคะ
ติดดิน
26 พฤศจิกายน, 2010 - 23:06
Permalink
อ้าวววว
ทีแรกนึกว่าจะเอาไว้เพาะอย่างเดียวซะอีกนะคะนั่น ที่แท้ก็แอบมีคุณสมบัติก็เลยถูกดอง หุหุ
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
สายพิน
27 พฤศจิกายน, 2010 - 06:54
Permalink
คุณ ติดติน
มีจุดมุ่งหมายซ่อนเร้น...เป็นอาหารที่ให้ต้นทุนทางสุขภาพ..
หน้า